การลดของเสียจากกระบวนการตรวจสอบเหล็กแผ่นม้วน กรณีศึกษา : โรงงานตัวอย่าง

ผู้แต่ง

  • วรเทพ ตรีวิจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • เถลิง พลเจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

เหล็กแผ่นม้วน, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, เครื่องมือถ่ายโอนข้อมูลอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุกระบวนการตรวจสอบเหล็กแผ่นม้วนที่ไม่ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า เพื่อลดของเสียจากกระบวนการตรวจสอบเหล็กแผ่นม้วนให้เป็นศูนย์ และเพื่อกำหนดมาตรฐานการทำงานที่ถูกต้อง
จากการดำเนินการเก็บข้อมูลของหน่วยงานการผลิตในขั้นตอนการผลิตเหล็กม้วน ปัญหาที่พบมากที่สุด คือขั้นตอนในการตรวจวัดชิ้นงานที่ผิดพลาด ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยผังก้างปลาและเครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 ประการ ซึ่งพบว่าขั้นตอนการตรวจสอบวัดชิ้นงาน การอ่านค่า และการคำนวณค่าจากการวัด ขาดความถูกต้อง จึงทำการแก้ไขโดยการติดตั้งเครื่องมือถ่ายโอนข้อมูลแบบอัตโนมัติเข้ากับเครื่องมือวัดและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลที่ถูกต้องและจัดทำมาตรฐานการทำงาน
ผลการดำเนินงานก่อนการปรับปรุงกระบวนการตรวจวัดชิ้นงานเหล็กแผ่นม้วน ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2563 จำนวนการผลิต ทั้งสิ้น 48,927,240 กิโลกรัม ซึ่งตรวจสอบพบของเสียที่เกิดจากกระบวนการตรวจวัดชิ้นงานเหล็กแผ่นม้วน รวมจำนวนของเสีย ทั้งสิ้น 15,892 กิโลกรัม โดยต้นทุนของเสีย กิโลกรัมละ 40 บาท เป็นมูลค่า 635,680 บาท และหลังการปรับปรุงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงตุลาคม 2563 จำนวนการผลิต ทั้งสิ้น 46,901,467 กิโลกรัม ซึ่งจากข้อมูลหน่วยงานผลิตไม่พบของเสียจากกระบวนการตรวจวัดชิ้นงาน และข้อมูลจำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้า ก่อนการปรับปรุงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2563 ซึ่งมีจำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้า รวมทั้งสิ้น 33 รายการ และหลังจากการปรับปรุงโดยใช้โปรแกรม Inspection System ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงตุลาคม 2563 ซึ่งจากข้อมูลไม่พบข้อร้องเรียนของลูกค้า

References

สุทธิโรจน์ ศิวฐานุพงศ์. (2559). การลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตแบบฟอร์มธุรกิจ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://rubberplasmedia.com/2019/02/05 (สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563)

วรเทพ ตรีวิจิตร. (2561). การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 96-6002 ด้วยกิจกรรม คิวซีซี กรณีศึกษาโรงงานตัวอย่าง. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2561. อุบลราชธานี. หน้า 136 – 141.

ธนิชญา มีชำนาญ. (2563). การลดของเสียประเภทมีจุดดำ ในกระบวนการผลิตไม้แขวนพลาสติก กรณีศึกษา :บริษัทพลาสติกเวิร์ล จำกัด. รายงานการค้นคว้าอิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การจัดการสิ่งแวดล้อม คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธนิษฐา แก้วปานกัน และคณะ. (2564). การบริหารจัดการกระบวนการผลิต 4M1E และการจัดกิจกรรมหลัก 5ส กรณีศึกษา : บริษัทยาคูลท์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาอยุธยา.” วารสารวิจัยวิชาการ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2564

ศุภพัฒน์ ปิงตาและคณะ. (2563). การปรับปรุงการตรวจสอบคุณภาพสลักเพลา. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรมไทย. ฉบับที่ 1, มกราคม – มิถุนายน 2563.

กิตติศักดิ์ ทาประโคน. การทำ Work Instruction งานเชื่อม และการตัดโลหะด้วยแก๊ส. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.welovesafety.com/17286434/wi-work-instruction (สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563).

SUMIPOL. (2562). การถ่ายโอนข้อมูลแบบไร้สายจากเครื่องมือวัดสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ PC. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.sumipol.com/knowledge/u-wave (สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562).

มงคล กิตติญาณขจร. (2018). การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการคัดเลือกโครงการปรับปรุงคุณภาพเพื่อลดของเสีย: กรณีศึกษากระบวนการผลิตถังบรรจุอากาศ, วารสารวิศวกรรมศาสตร์, ราชมงคลธัญบุรี, ปีที่ 16, ฉบับที่ 2, หน้า 71-83.

โสภณ เกิดสมบัติ และคณะ. (2560). การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการลดต้นทุนในกระบวนการบรรจุน้ำดื่ม โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง KAIZEN, ปริญญานิพนธ์ อุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต, เทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, กรุงเทพฯ.

วรเทพ ตรีวิจิตร และชาคริต ศรีทอง. (2562). การลดของเสียชิ้นส่วนยานยนต์ S801-13-810W : กรณีศึกษา การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2562. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23