การลดความสูญเสียในการผลิตสายไฟเครื่องจักร AC81 - 38 กรณีศึกษา : โรงงานตัวอย่าง

ผู้แต่ง

  • เถลิง พลเจริญ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • วรเทพ ตรีวิจิตร มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • ชาคริต ศรีทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การลดความสูญเสีย, การผลิตสายไฟรถยนต์, เครื่องจักรเอซี 81 - 18

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตสายไฟรถยนต์ของบริษัทตัวอย่าง ไม่เกินร้อยละ 0.200 จากการดำเนินการเก็บข้อมูลจากกระบวนการผลิตสายไฟในรถยนต์ ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ของเสีย Wire Loss จากเครื่องจักร หมายเลข เอซี 81-18 ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยผังก้างปลา หลักการ ทำไม - ทำไม และการวิเคราะห์ที่มาของปัญหา (Measurement System Analysis : MSA)  ซึ่งจากข้อมูลก่อนการปรับปรุงระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 จำนวนการผลิตทั้งสิ้น 165,000 กิโลกรัม จำนวนของเสีย 512 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 0.310 ซึ่งคิดเป็นต้นทุนของเสีย กิโลกรัมละ 178.54 บาท คิดเป็นมูลค่า 91,412.48 บาท และหลังการปรับปรุงระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2565 จำนวนการผลิตทั้งสิ้น 165,000 กิโลกรัม ตรวจพบของเสีย 311 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 0.188 คิดเป็นมูลค่า 55,525.94 บาท ซึ่งสามารถลดต้นทุนของเสีย คิดเป็นมูลค่า 35,886.54 บาท และจำนวนของเสียลดลงร้อยละ 60.74 โดยสามารถลดต้นทุนของเสียต่อปี เท่ากับ 143,546.16 บาท ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเสียไม่เกินร้อยละ 0.200

References

Chaikanha, N., Phuhuadon, D., Dechawong, L., & Phurabat, S. (2018). Defective Parts Reduction in Automotive Wire Assembly Industry by LEAN theory: A Case study. International Conference on Embedded Systems and Intelligent Technology & International Conference on Information and Communication Technology for Embedded Systems (ICESIT-ICICTES), INSPEC Accession Number: 18044503, DOI: 10.1109/ICESIT-ICICTES.2018.8442055

Joshi, A., & Jugulkar, L.M. (2014). Investigation and Analysis of Metal Casting Defects and Defect Reduction by Using Quality Control Tools. Proceedings of IRF International Conference, Goa, 16th March-2014, 86-91.

Awaj, Y. M., Singh, A. P., & Amedie, W. Y. (2013). Quality Improvement Using Statistical Process Control Tools in Glass Bottles Manufacturing Company. International Journal for Quality Research, 7(1), 107–126.

Leni, A. S., & Sembiring, A. C. (2022). Quality Control Improvement Using Seven Tools and Six Sigma Methods at Pt. Xyz. Mantik Journal, 6 (2), 1656-1663.

Pacholek, B., & Matuszak, L. (2021). Analysis of the Production Process Performance Indicators as a Tool for Improving Operational Efficiency and Reducing Losses in the Production of Sausages. Proceedings of the 37th International Business Information Management Association, 4963-4972.

Da Silva, V.L., Kovaleski, J.L., Pagani, R.N., De Matos Silva, J., & Corsi A. (2020). Implementation of Industry 4.0 Concept in Companies: Empirical Evidence, International Journal of Computer Integrated Manufacturing, 33(4), 325-342.

Huang, S.H., Dismukes, J.P., Shi, J., Su, Q., Wang, G., Razzak, M.A., & Robinson, D.E. (2002). Manufacturing System Modeling for Productivity Improvement. Journal of Manufacturing Systems, 21(4), 249-259.

Srisorayut, A. & Suwittayaluk, P. (2016). Measurement System Analysis of a Small Loudspeaker Manufacturing Process, Proc. of (8th RSC) Rajamangala Surin Nation Research Conference, Surin, Thailand, Dec. 22-23, 2016, 581-585. Retrieved from https://rd.surin.rmuti.ac.th/rsnc2021/download-proceedings.

วรเทพ ตรีวิจิตร และ เถลิง พลเจริญ. (2565). การลดของเสียจากกระบวนการตรวจสอบเหล็กแผ่นม้วน กรณีศึกษา: โรงงานตัวอย่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 6(1), 1-15.

วรเทพ ตรีวิจิตร และ ชาคริต ศรีทอง. (2562). การลดของเสียชิ้นส่วนยานยนต์ S801-13-810W กรณีศึกษาโรงงานตัวอย่าง. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2562, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 499-504.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27