การพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง

ผู้แต่ง

  • วิฑูร สนธิปักษ์
  • ชม ปานตา -
  • ภาสกร วรอาจ
  • ถิรภัทร มีสำราญ

คำสำคัญ:

ฝุ่นละออง PM2.5, การเรียนรู้ของเครื่อง, เทคนิคการถดถอยเชิงเส้น, เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม, เทคนิคการสุ่มป่าไม้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง 3 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression: LR) เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network: ANN) และเทคนิคการสุ่มป่าไม้ (Random Forest: RF) ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยปัจจัย 9 ตัวแปร ซึ่งเก็บรวบรวมจากสถานีตรวจคุณภาพอากาศในพื้นที่โครงการชลประทานนครสวรรค์ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เทคนิคการสุ่มป่าไม้ (RF) มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพยากรณ์ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) เท่ากับ 18.96 ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง (RMSE) เท่ากับ 4.35 และสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.83 การใช้ตัวแบบพยากรณ์นี้ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถวางแผนเชิงรุกเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

สมพร จันทระ, ชาคริต โชติอมรศักดิ์, & ว่าน วิริยา. (2561). การติดตามตรวจสอบการเผาในที่โล่งใน ภาคเหนือของประเทศไทย สำหรับการประเมินการปล่อยและการเคลื่อนที่ของมลพิษทาง อากาศเพื่อการวางแผนการจัดการปัญหาหมอกควัน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วรนารา ชนะบวรสกุล, เสรีย์ ตู้ประกาย, ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช, & มงคล รัชชะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างค่ามลพิษฝุ่นละออง PM2.5กับโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคหัวใจหลอดเลือด : กรณีศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 8(1), 61-72.

Karimian, H., Li, Q., Wu, C., Qi, Y., Mo, Y., Chen, G., Zhang, X., & Sachdeva, S. (2019). Evaluation of Different Machine Learning Approaches to Forecasting PM2.5 Mass Concentrations. Aerosol Air Qual. Res. 19: 1400-1410. https://doi.org/10.4209/aaqr.2018.12.0450

กฤติกา ทิพย์คำมี, อนุพงศ์ สุขประเสริฐ, สุพัตรา กอผจญ, & ณัฐกานต์ ชุติมารังสรรค. (2566). ประสิทธิภาพของเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง สำหรับการพยากรณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ. วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ, 2(1), 58-74.

Montgomery, D. C., Peck, E. A., & Vining, G. G. (2012). Introduction to linear regression analysis (5th ed.). Wiley.

Goodfellow, I., Bengio, Y., & Courville, A. (2016). Deep learning. MIT Press.

Granata, F., Saroli, M., de Marinis, G., & Gargano, R. (2018). Machine learning models for spring discharge forecasting. Geofluids, 2018, 1-15.

James, G., Witten, D., Hastie, T., & Tibshirani, R. (2013). An introduction to statistical learning: With applications in R. Springer.

Draper, N. R., & Smith, H. (1998). Applied regression analysis (3rd ed.). Wiley.

Breiman, L. (2001). "Random Forests." Machine Learning, 45(1), 5-32. https://doi.org/10.1023/A:1010933404324

Hastie, T., Tibshirani, R., & Friedman, J. (2009). The Elements of Statistical Learning: Data Mining, Inference, and Prediction.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

1.
สนธิปักษ์ ว, ปานตา ช, วรอาจ ภ, มีสำราญ ถ. การพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง. Acad. J. Sci. Appl. Sci. [อินเทอร์เน็ต]. 30 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 21 มกราคม 2025];8(16):25-31. available at: https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3464