ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงภาคตัดขวาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาควา มฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรม สุ ข ภ า พ แ ล ะ ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ร ะ ห ว่ า ง ค ว า ม ฉ ล า ด ท า ง สุ ข ภ า พ แ ล ะ พ ฤ ติ ก ร ร ม สุ ข ภ า พ ข อ ง นั ก ศึ ก ษ า มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างจานวน 373 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว มีค่าความเชื่ อมั่นใน แต่ละด้านระหว่าง 0.78-0.93 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่าสุด และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่ว นใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.30 อายุเฉลี่ย 19.73±1.00 ปี ความฉลาดทางสุขภาพโดย รวมอยู่ในระดับสูง ส่วนพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทาง สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ทักษะความรู้ความเข้า ใจ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรม สุขภาพอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (r = -0.147, p-value = 0.004) และทักษะการจัดการตนเอง มี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (r = 0.114, p-value = 0.028) ส่วนทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ไม่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าควรส่งเสริมให้นักศึกษามีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ โดยนาความรู้ที่มีมาใช้ในชีวิตประจาวันให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2019 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ได้ตอบรับการตีพิมพ์ถือเป็นลัขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์