การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์: กลยุทธ์การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพแสงสว่าง, การปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การประเมินวัฏจักรชีวิต, การอนุรักษ์พลังงานบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง ที่ใช้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และเสนอแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยให้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) และแนวทางตามโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจของประเทศไทย (T-VER) ขอบเขตการประเมิน ประเภท ปริมาณ กำลังไฟฟ้า และระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในและภายนอกอาคารมหาวิทยาลัย การวิเคราะห์การคำนวณการใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และค่าไฟฟ้าที่มาจากการใช้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างรวมต่อปีอยู่ที่ 606,064.9 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ส่งผลให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 343.5538 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี และค่าไฟฟ้า 3,030,324.6 บาท/ปี หลอดไฟแอลอีดีมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหลอดต่ำสุด ทำให้สามารถใช้ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์และอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม แนวทางการปรับปรุงเสนอให้เปลี่ยนหลอดไฟชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมร้อยละ 25-27 ต่อปี ด้วยหลอดไฟแอลอีดี (LED) และโคมโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ภายใน 4 ปี ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 31.61 ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า 191,555.2 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และลดค่าไฟฟ้าได้ 957,775.8 บาท/ปี เมื่อเทียบกับปีฐาน การเลือกใช้หลอดประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูง หรือการใช้พลังงานทดแทน กลายเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการลดการใช้พลังงาน ค่าไฟฟ้าและก๊าซเรือนกระจก นับเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการใช้ด้านพลังงานและลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนต่อไป
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ได้ตอบรับการตีพิมพ์ถือเป็นลัขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์