การเปรียบเทียบวิธีการปรับสภาพฟางข้าวปรุงแต่งด้วยยูเรียที่แตกต่างกันต่อองค์ประกอบทางเคมีและการย่อยสลายในหลอดทดลอง

ผู้แต่ง

  • ณรกมล เลาห์รอดพันธ์
  • วิโรจน์ ลิขิตตระกูลวงศ์
  • ประวิทย์ ห่านใต้
  • ทศพร อินเจริญ
  • บุญฑริกา ปลั่งสูงเนิน
  • เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของวิธีการปรับสภาพของฟางข้าวปรุงแต่งด้วยยูเรีย 6
เปอร์เซ็นต์ด้วยการสับและการแช่น้้าต่อองค์ประกอบทางเคมีและการย่อยสลายในหลอดทดลอง โดยวาง
แผนการทดลองแบบ 2×2 Factorial in CRD ซึ่งมี 2 ปัจจัย คือ การสับฟางข้าว (ไม่สับและสับขนาด 10
เซนติเมตร) และการแช่น้้า (ไม่แช่น้้าและแช่น้้า) จากนั้นน้ามาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและวัดค่าการ
ย่อยได้โดยใช้เทคนิคการวัดแก๊ส ผลการทดลองพบว่า วัตถุแห้ง, โปรตีนหยาบ, ไขมันหยาบ, เยื่อใยหยาบ,
เซลลูโลส, ปริมาณ NFE ADF NDFและปริมาณ ADL ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ(P>0.05) แต่กลุ่มฟาง
ข้าวที่สับมีปริมาณเฮมิเซลลูโลสต่้ากว่าฟางข้าวที่ไม่สับอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนปริมาณแก๊ส
ในหลอดทดลองที่ชั่วโมงต่างๆ ค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ การย่อยสลายอินทรียวัตถุ และปริมาณกรดไขมัน
ระเหยได้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าการปรับสภาพฟางข้าว
ปรุงแต่งยูเรียด้วยการสับขนาด 10 เซนติเมตรสามารถลดปริมาณผนังเซลล์ได้ แต่การสับและการแช่น้้าไม่มี
ผลต่อการย่อยได้ของอินทรีย์วัตถุและพลังงานใช้ประโยชน์ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30