ศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ณิชารีย์ ใจคำวัง
  • วรดา จักษุพรรณ

คำสำคัญ:

ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่ง พิง

บทคัดย่อ

การศึกษาภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการ ศักยภาพและ ระดับความเครียดของผู้ด ูแลผู้สูงอายุ ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ประชากร คือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง จานวน 50 คน ในตาบลคุ้งตะเภา อาเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง มีปัญหาระดับน้อย (µ= 2.41, s =0.79) โดยมีปัญหาด้านสวัสดิการทางสังคมมากที่สุด (µ=2.60, s =0.78) รองลงมาคือ ด้าน การรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (µ=2.34, s =0.79) และมีปัญหาด้านการดูแลน้อยที่สุด (µ=2.20, s =0.78) ผู้ดูแลมีความต้องการต่อการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ=3.28, s = 0.84) มีความต้องการด้านสวัสดิการสังคมมากที่สุด (µ=3.31, s =0.86) รองลงมา คือ ด้านการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (µ=3.26, s = 0.88) ด้านการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ( µ= 3 . 2 6 , s = 0 . 7 9 ) ศั ก ย ภ า พ ข อ ง ผู้ ดู แ ล ใ น ภ า พ ร ว ม อ ยู่ ใ น ร ะ ดั บ ดี ( µ= 3. 07, s = 0. 66) โ ด ย มี ศักยภาพด้านการดูแลร่างกายมากที่สุด (µ=3.13, s = 0.69) รองลงมาคือด้านสิ่งแวดล้อม (µ=3.07, s = 0.54) และด้านสุขภาพจิต (µ=3.00, s = 0.76) ผู้ดูแลมีระดับความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับต่า (µ=3.44, s = 2.55) โดยต้องพยายามปรับตัวหรือสภาพจิตใจและอารมณ์ และเกิดปัญหาด้านการเงิน มากที่สุด รองลงมา คือ รู้สึกไม่สบายใจที่ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้นหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องควรพัฒนาศักยภาพผู้ด ูแลผู้สูงอายุในการจัดการความเครียด การจัดการด้านการเงิน การสร้าง อาชีพและหารายได้เสริม รวมทั้งการจัดสวัสดิการให้สอดคล้องกับความจาเป็นและต้องการของผู้สูงอายุ ที่อยู่ใ นภาวะพึ่งพิง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30