การพัฒนาฟอร์มมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อลดของเสียในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษา : โรงงานอาหารสัตว์

ผู้แต่ง

  • กวิน พินสำราญ Logistics Management
  • ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • สุณัฐวีย์ น้อยโสภา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • ปฏิพัฒน์ แย้มชุติเกิดมณี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การลดของเสีย, เครื่องมือควบคุมคุณภาพ, แบบฟอร์มมาตรฐานการปฏิบัติงาน, การควบคุมด้วยสายตา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดทำแบบฟอร์มมาตรฐานการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นการลดของเสียในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้นำเครื่องมือการควบคุมคุณภาพ (QC Tools) มาประยุกต์ใช้ และแนวคิดการควบคุมพื้นที่การทำงาน (Work Site Control) ในการจัดทำแบบฟอร์มมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Job Condition Sheet) พบว่า ก่อนปรับปรุงระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม พ.ศ.2565 มีปริมาณของเสียทั้งหมด 1,976 หน่วย มีสัดส่วนของเสียร้อยละ 3.24 ของยอดสั่งผลิต คิดเป็นมูลค่า 17,139.40 บาท เมื่อเปรียบเทียบหลังปรับปรุงระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน พ.ศ.2565 มีปริมาณของเสียทั้งหมด 1,574 หน่วย มีสัดส่วนของเสียร้อยละ 2.50 ของยอดสั่งผลิต คิดเป็นมูลค่า 13,518 บาท จะเห็นว่าปริมาณของเสียมีสัดส่วนลดลงร้อยละ 0.74 คิดเป็นมูลค่าของเสียลดลงร้อยละ 21.13 ทำให้มีค่าปริมาณของเสียตามเป้าหมายบริษัทกำหนด สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมสภาพการทำงานด้วยสายตาได้

References

งานบริหารทรัพยากรสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). Siriraj Pareto’s Principle กับการคัดเลือกปัญหาเพื่อนำไปแก้ให้ตรงประเด็น. สืบค้นจากhttps://www.si.mahidol.ac.th/th/division/um/admin/download _files/57_48_1vqdBqf.pdf

แผนกเทคโนโลยีการผลิต สถาบันยานยนต์. (2550). คู่มือแนะนำการใช้ประโยชนจากกิจกรรม Toyota Production System : TPS. สืบค้นจาก http://www. thaiauto.or.th/ ContentImages/TPS/TPS.pdf.

ไพฑูรย์ ศิริโอฬาร และ ภักดี ใจซื่อ (2566). การลดของเสียในกระบวนการผลิตขนมทองม้วนมะพร้าวกรอบ. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 19(1), 11-20

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). INDUSTRIAL WORK STUDY การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ท้อป

เรืองลักษณ์ บุตรเพ็ชร และคณะ. (2560). เครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 ชนิด. สืบค้นจาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/02_13_-7-.pdf.

วันรัตน์ จันทกิจ. (2553). 17 เครื่องมือนักคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (2563). แนวโน้มอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ ปี 2563-2565. สืบค้นจาก https://media.ttbbank.com/1/analytics_business_and_industry/4-highlight-desktop-th.pdf.

สมรรถรณ เหรียญนามวงศ์ และ ศักดิ์ชาย รักการ (2565). การลดของเสียในกระบวนการผลิตกรอบกระจกอลูมิเนียม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(2), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

พินสำราญ ก. ., เหล่าเขตการณ์ ฉ., น้อยโสภา ส. ., & แย้มชุติเกิดมณี ป. (2023). การพัฒนาฟอร์มมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อลดของเสียในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษา : โรงงานอาหารสัตว์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 7(2), 64–77. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/535