โมเดลของการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของจุดควบคุมภาพสำหรับดาวเทียมรายละเอียดสูงไทยโชต

ผู้แต่ง

  • อภิเสฏฐ์ สุวรรณสะอาด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต, จุดควบคุมภาพ, ภาพถ่ายออร์โธ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลของการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของจุดควบคุมภาพสำหรับดาวเทียม รายละเอียดสูงไทยโชตด้วยวิธี Hold Out Validation (HOV) และวิธี Leave One Out Cross Validation (LOOCV) เพื่อใช้คัดกรองจุดควบคุมภาพที่มีคุณภาพ โดยการประมาณค่าการวางตัวภายนอกของเซนเซอร์เป็นค่าแก้คงที่สำหรับการประมาณ ตำแหน่งของเซนเซอร์ ( ) และค่ามุมเอียงรอบแกน X แกน Y ของเซนเซอร์ ( ) ส่วนค่าแก้มุมเอียงรอบแกน Z ของเซนเซอร์ ( ) เป็นสมการโพลีโนเมียลกำลังสอง ซึ่งต้องการสัมประสิทธิ์ที่ไม่ทราบค่า 8 ค่า ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องใช้จุดควบคุมภาพถ่าย ภาคพื้นดิน (GCPs) อย่างน้อย 4 จุด เพื่อใช้ปรับปรุงแบบจำลองของเซนเซอร์ เมื่อนำผลการปรับปรุงแบบจำลองเซนเซอร์ไป ดัดแก้ภาพออร์โธและวาง GCPs บริเวณขอบเขตภาพในแนวขนานกับเส้นทางวงโคจร ผลการปรับปรุงแบบจำลองเซนเซอร์ได้ RMSE ของการปรับแก้เท่ากับ 0.21 เมตร และความละเอียดถูกต้องของภาพออร์โธตามมาตรฐาน NSSDA พบว่า ภาพออร์โธที่ใช้ GCPs 13 จุด และจุดตรวจสอบอิสระ 59 จุดจากวิธี HOV มีความละเอียดถูกต้องเท่ากับ 1.52 เมตร (2.98 จุดภาพ) และ ภาพออร์โธที่ใช้ GCPs 8 จุด และจุดตรวจสอบ 44 จุดจากวิธี LOOCV มีความละเอียดถูกต้องเท่ากับ 0.84 เมตร (1.63 จุดภาพ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธี LOOCV ส่งผลให้คุณภาพออร์โธที่ผลิตได้ดีกว่าวิธี HOV

References

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA). (2564). ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง. กรุงเทพมหานคร.

จุฑามาศ ปานกลิ่น. (2553). โมเดลของการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของจุดควบคุมภาพสำหรับดาวเทียม รายละเอียดสูง WorldView-1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล สันติธรรมนนท์. (2553). การรังวัดด้วยภาพดิจิทัล.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มรกต แก้วมณี. (2545). การทดสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งในการดัดแก้ภาพดาวเทียม Spot ด้วยสมการโพลิโนเมียล โดยใช้ค่าพิกัดซึ่งได้จากการรังวัดดาวเทียม., วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมที่ดิน, สำนักเทคโนโลยีทำแผนที่, ศูนย์ข้อมูลแผนที่รูปแปลงที่ดินแห่งชาติ, กระทรวง.(2551). มาตรฐานการรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม. มาตรฐานระวางแผนที่และแผนที่รูปแปลงที่ดิน. (24 ธันวาคม) : หน้า 14-16.

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, กระทรวง. (2552). ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ศิริวรรณ ศิลป์สกุลสข และกานดา โกมลวัฒนชัย. (2546). การจัดการกับข้อมูล การทดสอบความชำนาญด้วยวิธีทางสถิติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 51 ฉบับที่ 161, 29-33.

Jon, O., Alfonso, B., Iban, L., and Luis, E.D. (2017) A Survey of Train Positioning Solutions, aSensors Journal IEEE, vol. 17, no. 20, pp. 6788-6797.

Brovellia, M.A., Crespib, M., Fratarcangelib, F., Giannoneb, F., and Realinia E. (2006). Accuracy assessment of High Resolution Satellite Imagery by Leave-one-out method. ISPRS journal of photogrammetry and remote sensing, 533-542.

Crespi, M., and Giannone, F. (2021). A rigorous model for High Resolution Satellite Imagery Orientation [Online] Available from: https://w3.uniroma1.it/geodgeom/geodgeomrw/downloads/tesi%20dottorato/PhD%20Th

Digital Globe. (2021). WorldView-1 Product Quick Reference Guide [Online] Available from: https://gi.leica-geosystems.com/LGISub5x242x43.aspx

ERDAS, Inc. (2021). Leica Photogrammetry Suite Project Manager[Online] Availabl e from: https://www.digitalglobe.com/file.php/545/WV1_Product_QR_Guide.pdf

Jeong, I.S., and Bethel, J. (2008). Trajectory Modeling for Satellite Image Triangulation. ISPRS Journal of Photogrammetry & Remote Sensing, 901-907.

Kapnias, D., Milenov, P., and Kay S. (2008). Guidelines for Best Practice and Quality Checking of Ortho Imagery. JRC Scientific and Technical Reports 3, 12-13.

Kim, T., and Dowman, I. (2005). Analysis of sensor model accuracy on estimating exterior orientation parameters of satellite images. Proceedings of the IEEE, 165-1,168.

Liu, S.J., and Tong, X.H. (2008). Transformation between rational function model and rigorous sensor model for High Resolution Satellite Imagery. The International Archives of the Photogrammetry, Remote Sensing and Spatial Information Sciences, 873-878.

Minnesota Department of Administration. (2021). Positional Accuracy Handbook[Online]. Available from: https://www.mnplan.state.mn.us/pdf/2021/lmic/nssda_o.pdf

Toutin, T. (2004). Geometric processing of remote sensing images: models, algorithms and methods. International Journal of Remote Sensing, 893–1,924.

Wang, Y., Yang, X., Xu, F., Leason, A., and Megenta, S. (2008). An Operational System for Sensor Modeling and Dem Generation of Satellite Pushbroom Sensor Images. ISPRS Journal of Photogrammetry & Remote Sensing, 745-750.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23