เครื่องกำหนดกำลังงานไฟฟ้าสำหรับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ำ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย โกสุม สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง) วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ
  • ปานฤทัย โกสุม สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง) วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ
  • เกชา อยู่แก้ว สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง) วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ
  • ประกิจ ธรรมนิทัศนา สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง) วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ

คำสำคัญ:

กำลังงานไฟฟ้า, ไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องกำหนดกำลังไฟฟ้าสำหรับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อลดการใช้กำลังไฟฟ้า เป้าหมายของการประหยัดกำลังงานไฟฟ้า คือ กำลังไฟฟ้าที่มีการใช้งานลดลง แนวทางการประหยัดกำลังงานไฟฟ้า โดยทั่วไปนั้นจะต้องรอผลของการใช้กำลังไฟฟ้า เช่น การกำหนดเวลาเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องรอผลของการใช้กำลังไฟฟ้า จนกว่าจะมีการแจ้งค่าไฟฟ้า เมื่อพิจารณาจะพบกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่สถานที่จะเหมือนเดิมเช่นในสำนักงาน จึงเป็นการง่ายที่จะรู้ถึงกำลังงานไฟฟ้าที่ใช้จากการคำนวณการใช้กำลังไฟฟ้ารวมของการใช้งานหรือสามารถนำข้อมูลจากใบแจ้งหนี้ของการไฟฟ้า ข้อมูลของกำลังไฟฟ้าที่ได้นี้สามารถนำมาบริหารด้วยการกำหนดปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ต้องการลดลงหรือปริมาณของกำลังไฟฟ้าที่สามารถใช้งาน ทำให้เป้าหมายของการประหยัดพลังงานชัดเจนจากการกำหนดค่ากำลังงานไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
การกำหนดค่ากำลังไฟฟ้าสามารถกำหนดได้จากหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่มีแอปพลิเคชัน Blynk ผ่าน Blynk Sever ไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต รับข้อมูลกำลังไฟฟ้าจาก Blynk Sever ที่ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าและวัดกำลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงที่ได้จากโมดูลมิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า SDM120CT-Modbus ทำการทดลองการทำงาน 3 รูปแบบ คือ 1.ทดสอบการวัดกำลังไฟฟ้าโดยใช้โหลดแบบเหนี่ยวนำ 2. ทดสอบการวัดกำลังไฟฟ้าโดยใช้โหลดแบบตัวต้านทาน 3. ผลทดสอบการวัดกำลังไฟฟ้าโดยใช้โหลดแบบตัวต้านทานและเหนี่ยวนำ วัดค่าของกำลังงานไฟฟ้าด้วยมิเตอร์ 3 ชนิดคือ 1. โมดูลมิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า SDM120CT-Modbus 2. มิเตอร์ที่ใช้ทั่วไป 3. มิเตอร์ที่การไฟฟ้า
ผลทดสอบของเครื่องกำหนดกำลังไฟฟ้ามีการทดสอบ 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 ทดสอบว่าเครื่องกำหนดกำลังไฟฟ้าสามารถกำหนดและวัดกำลังไฟฟ้าสะสมได้หรือไม่ ผลการทดสอบพบว่าเครื่องกำหนดกำลังไฟฟ้ามีความคลาดเคลื่อนในการวัดกำลังไฟฟ้าไม่เกิน 1.22% เครื่องหยุดจ่ายไฟฟ้าทันทีเมื่อใช้กำลังไฟฟ้าสะสมครบกำหนด รูปแบบที่ 2 ทดสอบการตั้งเวลาจ่ายไฟฟ้าและหยุดจ่ายไฟฟ้าพบว่าเครื่องกำหนดกำลังไฟฟ้าสามารถทำงานได้ตรงตามเวลาที่กำหนด

References

ประสานพันธ์ สายสิญจน์, กรรณิกา สายสิญจน์, บุญชัย ไชยอาจ, พรเพ็ญ วังพิมูล, สวิสดิ์ ยันต์วิเศษ. (2561). เครื่องวัดการใช้พลังงานไฟฟ้า. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. หน้า 34-40.

ปรีชา รักษาพล. (2558). ระบบตรวจวัดการใช้กระแสไฟฟ้า ผ่านระบบเครือข่าย. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

พลวัฒน์ ด ารงกิจภากร. (2556). การพัฒนาการเก็บข้อมูลพลังงานไฟฟ้าโดยใช้โทรศัพท์มือถือ. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

มุหัมมัด มั่นศรัทธา, มูฆอฟฟัล มูดอ, อับดุลเลาะ สะนอยานยา, ซุลกีฟลี กะเด็ง. (2560). ระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติภายในห้องน้ำโดยใช้โครงข่ายเซนเซอร์ไร้สาย ESP8266/Node MCU. วารสารมหาวิทยาลัยนราธวาสราชนครินทร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2560. หน้าที่ 73-82

อภิรักษ์ พันธุ์พณาสกุล, ธิดารัตน์ ศรีระสันต์, ภูวนาท จันทร์ขาว และกนกรัตน์ จันทร์มโณ. (2019). การพัฒนาระบบควบคุม เปิด-ปิด ไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศผ่านสมาร์ทโฟน. การประชุมหาใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. หน้าที่ 645-659.

Amirah Hasbullah, Aiman Hakimi Rahimi, Ahmad Ikram Hafiz Amrimunawar, Fatimah Nur Mohd Redzwan, Najwa Nasuha Mahzan, Suziana Omar, Nooradzianie Muhammad Zin. (2020). Journal of Physics. doi:10.1088/1742-6596/1529/2/022050

Dathar Abas Hasan, Ayad Ghany Ismaeel. (2020). Designing ECG Monitoring Healthcare System Based on Internet of Things Blynk Application. Journal of Applied and Technology Trends. 1(3), 106-111.

HIRAL S. DOSHI, MINESH S. SHAH, UMAIR S A. SHAIKH. (2017). INTERNET of THINGS (IoT): INTEGRATION of BLYNK for DOMESTIC USABILITY. VJER-Vishwakarma Journal of Engineering Research. 1(4), 149–157. Retrieved from http://103.97.164.116:10028/index.php/vjer/article/view/21

Nordin, N., & Abu Hassan, O. (2019). Integration of IoT on Power Monitoring and Control for House Electrical System. Advances in Computing and Intelligent System, 1(2). Retrieved from https://fazpublishing.com/acis/index.php/acis/article/view/12

Selvaraj, T., & Zulkifli, M. (2021). IOT Based Power Monitoring Device (Distribution Box). Progress in Engineering Application and Technology, 2(1), 635-641. Retrieved from https://publisher.uthm.edu.my/periodicals/index.php/peat/article/view/901

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23