การบริหารจัดการพลังงานในอาคาร โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุม

ผู้แต่ง

  • เอกรัตน์ นภกานต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • บุญยัง ปลั่งกลาง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศุภวัฒน์ ลาวัลย์วิสุทธิ์ สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทพสตรี

คำสำคัญ:

ต้นทุนการสั่งซื้อ, วัตถุดิบ, ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด, จุดสั่งซื้อใหม่, เวลานำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ นำเสนอแนวทางการจัดการพลังงาน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมระหว่างการใช้ พลังงานกับความต้องการที่จะใช้พลังงาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการใช้พลังงานมากที่สุด โดยนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบวงจร โดยวงจรที่ได้ทำการออกแบบนั้นจะเป็นวงจรที่ ใช้ควบคุมการเปิด-ปิดโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ ดวงโคม และคอมพิวเตอร์ โดยใช้เงื่อนไขที่ทำการควบคุมการเปิด-ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้ามี 2 เงื่อนไข คือ จำนวนคนเข้า-ออก และอุณหภูมิที่เหมาะสมภายในห้อง แบบจำลองที่ได้จัดทำเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะการทำงานที่ใช้ควบคุมการเปิด-ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตามความเหมาะสมของสภาพการใช้พลังงาน ซึ่งถ้านำแบบจำลองไปใช้งานจริงจะสามารถช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า ได้ประมาณ 76,599 วัตต์-สัปดาห์

References

ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง. 2550. PIC MICROCONTROLLER LEARNING BY DOING. ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สมาร์ทเลิร์นนิ่ง

ณัฎจพล วงศ์สุนทรชัย. 2543. เรียนรู้และปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC 16F628. ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์. บจก.

ดอนสัน ปงผาบ. 2551. ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC และการประยุกต์ใช้งาน. ครั้ง 2. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ไมโครคอนโทรลเลอร์.PIC.18F458. บริษัท อีเลคทรอนิกส์ ซอร์ท.จำกัด. เข้าถึงได้จาก : www.es.co.th/index.asp

วงจร PROPICUSBV 1.0. เข้าถึงได้จาก : www.thaimicrotron.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-23

How to Cite

นภกานต์ เ., ปลั่งกลาง บ., & ลาวัลย์วิสุทธิ์ ศ. (2023). การบริหารจัดการพลังงานในอาคาร โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 6(1), 1–12. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/507