การวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการกะเทาะเปลือกกุ้งแห้ง

ผู้แต่ง

  • เอกพล ทับพร มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • อภิชาติ ไชยพร สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • จิรศักดิ์ ส่งบุญแก้ว มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

กุ้งแห้ง, การออกแบบการทดลอง, กระบวนการกะเทาะเปลือกกุ้งแห้ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการแกะสำเร็จของเปลือกกุ้งแห้งและเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการคัดแยกเปลือกกุ้งแห้งภายใต้การทดสอบด้วยเครื่องกะเทาะเปลือกกุ้งแห้ง โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลแบบ 3 ระดับ  เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของรากเหง้าปัญหาและคัดกรองปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากการระดมสมองได้กำหนดปัจจัยที่ใช้ศึกษา 3 ปัจจัย แต่ละปัจจัยมี 3 ระดับ คือ ความเร็วรอบใบกวน เท่ากับ 115-120, 145-150 และ 175-180 RPM  ค่าความชื้น <19, 19-21, >21 % และรูปทรงใบกวน 3 แบบ ได้แก่ แบบเพลาทรงกระบอก แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบผสมผสาน จากผลการวิจัยพบว่า ถ้าต้องการค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดหรือค่าอัตราการแกะสำเร็จของกุ้งแห้งที่มากที่สุดเท่ากับ y = 292.33 PCS ควรกำหนดค่าพารามิเตอร์หรือปัจจัยและระดับของปัจจัยดังนี้ คือ ความเร็วรอบใบกวนอยู่ในช่วงเท่ากับ 145-150 RPM  ค่าความชื้นอยู่ในช่วงเท่ากับ 19-21 % และรูปทรงใบกวนควรใช้แบบที่ 3 คือ แบบผสมผสาน โดยมีค่าช่วงของความเชื่อมั่น 95% CI ความน่าจะเป็นของค่าเฉลี่ยจากอัตราการแกะสำเร็จของกุ้งแห้งจะตกอยู่ในช่วง 280.83 - 303.84 เท่ากับ 95%

 

References

Alfiya, P. v., Rajesh, G. K., Murali, S., Aniesrani Delfiya, D. S., Samuel, M. P., & Prince, M. v. (2022). Quality evaluation of solar and microwave dried shrimps – A comparative study on renewable and dielectric heating methods. Solar Energy, 246. https://doi.org/10.1016/j.solener.2022.09.048

Gringer, N., Dang, T. T., Orlien, V., Olsen, K., Boknaes, N., & Jessen, F. (2018). A quantitative method to measure and evaluate the pee lability of shrimps (Pandalus borealis). LWT, 94. https://doi.org/ 10.1016/j.lwt.2018.04.022

Hu, M., Xue, Y., Zhao, L., Liu, Q., & Cao, R. (2022). Comparison of Flavor Substances in Dried Shrimp Products Processed by Litopenaeus Vannamei from Two Aquaculture Patterns. Journal of Ocean University of China, 21(6). https://doi.org/10.1007/s11802-022-5239-0

Muralidharan, K., Romero, M., Wüthrich, K., Uthrich, K. W., Andrews, I., Armstrong, T., Bharadwaj, P., Chandrasekhar, A., de Chaise-Martin, C., Dahl, G., Dellavigna, S., Duflo, E., Elliott, G., Goldstein, M.,

Humphreys, M., Kaido, H.-R., Katz, L., Kolesar, M., Kwon, S., & Vera, D. (2019). Factorial Designs, Model Selection, and (Incorrect) Inference in Randomized Experiments Factorial designs, model selection, and (incorrect) inference in randomized experiments. Retrieved from http://www.nber.org/data-appendix/w26555

Nanan, K., Eiamsa-ard, S., Chokphoemphun, S., Kumar, M., Pimsarn, M., & Chuwattanakul, V. (2023). Influence of bed height and drying temperature on shrimp drying characteristics using a fluidized-bed dryer. Case Studies in Thermal Engineering, 48. https://doi.org/10.1016/j.csite.2023.103144

Om, A., Ak, B., Fo, O., & Ge, Z. (2019). Effects of Drying Methods on Quality Attributes of Shrimps. J Food Process Technol, 10(1).

Sun, W., Ji, H., Zhang, D., Zhang, Z., Liu, S., & Song, W. (2022). Evaluation of Aroma Chaycteristics of Dried Shrimp (Litopenaeus vannamei) Prepared by Five Different Procedures. Foods, 11(21). https://doi.org/10.3390/foods11213532

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

ทับพร เ., ไชยพร อ. ., & ส่งบุญแก้ว จ. . (2024). การวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการกะเทาะเปลือกกุ้งแห้ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(2), 60–71. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/3470