การลดเวลาในกระบวนการเปลี่ยนรุ่นการผลิตชิ้นงานโมเดล A กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
คำสำคัญ:
ระบบอัตโนมัติ, กระบวนการเปลี่ยนรุ่นการผลิต, โมเดล Aบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้วัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาในกระบวนการเปลี่ยนรุ่นการผลิตชิ้นงานโมเดล A โดยโมเดล A คือ ตัวพื้นรถยนต์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรถยนต์ เป็นชิ้นงานที่มีความหลากหลายมากที่สุด มีด้วยกันถึง 9 รุ่น เป็นกระบวนการผลิตที่มีเวลาในการเปลี่ยนรุ่นการผลิตที่ใช้เวลานานและไม่มีอุปกรณ์ช่วยในการเปลี่ยนรุ่นการผลิต โดยในแต่ละรุ่นจะมีลักษณะคล้ายกันโดยจะมีเพียงการเจาะรูที่ต่างกัน ซึ่งในกระบวนการผลิตต้องเปลี่ยนรุ่นการผลิต พนักงานจะเข้าไปเปลี่ยนรุ่นการผลิตในแม่พิมพ์ของเครื่องปั๊มชิ้นงานเครื่องที่ 3 และ เครื่องที่ 4 โดยใช้เวลา 230 วินาที คิดเป็น 3.83 นาที มีระยะทางทั้งหมด 73 เมตรผู้วิจัยจึงทำการปรับปรุงโดย โดยนำทฤษฎี ECRS 7waste มาปรับปรุงกระบวนวิธีที่ 1 โดยการเพิ่มพนักงานและเปลี่ยนเส้นทางการเดินในการเปลี่ยนรุ่นการผลิต และนำโปรแกรม PLC เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการ วิธีที่ 2 โดยการเปลี่ยนรุ่นการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติ
ผลดำเนินการหลังการปรับปรุงวิธีที่ 1 จากการเพิ่มพนักงานและเปลี่ยนเส้นทางการเดินในการเปลี่ยนรุ่นการผลิต ใช้เวลาทั้งหมด 200 วินาที มีระยะทางทั้งหมด 53 เมตร เวลาลดลงจากเดิม 30 วินาที คิดเป็นร้อยละ 13.04 และ ระยะทางลดลง 20 เมตร คิดเป็นร้อยละ 27.4 และ วิธีที่ 2 การเปลี่ยนรุ่นการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติ ใช้เวลาทั้งหมด 145 วินาที มีระยะทาง 3 เมตร เวลาลดลงจากเดิม 85 วินาที คิดเป็นร้อยละ 36.96 และ ระยะทางลดลง 70 เมตร คิดเป็นร้อยละ 95.89
References
จิรกาล กัลยาโพธิ์ และ จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์. (2564). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตยางรองล้อรถยนต์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์, 28(1), 78-92.
ชญานุตน์ ภูนาเถร, ชลลดา ทองคํา, และ สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2558). การผลิตแบบลีนในโรงงานอุตสาหกรรม.[วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นพดล ศรีพุทธา และ บุญสิน นาดอนดู่. (2562). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการกลึงข้อต่อท่อโดยใช้เทคนิค ECRS. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11, จังหวัดเชียงใหม่.
นันทพันธ์ กนกศิริรุจิษยา. (2564). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตชิ้นส่วน HDD โดยเทคนิค ECRS. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 5(1), 77-91.
บัณฑิต อินทรีย์มีศักดิ์ และ พิพัฒน์ เลิศโกวิทย์. (2567). การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตของชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อทําการลดต้นทุน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(1), 44-59.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (2566). รายงานประจำปี 2566. สืบค้นจาก https://www.fpo.go.th.
อมรรัตน์ ปิ่นชัยมูล และคณะ (2561), การปรับปรุงสายการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ.วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 14, 93-105.
Russell, R. & Taylor, B. (2556). การจัดการการดําเนินงาน Operation Management. (ภูษิต วงศหลอสายชล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ท้อป.
Poppendieck, M. (2002). Lean software development: An agile toolkit. Addison-Wesley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 jutathip leelathanapipat, ศิลา วงศ์สุนทรพจน์, อภิชาติ ชัยชวลิต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.