การใช้พลังงานไฟฟ้าแบบผสมของรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 สำหรับการแข่งขัน BWSC-2023 รุ่น CRUISER CLASS
คำสำคัญ:
พลังงานแสงอาทิตย์, มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่านชนิดฮับ, BWSC-2023 รุ่น Cruiser Classบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าแบบผสมของรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 ขนาด 4 ที่นั่ง สำหรับการแข่งขัน Bridgestone World Solar Challenge 2023 รุ่น Cruiser Class โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าร่วมกับแบตเตอรี่และทดสอบการใช้พลังงานในสภาวะการใช้งานจริง ซึ่งตัวถังทำด้วยไฟเบอร์กลาส น้ำหนักรถ 2,010 kg และน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเท่ากับ 2,330 kg ที่ระยะทางแข่งขันที่สามารถชาร์จประจุแบตเตอรี่ได้ 1,000 km ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่านชนิดฮับขนาด 12 kW ที่แรงดันไฟฟ้า 96 V จำนวน 2 ล้อ เพื่อขับเคลื่อนล้อหลัง ส่วนแหล่งจ่ายไฟฟ้าใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ซิลิกอนแบบผลึกเดี่ยวแบบอ่อนตัวได้ที่มีขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าสูงสุด 756 W ที่แรงดันไฟฟ้า 79.8 V เพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่ NMC ขนาด 97 kWh ที่แรงดันไฟฟ้า 96 V ผลการทดสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ร่วมกับเซลล์แสงอาทิตย์โดยเก็บผลการใช้พลังงานในขณะเข้าร่วมการแข่งขัน Bridgestone World Solar Challenge 2023 ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เมือง Darwin ถึงเมือง Katherine เป็นระยะทาง 322 km โดยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์ 44,554.20 Wh พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1,032.44 Wh รวมพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปทั้งหมด 45,586.64 Wh คิดเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 42,299.40 Wh และพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ 3,287.30 Wh คงเหลือพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ 54,700.60 Wh แต่ถ้าหากใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 42,299.40 Wh เพื่อระบบขับเคลื่อนรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถขับเคลื่อนได้เป็นระยะทางประมาณ 280 km
References
นภัทร วัจนเทพินทร์ สามารถ ทัดเกษ กิตตินันท์ พลอยรัตน์ และปัญญา กล่ำเดช. (2559). การพัฒนารถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบสำหรับการแข่งขัน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 10(2), 54-65.
Rajabi, H.S., Colantoni, A., Gallucci, F., Salerno, M., Silvestri, C., & Villarini, M. (2019). Comparative energy and environmental analysis of agro-pellet production from orchard woody biomass. Biomass and Bioenergy, 129, 105334. https://doi.org/10.1016/j.biombioe.2019.105334
Rizzo, G., Tiano, F. A., Mariani, V. & Marino, M. (2021). Optimal Modulation of Regenerative Braking in hrough-The-Road Hybridized Vehicles. Energies, 14(20), 6835. https://doi.org/10.3390/en14206835
Rizzo, G. (2010). Automotive applications of solar energy. IFAC Proceedings Volumes, 43(7), 174-185. https://doi.org/10.3182/20100712-3-DE-2013.00199
Secinaro, S., Brescia, V., Calandra, D., & Biancone, P. (2020). Employing bibliometric analysis to identify suitable business models for electric cars. Journal of Cleaner Production, 264, 121503, 1879-1786. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2020.121503
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Kumjat Jaitrong, Piyanat Jaitrong
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.