การใช้โดรนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสำรวจธุรกิจเหมืองแร่ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • วัฒนา เอกปมิตศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • สมบัติ ฑีฆทรัพย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • สมศักดิ์ ตันตาศนี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • ชนม์ธิดา ยศปปัน คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • ประสงค์ อุทัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การใช้โดรน, เพิ่มประสิทธิภาพ, ธุรกิจเหมืองแร่

บทคัดย่อ

การวิจัยวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งมีต่อประสิทธิภาพการสำรวจของโดรน 2. เพื่อศึกษาการใช้โดรนที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและการสำรวจของธุรกิจเหมืองแร่ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในปฏิบัติงานของธุรกิจเหมืองแร่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ธุรกิจเหมืองแร่ในชลบุรี จำนวน 37 บริษัท กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในธุรกิจเหมืองแร่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย

            ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งมีต่อประสิทธิภาพการสำรวจของโดรนในธุรกิจเหมืองแร่ ตัวแปรเพศกับด้านการใช้โดรน พบมีความสัมพันธ์ในระดับสถิติที่ 0.05 ตัวแปรอายุกับด้านการเพิ่มประสิทธิการและการสำรวจ พบมีความสัมพันธ์ในระดับสถิติที่ 0.05  ตัวแปรระดับการศึกษากับด้านธุรกิจเหมืองแร่ พบมีความสัมพันธ์ในระดับสถิติที่ 0.05 2. ด้านการใช้โดรนส่งผลต่อเพิ่มประสิทธิภาพและสำรวจธุรกิจเหมืองแร่ พบมีความสัมพันธ์ในระดับสถิติที่ 0.05 อุตสาหกรรมเหมืองแร่ส่วนใหญ่นั้นเริ่มนำเทคโนโลยีการรังวัดสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับหรือ Drone มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีงานรังวัดชนิดต่าง ๆ เช่น เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมสำหรับงานรังวัด และภาพถ่ายทางอากาศใช้ในการตรวจสอบพื้นที่ประกอบการเหมืองแร่ จากการใช้เทคโนโลยีงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ 3. แนวทางในการพัฒนาธุรกิจเหมืองแร่ ซึ่งสามารถเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานในการจัดทำข้อมูลสำหรับการตรวจสอบและกำกับดูแลสถานประกอบการเหมืองแร่ โดยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเป็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ มีความชัดเจน ถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบมีความสำคัญในระดับสถิติที่ 0.05 สมมติฐานเป็นจริงทุกข้อ

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กระทรวง

อุตสาหกรรม พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://www.dpim.go.th/laws?catid=297.

ดนัย เรืองสอน, วิชัย วงศ์วิศิษฐ์, สุชาภัสร์ โชติรักษา, ณัฐวุฒิ หัสดีวิจิตร, ศุภกร สุทธิพันธ์, ภาณุพงศ์ มะโนเย็น, และ มีชัย บุญเลิศ. (2565). การใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับบริหารโครงการก่อสร้างทางหลวง. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 เชียงราย ประเทศไทย, 1-8.

ธงชัย วจะสุวรรณ และ เจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้โดรนเพื่อการเกษตรในอุตสาหกรรมเกษตร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 147-148.

ธัญธวัช จรูญภัทรพงษ์, อภิรดา นามแสง และ นวทัศน์ ก้องสมุท. (2564). การเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การใช้งานอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเพื่อการเกษตรในประเทศไทยและต่างประเทศ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(1), 105-121.

ปธิกร อันชื่น, ภูมิพัฒน์ ดวงกลาง และ ประสาทพร วงษ์คำช้าง. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบตัวจำแนกสำหรับการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายเรืออากาศ, 18(2), 16-25.

วรากร เลื่องลือวุฒิ, กิตตากร วิริยะศาสตร์, วิชัย แผ้วเกษม, พันธุ์เทพ แก้วมงคล และ สัญญา มิตรเอม. (2566). การตรวจจับวัตถุในภาพถ่ายทางอากาศด้วยเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ, 5(12), 16-25.

อิสราพันธ์ บุญเผย. (2562). การนำโดรนมาใช้ในงานสืบสวนของสถานีตำรวจ. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย, 2,(1), 77-96.

Gowroju, S. , & Ramchander, N. S. (2023). Applications of Drones—A Review. Drone Technology, 183-206.

Javad, S. , et al., (2020). A Comprehensive Review of Applications of Drone Technology in the Mining Industry. DMPI, 4(3), 34.

Mahajan, G. (2021). Applications of Drone Technology in Construction Industry: A Study 2012-2021. International Journal of Engineering and Advanced Technology, 11(1), 224-239.

Mohsan, S. A. H. , et al. (2022). Towards the Unmanned Aerial Vehicles (UAVs): A Comprehensive Review. Drones 6(6), 147.

Pradipta, A. , et al. (2019). The Application of Data Mining in Determining Timely Graduation Using the C45 Algorithm. International Journal of Information System and Technology, 3(1), 31-36.

Yao, H. , Qin, R. , & Chen, X. (2019). Unmanned Aerial Vehicle for Remote Sensing Applications—A Review. DMPI, 11(12), 1443.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29