ผลการศึกษาเบื้องต้นของไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวด
คำสำคัญ:
ไมโครพลาสติก, น้ำดื่มบรรจุขวด, ประเทศไทย, น้ำดื่มแบบถ้วยบทคัดย่อ
น้ำดื่มเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ อุตสาหกรรมน้ำดื่มจึงมีขนาดใหญ่และเติบโตอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภค แม้น้ำดื่มบรรจุขวดจะมีกระบวนการปรับปรุงคุณภาพจนนับได้สะอาดที่สุด แต่ก็มีงานวิจัยที่ตรวจพบไมโครพลาสติกปะปนอยู่ในนั้น การศึกษานี้ได้นำน้ำดื่มบรรจุขวดจำนวนหนึ่งที่ผลิตในประเทศไทย ต่างขนาดบรรจุ ต่างรูปแบบภาชนะ มาตรวจสอบหาปริมาณไมโครพลาสติก โดยกำหนดขอบเขตการตรวจสอบไว้ที่ขนาดไม่เล็กกว่า 5 ไมครอน ผลการตรวจสอบพบไมโครพลาสติกในน้ำดื่มทั้งแบบขวด PET แบบขวดแก้ว และแบบถ้วย สำหรับแบบขวด PET ที่มีหลายขนาดบรรจุ พบแนวโน้มว่าขวดเล็กจะมีปริมาณในหน่วยชิ้นต่อลิตรมากกว่าขวดใหญ่ โดยส่วนมากพบเป็นช่วงขนาดเล็ก (5-9 ไมครอน) มากกว่าขนาดใหญ่ (>10 ไมครอน) ส่วนแบบขวดแก้วและแบบถ้วยจะพบขนาดใหญ่มากกว่าขนาดเล็ก ทั้งนี้น้ำดื่มแบบถ้วยดูเหมือนว่าจะมีปริมาณไมโครพลาสติกมากกว่าน้ำดื่มแบบอื่นๆ ชนิดของไมโครพลาสติกส่วนมากที่พบในน้ำดื่มทุกแบบเป็นพลาสติกชนิดเดียวกับขวดและฝา ชี้ให้เห็นว่าไมโครพลาสติกในน้ำดื่มบรรจุขวดน่าจะมีที่มาจากตัวขวด และฝาเป็นหลักนั่นเอง
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ