วัตถุประสงค์และภารกิจของกฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
คำสำคัญ:
เศรษฐกิจหมุนเวียน, ของเสีย, การฟื้นคืนสภาพผลิตภัณฑ์, การขยายอายุผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
การเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจแบบเส้นตรงไปยังเศรษฐกิจหมุนเวียนจะต้องอาศัยการสนับสนุนจากรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการให้บริการ รัฐสามารถใช้เครื่องมือทางกฎหมายในการดำเนินการดังกล่าว เช่น การเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรแทนการเก็บจากแรงงาน การกำหนดเป้าหมายการใช้ซ้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรม การให้ผลประโยชน์ทางภาษีสำหรับการใช้วัสดุที่ไม่ก่อมลพิษ และการให้คำนิยามของ “ของเสีย” ตามนิยามสากลซึ่งมีการแยกของเสียเพื่อการฟื้นฟูสภาพและของเสียที่จะไม่มีการฟื้นฟูสภาพ โดยเครื่องมือทางกฎหมายเหล่านี้จะต้องมีศักยภาพที่จะทำให้เกิดการจัดหาวัตถุดิบที่มีความหมุนเวียน การฟื้นคืนสภาพผลิตภัณฑ์ การขยายอายุผลิตภัณฑ์ การใช้แพลตฟอร์มการประกอบธุรกิจร่วมกัน และการใช้ผลิตภัณฑ์ในฐานะการให้บริการ อย่างไรก็ตาม ระบบกฎหมายไทยยังมีข้อจำกัดเนื่องจากไม่มีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดนิยามและเป้าหมายของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีผลบังคับผูกพันทางกฎหมาย ทำให้แนวทางการดำเนินการไม่มีความชัดเจนและขาดหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่และอำนาจทางกฎหมายในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งยังขาดกฎหมายที่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งขาดแนวทาง สภาพบังคับ และบทกำหนดโทษที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปยังเศรษฐกิจหมุนเวียน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ