หลักการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยตามปริมาณ ที่ทิ้ง ตอนที่ 1 กรณีศึกษาและถอดบทเรียนของนานาประเทศ
คำสำคัญ:
การเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยตามปริมาณที่ทิ้ง, Pay as you throwบทคัดย่อ
ประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้น 24.98 ล้านตันในปีพ.ศ. 2564 โดยถูกคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 32 ที่เหลือส่วนใหญ่ถูกส่งไปกำจัดด้วยการเทกอง หรือเผา การลดการสร้างขยะและการเพิ่มการแยกขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์จึงเป็นเรื่องสำคัญในการแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทาง การเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยตามปริมาณที่ทิ้งหรือ Pay as you throw (PAYT) เป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในหลายประเทศว่ามีประสิทธิผลในการเพิ่มอัตราการรีไซเคิลและลดปริมาณขยะที่จะต้องถูกนำไปกำจัด PAYT สามารถนำมาปฏิบัติได้หลายรูปแบบเช่นการจำหน่ายถุงขยะซึ่งเป็นการแปรผันตามปริมาตร การชั่งน้ำหนักถุงขยะหรือถังขยะแล้วคิดค่าธรรมเนียมตามน้ำหนัก หรือตามรูปแบบการแยกทิ้งขยะคือหากทิ้งขยะรวมกัน จะมีค่าธรรมเนียมในอัตราสูงที่สุด หากมีการแยกขยะ ค่าธรรมเนียมจะถูกลง กรณีศึกษาของเมือง Shingu ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเริ่มใช้ PAYT เมื่อปี ค.ศ. 2002 โดยคิดค่าถุงขยะที่รวมค่าธรรมเนียมขนาด 15 และ 30 ลิตรในราคา ¥21 และ ¥42 ตามลำดับ สามารถลดอัตราการเกิดขยะทั่วไปลงจาก 1.233 กิโลกรัม/คน/วัน เหลือเพียง 0.925 กิโลกรัม/คน/วัน ในปีเดียว กรณีของไต้หวันพบว่าการใช้ PAYT ช่วยประหยัดงบประมาณไปได้ถึง 6 หมื่นล้านเหรียญไต้หวัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ