การระบายอากาศภายในห้องชุดพักอาศัยของคนทำงานที่บ้าน (Work from home) ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การระบายอากาศ, ห้องชุดพักอาศัย, อาคารชุดพักอาศัย, คุณภาพอากาศภายในอาคาร, คาร์บอนไดออกไซด์, คุณภาพอากาศ, การทำงานที่บ้านบทคัดย่อ
หลังการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้กลุ่มคนทำงานต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทำงานที่บ้าน (Work from home) มากขึ้น คุณภาพอากาศภายในห้องชุดพักอาศัยจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเพราะอาจส่งผลต่อทั้งสุขภาพและประสิทธิภาพในการทำงานได้ ทั้งนี้ อาคารชุดพักอาศัยมักมีลักษณะเป็นห้องที่มีหน้าต่างด้านเดียวซึ่งระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติได้ไม่มากนัก ประกอบกับมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจออกตกค้างอยู่ จึงเกิดความเสี่ยงที่มลพิษทางอากาศจะสะสมอยู่ภายในห้อง ทีมผู้เขียนบทความนี้จึงได้ศึกษาการระบายอากาศภายในห้องชุดพักอาศัยผ่านการใช้เครื่องมือตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งภายในห้องนอนและห้องนั่งเล่นระหว่างช่วงเวลาการทำงานที่บ้าน ผลการศึกษาพบว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงไปตามกิจวัตรประจำวันของเจ้าของห้อง และมีค่าสูงในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. ในห้องนอน, 9.00-11.00 น. ในห้องนั่งเล่น, และ 21.00-24.00 น. ในห้องนั่งเล่นและห้องนอน จึงควรคำนึงถึงการระบายอากาศทั้งโดยวิธีธรรมชาติ เช่น การเปิดหน้าต่าง และวิธีกล เช่น พัดลมดูดอากาศ ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้พักอาศัยรองรับแนวโน้มการทำงานที่บ้านที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ