การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกครั้งเดียวทิ้งของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ในกิจกรรมถนนคนเดินโดยการใช้เกมจับฉลาก
คำสำคัญ:
พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง, การท่องเที่ยว, บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, แนวทางการลดพลาสติก, เกมจับฉลากบทคัดย่อ
กิจกรรม Green Lucky ที่จัดขึ้น ณ ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน เป็นการใช้เกมจับฉลาก เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) ของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โดยตั๋วจับฉลากของ Green Lucky สามารถส่งเสริมทางเลือกให้กับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น ย่อยสลายได้ หรือสามารถขายได้) ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาที่สูงกว่าพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) กิจกรรมนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคผ่านบัตรส่วนลดและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากขยะ (Upcycling Product) ซึ่งเป็นของรางวัลที่ได้จากกิจกรรมการจับฉลาก Green Lucky ทำให้เกิดความต้องการตั๋วจับฉลาก Green Lucky จากผู้บริโภค (Demand Driving) ส่งผลให้ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มมีแรงจูงใจในการเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีแนวทางการลดการใช้ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) เพื่อให้มีสิทธิรับโควตาตั๋วจับฉลาก Green Lucky โดยกิจกรรม Green Lucky สามารถลดปริมาณขยะไปยังหลุมฝังกลบได้ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการดำเนินกิจกรรม นอกจากนั้น พฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มหลังสิ้นสุดกิจกรรมไปแล้ว 1 เดือน ยังคงเหมือนกับช่วงระหว่างการดำเนินกิจกรรม Green Lucky ซึ่งแตกต่างจากกิจกรรมอื่น ๆ ที่ให้งบสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ แต่ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของร้านอาหารและเครื่องดื่มได้ แม้ว่างบประมาณในการจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky จะมีต้นทุนสูงกว่างบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การพัฒนากลไกการให้ของรางวัล เช่น ราคาของตั๋วส่วนลด และสัดส่วนของตั๋วส่วนลดมูลค่าต่าง ๆ เป็นต้น อาจช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky อนาคตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Downloads
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ