การจัดการของเสียในโรงเรียนสู่จังหวัดสะอาด

ผู้แต่ง

  • มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จุฬาลักษณ์ ชาญกูล สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ภัทรมาศ เทียมเงิน สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ปิติพร มโนคุ้น สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

โรงเรียน, องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น, ฝ่ายการศึกษา, การจัดการขยะ, จังหวัดสะอาด

บทคัดย่อ

ด้วยการมุ่งสู่การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างวินัยการจัดการขยะอย่างยั่งยืน โรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาเยาวชนสู่ครอบครัวและสังคมในการจัดการขยะสู่การลดขยะให้เหลือศูนย์ และต่อยอดไปในระดับจังหวัด โดยโรงเรียนมีนโยบายการจัดทำโรงเรียนปลอดขยะและขยายผล
ในทุกโรงเรียนของจังหวัด ซึ่งสอดรับกับมาตรการ “จังหวัดสะอาด” ที่ให้โรงเรียนดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายในด้านการจัดการขยะต้นทาง หากโรงเรียนดำเนินการเองจะดำเนินงานได้อย่างมีข้อจำกัด ทำให้ต้องเกิดกระบวนการความร่วมมือ พัฒนา โดยอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังจากสามฝ่ายแบบบูรณาการ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และภาคเอกชน (ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า โรงงานอุตสาหกรรม เอกชนทั้งนอกและในพื้นที่) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝ่ายการศึกษา อาจมีบทบาทมากขึ้นในการร่วมเก็บข้อมูล และขยายผลดำเนินการในทุกโรงเรียนเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลระดับจังหวัด ทั้งในด้านการลดการใช้ทรัพยากร เศรษฐกิจหมุนเวียน การผลิตเป็นพลังงาน (ถ้ามี) การคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจก และการสร้างเครือข่ายเอกชนที่รับของเสียจากโรงเรียนในพื้นที่ที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27