ความรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพอากาศภายในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • มณีรัตน์ องค์วรรณดี วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • กมลชัย ยงประพัฒน์ ศูนย์บริการวิชาการด้านศาสตร์เขตเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

คุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor air quality), สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (Daycare), ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย (Caregiver), ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy)

บทคัดย่อ

การสำรวจความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ที่เกี่ยวข้องของครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (ศพด.) ในสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีงบประมาณ 2567 ทำการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย จำนวน 231 คน ในระหว่างกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2567 ผลสำรวจข้อมูลครูผู้ดูแลเด็กพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีประสบการณ์ทำงานประมาณ 14 ปี ระดับการศึกษาครูในโรงเรียนร้อยละ 90 มีคุณวุฒิปริญญาตรีและสูงกว่า ในขณะที่ครู ศพด. ร้อยละ 68.4 มีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารประมวลจากคะแนนเฉลี่ยที่ตอบได้ถูกต้อง ครูโรงเรียนได้คะแนนร้อยละ 64.9 ครู ศพด. ได้คะแนนร้อยละ 67.6 จัดอยู่ในระดับ ‘ปานกลาง’ ตามวิธีอิงเกณฑ์ของบลูม (Bloom) โดยครูส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการระบายอากาศและผลกระทบจากห้องปิดทึบ ส่วนระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของครู ศพด. ประมวลด้วยมาตรวัดลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ พบว่ามีความรอบรู้ระดับ ‘ต่ำ’ (ร้อยละ 57.7) แสดงออกถึงความ ‘ยาก’ ของครู ศพด. ในการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ ในการทำความเข้าใจและตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำไปใช้ดำเนินการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารหรือในห้องเด็ก รวมถึงความยากในการสื่อสารคุณภาพอากาศภายในอาคารให้กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองเด็ก เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27