การประเมินคุณภาพน้ำดื่มจากตู้กดน้ำดื่มประเภทต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษา
คำสำคัญ:
คุณภาพน้ำดื่ม, ตู้กดน้ำดื่ม, ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบทคัดย่อ
การบริโภคน้ำดื่มจากตู้กดน้ำดื่มที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากรในสถาบันการศึกษา ดังนั้นการศึกษานี้จึงทำการประเมินคุณภาพน้ำดื่มจากตู้กดน้ำดื่มภายในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง โดยเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากจุดบริการต่าง ๆ รวม 29 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ค่าความขุ่น ความเป็นกรด-ด่าง ความกระด้างทั้งหมด โคลิฟอร์มแบคทีเรีย และอี. โคไล และเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างน้ำดื่มทั้งหมดมีค่าความขุ่นและความเป็นกรด-ด่างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีตัวอย่างน้ำดื่มร้อยละ 10 ที่พบค่าความกระด้างทั้งหมดเกินเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อทำการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจำนวน 18 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางจุลชีววิทยา พบว่าตัวอย่างน้ำดื่มร้อยละ 11 มีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และร้อยละ 22 พบการปนเปื้อนเชื้ออี. โคไล จากการประเมินสุขลักษณะของตู้กดน้ำดื่ม พบว่าตู้กดน้ำดื่มทั้งหมดยังไม่ถูกสุขลักษณะในหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องสถานที่ตั้ง การควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภค การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงควรมีแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ดื่มน้ำที่สะอาดและปลอดภัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ