การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน, กรณีศึกษาศูนย์การค้า, การลดและคัดแยกขยะบทคัดย่อ
กรมควบคุมมลพิษได้รายงานข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยทั่วประเทศ โดยระบุว่าในปี 2566 มีขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ 12,748 ตัน/วัน ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ประโยชน์จำนวน 3,940 ตัน/วัน เช่น นำไปหมักทำปุ๋ยหรือรีไซเคิล คิดเป็นประมาณร้อยละ 31 ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมและจุดนัดพบ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยว ในรูปแบบต่างๆ และเนื่องจากเป็นสถานที่รวบรวมผู้คนและนักท่องเที่ยวและศูนย์รวมร้านค้าจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งที่สำคัญอีกหนึ่งแหล่งที่ก่อให้เกิดขยะจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้นบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงผลของการศึกษาปริมาณของขยะทั่วไปและขยะรีไซเคิล กรณีศึกษาศูนย์การค้าซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ โดยผลการศึกษาจะเสนอแนะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะของศูนย์การค้า มุ่งสู่การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ต่อไป จากผลการศึกษาศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน มีปริมาณขยะต่อเดือนอยู่ที่ 170,000 กิโลกรัม หรือ 170 ตัน ซึ่งมีอัตราการรีไซเคิลเพียงร้อยละ 7.48 และเกิดขยะทั่วไปเฉลี่ย 4,851.43 กิโลกรัมต่อวัน จึงได้มีการวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุและข้อจำกัด พบว่าหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานในร้านค้าเช่าในพื้นที่ศูนย์การค้าได้ เช่นการกำหนดให้คัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้งที่จุดพักขยะ การเก็บค่าขยะตามปริมาณ/จำนวนถุงและยากต่อการพัฒนาแนวทางการจัดการขยะในพื้นที่ศูนย์การค้า
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ