เมื่อนกน้อยในกรงทองส่งข่าวถึงผลกระทบของขยะทะเลจากการเกาะติด พันรัด และกักขัง
คำสำคัญ:
ขยะพลาสติก, ขวดพลาสติก, หอย, การเกาะติด, การพันรัด, การกักขัง, ผลกระทบบทคัดย่อ
ปัจจุบันมีขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งและล่องลอยอยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก แค่ในปี พ.ศ. 2564 มีขยะถูกทิ้งผ่านแม่น้ำลงสู่อ่าวไทยมากถึง 95 ล้านชิ้น ซึ่งมีการประมาณการไว้ว่าในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) จะมีน้ำหนักขยะในมหาสมุทรมากกว่าน้ำหนักสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเสียอีก สถานการณ์ที่มีขยะมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผลกระทบจากขยะมีความชัดเจนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว บทความนี้กล่าวถึงข่าวสารที่ได้รับจากทะเล ถึงผลกระทบจากขยะพลาสติกในมหาสมุทร ที่ไม่ได้เกิดจากการเผลอกินเข้าไปเท่านั้น แต่เป็นผลกระทบในรูปแบบของการเกาะติด พันรัด และกักขัง ด้วยสมบัติของพลาสติกที่สามารถลอยน้ำได้ มีความคงทนสูง และมีมากมายมหาศาลจนเป็นเสมือนส่วนเกินที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ ขยะพลาสติกกลายเป็นที่อยู่ใหม่และเป็นพาหนะที่นำพาสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ติดไปกับมันไปยังพื้นที่อันห่างไกล พาเอาสิ่งมีชีวิตจากระบบนิเวศน้ำจืดไปตายที่ระบบนิเวศน้ำเค็ม พาเอาไข่ ตัวอ่อน และสัตว์ต่าง ๆ ที่เกาะติดมาแห้งตายที่ชายหาด พาเอาสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นไปเป็นชนิดพันธุ์รุกรานในพื้นที่อื่น ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ขยะพลาสติกยังเป็นตัวการสำคัญในการติดพันกักขังสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศทางทะเล ไม่ว่าจะเป็น เต่าทะเล นกทะเล นากทะเล แมวน้ำ วัวทะเล สิงโตทะเล วาฬ โลมา ปลาฉลาม รวมไปถึงการกักขังพันรัดสัตว์ในแนวปะการังเช่น กลุ่มปลา งูทะเล ปู หมึก และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกหลายชนิด ส่งผลต่อการเติบโตที่ผิดปกติและนำไปสู่ความตาย รวมไปถึงการทำลายแนวปะการังจากการติดพันโดยอุปกรณ์การประมง ระบบนิเวศที่ห่างไกลผู้คนกลับถูกขยะพัดพาไปทับถมเกิดความเสียหายเนื่องจากสิ่งมีชีวิตในที่นั้นไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปริมาณการตายของสิ่งมีชีวิตจากขยะพลาสติกที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร บทความนี้ได้รวบรวมการศึกษาต่าง ๆ ที่บ่งชี้ถึงผลกระทบที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากผู้ส่งสารตัวน้อยในขยะขวดน้ำดื่มใบหนึ่ง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ