การประเมินวัฏจักรชีวิตของเชื้อเพลิง RDF-5 ที่มีส่วนประกอบของขยะที่ผ่านกระบวนการบาบัดเชิงกลชีวภาพและกากตะกอนน้ามันดิบ
Life Cycle Assessment of Refuse Derived Fuel 5 Composed of the Mechanical Biological Waste Treatment and Crude Oil Sludge
Keywords:
การประเมินวัฏจักรชีวิต, RDF-5 วิธี, Life Cycle Assessment, Refuse Derived Fuel 5, Eco-indicator 95Abstract
ปัจจุบันปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยได้เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็เล็งเห็นถึงความสาคัญและความจาเป็นที่จะต้องร่วมกันแก้ไข เนื่องจากปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับยังมีข้อจากัดด้านเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม ในบทความนี้เชื้อเพลิง RDF-5 ที่ผลิตจากขยะชุมชนผสมกากตะกอนน้ามันดิบถูกนามาเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิง RDF-5 ที่ผลิตจากขยะที่ผ่านกระบวนการบาบัดเชิงกลชีวภาพผสมกากตะกอนน้ามันดิบในเขตพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลกโดยอาศัยเทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิต และกาหนดหน่วยการทางานเป็นเชื้อเพลิง RDF-5 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร และยาว 30 มิลลิเมตร จานวน 42.18 ตัน ที่ผลิตจากขยะที่ผ่านกระบวนการบาบัดเชิงกลชีวภาพผสมกากตะกอนน้ามันดิบและเชื้อเพลิง RDF-5 ที่ผลิตจากขยะชุมชนผสมกากตะกอนน้ามันดิบ สาหรับใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการผลิตเชื้อเพลิง RDF-5 จะถูกพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิตแท่งเชื้อเพลิง จนกระทั่งการจัดการเศษซากของเชื้อเพลิงเมื่อหมดอายุการใช้งาน เป้าหมายของการศึกษานี้ เพื่อกาหนดตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิง RDF-5 จากขยะและระบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม การวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อมจานวนสารขาเข้า (Inputs) และสารขาออก (Outputs) ของแต่ละขั้นตอนการผลิตเชื้อเพลิง RDF-5 ถูกคานวณโดยวิธี Eco-indicator 95 เพื่อจัดกลุ่มความรุนแรงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้แก่ ผลกระทบจากโลหะหนัก (Heavy metals), การเกิดฝนกรด (Acidification), การเกิดหมอกควัน (Winter smog), และสภาวะการเกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse) เป็นต้น ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าการผลิตเชื้อเพลิง RDF-5 ที่ผลิตจากขยะชุมชนผสมกากตะกอนน้ามันดิบมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงกว่าเชื้อเพลิง RDF-5 ที่ผลิตจากขยะที่ผ่านกระบวนการบาบัดเชิงกลชีวภาพผสมกากตอนน้ามันดิบ ดังนั้นเชื้อเพลิง RDF-5 ที่ผลิตได้จากขยะที่ผ่านกระบวนการบาบัดเชิงกลชีวภาพผสมกากตะกอนน้ามันดิบจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมของระบบการจัดการขยะมูลฝอยในจังหวัดพิษณุโลก
Nowadays, the environmental impacts of municipal solid waste (MSW) management have been highlighted in Thailand, due to the continually increasing amount of MSW being generated and the limited capacity of waste treatment facilities. In this paper, the RDF-5 derived from MSW mixed with crude oil sludge was compared with RDF-5 derived from solid waste after mechanical biological treatment (MBT) process mixed with crude oil sludge in Phitsanulok, Thailand by using the life cycle assessment (LCA) methodology. The RDF-5 production processes considered in the scenarios was collection and transportation of wastes, source reduction, material recovery facility (MRF)/transfer stations (TS), briquette production and land filling. The goal of the study was to determine the most environmentally friendly option of the RDF-5 production processes from wastes and MSW management system for Phitsanulok. The life cycle inventory analysis was carried out by the Eco-Indicator 95 weighting method. The inputs and outputs of each production processes were defined and the inventory emissions calculated by the model were classified in to impact categories; heavy metals, acidification, winter smog, greenhouse effect, etc. The impacts were quantified with the weighing factors of each category to develop the environmental profiles of each scenario. The results of experiments indicated that the RDF-5 were composed MSW mixed crude oil sludge had higher heavy metals, acidification, winter smog, greenhouse, eutrophication, carcinogens, summer smog and ozone layer than the RDF-5 were composed solid waste after MBT process mixed crude oil sludge. Consequently, the RDF-5 derived from solid waste after MBT process mixed with crude oil sludge is optimal option of MSW management system for Phitsanulok.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2014 Naresuan University Journal: Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.