การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการใช้วัสดุในงานประดับยนต์สำหรับทำแผ่นเกราะ กันกระสุน ระดับ 2 โดยออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียล 2 2 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
A Study of Optimal Factor in Utilization Car Accessories Materials for theBallistic Armor Level 2 Using a 2 2 Factorial Design at 95% Confidence Level
Keywords:
เสื้อเกราะกันกระสุน, แผ่นเกราะกันกระสุน, คาร์บอนเคฟล่าร์, เส้นใยคาร์บอน, อีพ๊อกซี่พัตตี้, งานประดับยนต์Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของวัสดุในงานประดับยนต์สำหรับทำแผ่นเกราะกันกระสุน โดยออกแบบการทดลองเชิง แฟกทอเรียล 22 การป้องกันการทะลุทะลวงของคมกระสุน ระดับ 2 อ้างอิงตามมาตรฐาน NIJ Standard-0101.06 ปัจจัยที่ทำการศึกษาประกอบด้วยปัจจัย ด้านชนิดของวัสดุ และปัจจัยด้านการเสริมชั้นกาวอีพ๊อกซี่พัตตี้ ในการทดสอบจะนำวัสดุแต่ละปัจจัยบรรจุในซองทดสอบผ้าแบบเปิด-ปิดได้ จำนวน 4 ซองทดสอบ ทำการทดสอบด้วยกระสุนจริง ระดับ 2 ทดลองซ้ำ 6 ครั้ง จากผลการศึกษาพบว่าทุกปัจจัยมีผลต่อการป้องกัน การทะลุทะลวงของคมกระสุน ระดับ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยที่เหมาะสมชี้ให้เห็นว่าการใช้วัสดุในซองทดสอบที่ 3 จะสามารถต้านทานการทะลุผ่านของกระสุนได้ดีที่สุด
The purpose of this research is to study the materials in the car accessories to make a bullet proof vests. The research uses a
22 factorial designed at 95% confident level and analysis of variances. That can stop a bullet through the level 2 (NIJ Standard-
0101.06.). The first factor is the materials type and second factor is material layer is epoxy putty plate. The test material in each
of the factors contained in the cloth bag open - closed. The material to test 4 type. The testing with bullet level 2 in NIJ
Standard-0101.06. was repeated fired six times. The result indicates found that, the all factors, It has affecting penetrations of
bullet in level 2 them are significant statistically and the factors indicated the used of materials in 3 envelope test. It will be able
to resist the penetration of bullet as will.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2013 Naresuan University Journal: Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.