ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย

Effectiveness of Risky Sexual Behavior Prevention Program among Adolescent Boys

Authors

  • Worawan Tipwareerom
  • Sureeporn Suwannaosod
  • Taweesak Khumlue

Keywords:

การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, เด็กวัยรุ่นชาย, IMB Model, โปรแกรมป้องกัน, Risky sexual behavior prevention, Adolescent boys, Prevention program

Abstract

อายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทยลดลงทุกปี ส่งผลต่อปัญหาสาธารณสุขของประเทศ เช่น การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์วัยรุ่น การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเด็กวัยรุ่นชาย โดยใช้กรอบแนวคิดของ Information-Motivation-Behavioral skills Model (IMB model) ในนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และบิดามารดา/ผู้ปกครอง กลุ่มทดลอง 49 คู่ และกลุ่มควบคุม 49 คู่ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง จังหวัดพิษณุโลก โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย ประเมินผล 3 ครั้ง คือ หลังการทดลอง, 1 เดือน และ 2 เดือน หลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Repeated measure one way ANOVA และ Independent t-test

ผลการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของเด็กชาย พบว่า ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การดื่มสุรา และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และลดอิทธิพลของเพื่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และทักษะการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) กลุ่มบิดามารดา/ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรม พบว่าหลังทดลอง
ความสะดวกใจในการพูดคุยเรื่องเพศกับบุตรชายของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

โปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กวัยรุ่นชาย สามารถพัฒนาความรู้ในเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทักษะในการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเด็กชาย และเพิ่มความสะดวกใจในการพูดคุยสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรชายในกลุ่มบิดามารดา/ผู้ปกครองได้ บุคลากรด้านสาธารณสุขสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสำหรับเด็กวัยรุ่นชายในชุมชนต่อไป

The average age of sexual intercourse among adolescences was decreased every year. Its effected health problems such as Sexually Transmitted Infections (STIs) rate and teenage pregnancy. This was a quasi-experimental study and the objective of this study was to evaluate the effectiveness of a risky sexual behavior (RSB) prevention program among adolescent boys immediately, after the program and at one and two month. The Information-Motivation-Behavioral skills (IMB) model program was carried out among 49 boys and 49 parents/guardians in the invention group and 49 boys and 49 parents/guardians in the control group in 2 high school, Phitsanulok province by using simple random sampling. Repeated measured ANOVA and Independent t-teat were employed to analyze the program’s effectiveness.

After the program while comparing mean score between the intervention group and the control group of boys, the mean score of STIs’ s knowledge, alcohol drinking and risky sexual behaviours increased significantly (p<0.05). The mean score of peer pressure decreased significantly (p<0.05) and condom used skills increased significantly (p<0.001). The parents/guardians who completed the prevention program improved their mean scores of felt more comfort to talk about sex with their son increased significantly (p<0.05) while comparing between the intervention group and the control group.

Risky sexual behaviour prevention program had an overall effect on STIs‘s knowledge and condom used skills among adolescences. Parents/guardians felt comfort to talk about sex with their son. These results provided evidence for applicability of the effectiveness of a risky sexual behavior prevention program among boys for other health services.

Downloads

Published

2014-09-26

Issue

Section

Health and Sciences