ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำดีคั่งจากการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดในทารกแรกเกิด ณ โรงพยาบาลนครพิงค์
Risk Factors of Parenteral Nutrition-Associated Cholestasis in Neonates at Nakornping Hospital
Keywords:
ทารกแรกเกิด, สารอาหารทางหลอดเลือด, ภาวะน้ำดีคั่งจากการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือด, Neonate, Parenteral nutrition, Parenteral nutrition-Associated cholestasisAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้าดีคั่งจากการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือด (Parenteral nutrition-associated cholestasis : PNAC) ของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยทาการศึกษาในผู้ป่วยทารกแรกเกิดทุกรายในหอผู้ป่วยวิกฤติทารกแรกเกิดและได้รับสารอาหารทางหลอดเลือด (Parenteral nutrition: PN) อย่างน้อย 14 วันขึ้นไประหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2557 โดยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ทั้งหมดถูกนามาวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการวิจัยชนิด Retrospective cohort study โดย PNAC ในทารกแรกเกิดหมายถึงภาวะที่มีการคั่งของบิลิรูบินชนิดคอนจูเกตหรือไดเร็คในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรระหว่างที่ได้รับ PN
ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่เข้าตามเกณฑ์ของการศึกษานี้ทั้งสิ้น 212 คน มี 51 คน (ร้อยละ 24.06) ที่เกิด PNAC โดยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติในส่วนของระยะเวลาที่ได้รับ PN, อายุที่เริ่มได้รับอาหารทางทางเดินอาหาร, อายุที่เริ่มได้รับไขมัน, ระยะเวลาที่ได้รับไขมัน, พลังงานที่ได้รับเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 3 ของชีวิต, ปริมาณกลูโคสทั้งหมดที่ได้รับ, พลังงานทั้งหมดที่ได้รับจากกลูโคส, ปริมาณกรดอะมิโนเฉลี่ยที่ได้รับ, ปริมาณกรดอะมิโนทั้งหมดที่ได้รับ, พลังงานทั้งหมดที่ได้รับจากกรดอะมิโน, ปริมาณไขมันทั้งหมดที่ได้รับและพลังงานทั้งหมดที่ได้รับจากไขมันระหว่างทารกที่เกิดและไม่เกิด PNAC และจากปัจจัยทั้งหมดข้างต้นเมื่อได้ทาการวิเคราะห์แบบ Binary logistic regression analysis โดยวิธี backward พบว่าโมเดลสุดท้ายเหลืออยู่เพียงสามปัจจัยคือ ระยะเวลาที่ได้รับ PN อายุที่เริ่มได้รับอาหารทางทางเดินอาหารและพลังงานที่ได้รับเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 3 ของชีวิต โดยอายุที่เริ่มได้รับอาหารทางทางเดินอาหารและพลังงานที่ได้รับเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 3 ของชีวิตมีความสัมพันธ์กับการเกิด PNAC อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
The objective of this research were to study the risk factors for parenteral nutrition-associated cholestasis (PNAC) at Nakornping hospital. This study enrolled infants who were admitted to our neonatal intensive care unit and treated with parenteral nutrition (PN) infusion for at least 14 days between August 2009 and April 2014. Multiple possible risk factors were analyzed by a retrospective cohort study design. PNAC was defined as direct bilirubin greater than or equal to 2 mg/dL during PN.
A total of 212 infants with prolonged course of PN were eligible for this study; 51 (24.06 %) of the infants developed PNAC. There were significant differences in terms of duration of PN, initial feeding, lipid started date, lipid duration, average energy intake the 3rd week of life, total glucose intake, total energy intake from glucose, average AA intake, total AA intake, total energy intake from AA, total lipid intake and total energy intake from lipid between infants with cholestasis and those without cholestasis. Of these risk factors which final model consist of duration of PN, initial feeding and average energy intake the 3rd week of life. Initial feeding and average energy intake the 3rd week of life was most significant after backward binary logistic regression analysis.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2014 Naresuan University Journal: Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.