พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในเขตนครชัยบุรินทร์

Oral Health Care Behaviors of Preschool Children’s Parent in Nakhonchaiburin Region

Authors

  • Kantima Hampromarat Regional Health Promotion Center 5 Nakhon Ratchasima

Keywords:

ความรู้ทัศนคติ, พฤติกรรมทันตสุขภาพ, เด็กก่อนวัยเรียน, knowledge, attitude, practice, dental health, preschool children

Abstract

        โรคฟันผุในเด็กเล็กเป็นปัญหาสาคัญของหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทยพบสถานการณ์ฟันผุในเด็ก 3 ปี ร้อยละ 51.7 และเด็ก 5 ปี พบฟันผุสูงถึง ร้อยละ 78.5 ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ ต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กมีทันตสุขภาพที่ดีการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็ก 0- 5 ปีของผู้ปกครอง ในเขตนครชัยบุรินทร์ 349 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2557 เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็ก และสภาวะทันตสุขภาพเด็กผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นบิดามารดาร้อยละ 71.9 อายุเฉลี่ย 33.6 ปี จบชั้นมัธยมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 48.9 มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 51 เด็กส่วนใหญ่มีอายุ 3 ปีร้อยละ 32.1 สภาวะทันตสุขภาพเด็ก พบฟันผุร้อยละ 62.5 ผู้ปกครองมีความรู้ด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 61.3 แต่ยังขาดความรู้ในเรื่อง การแปรงฟันให้เด็กควรแปรงหลังอาหารทุกมื้อร้อยละ 71.63, อาหารที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างฟันคือ อาหารจาพวกนม ไข่ ร้อยละ 69.63 และลักษณะเริ่มแรกของโรคฟันผุคือ ฟันเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ร้อยละ 40.69 ส่วนเด็กในปกครองของผู้ปกครองกลุ่มนี้มีฟันผุร้อยละ 63.1 ด้านทัศนคติในการดูแลทันตสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 74.8 มีบางประเด็นที่ทัศนคติไม่ถูกต้องคือ เห็นว่าไม่ควรถอนฟันหรือทาการรักษาใดๆ ขณะมีอาการปวด บวม อักเสบ ร้อยละ 67.33, การให้เด็กหลับขณะดูดขวดนมไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 34.95 และไม่แน่ใจว่าการถอนฟันน้านมก่อนกาหนดทาให้เสียประสาท ร้อยละ 39.82 ส่วนสภาวะทันตสุขภาพของเด็กกลุ่มนี้มีฟันผุ ร้อยละ 60.9 ด้านการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.7 สิ่งที่ผู้ปกครองปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องคือ การซื้อขนมหวานให้เด็กรับประทานเป็นบางครั้ง ร้อยละ 74.21 และหลังรับประทานแล้วไม่ได้แปรงฟันให้เด็ก ร้อยละ 58.45 ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสาคัญที่ทาให้เกิดฟันผุได้ง่าย ส่วนผู้ปกครองที่ปฏิบัติอยู่ในระดับดีมีร้อยละ 40.1 และเด็กในปกครองของผู้ปกครองกลุ่มนี้มีฟันผุเพียง ร้อยละ 56.4 เท่านั้นจากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่มีความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับดี ส่วนการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพเด็กที่ถูกต้องเหมาะสมของผู้ปกครองสามารถลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กกลุ่มนี้ได้

        Dental caries have commonly affected preschool children worldwide. In Thailand, the incidence is 51.7% and 78.5% among the 3-year-old and the 5-year-old, respectively. Parental guidance and care are required to improve the dental health status of the children. This cross sectional interview research aims to determine the parental knowledge, attitude, and practice in dental care for preschool children, less than 5 years old. The research was done in 4 provinces: Nakhon Ratchasima, Chaiyaphum, Surin, and Buriram. Data collection was done between August-October 2014 and 349 parents were recruited. Results show that most samples are either a father or mother (71.9%) with an average age of 33.6 years old, while the average age of children is 3 years old. About half of parents graduated from high school and are currently employed (48.9% and 51%). Sixty-one percent of parents have good dental care knowledge. Lacks of knowledge are post-meal brushing, dental health promoting diets, age of the first permanent tooth, and early signs of dental caries. Seventy-five percent of parents also have good attitude towards dental health. Some misled attitudes include no tooth extraction during an active dentoalveolar abscess, bottle-related dental caries, and association between an early extraction of deciduous teeth and nerve injuries. Only half of parents have a fair dental health practice (50.7%) and the unfavorable practices are sweet treats, no post-meal brushing. Those are the major contributing factors to dental health compromise in preschool children. This research also has elaborated the association of parental knowledge, attitude, and practice with children’s dental health status. Parents are certain actors to decrease dental caries in their children.

Downloads

Published

2014-12-29

Issue

Section

Research Articles