คุณสมบัติดินที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี
Effect of soil properties on increasing mangrove area in The King’s Royally Initiated LaemPhakBia Environmental Research and Development Project, Petchaburi Province
Keywords:
ป่าชายเลน, คุณสมบัติดินบริเวณชายฝั่ง, แหลมผักเบี้ย, จังหวัดเพชรบุรี, Mangrove Forests, Characteristic of coastal soil, Laem Pak Bia, Phetchaburi ProvinceAbstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาอัตราการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าชายเลนและคุณสมบัติดินบางประการที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณด้านหน้าโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีพื้นที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณด้านหน้าโครงการฯ และพื้นที่อ้างอิง ดำเนินการวางแปลงตัวอย่างขนาด 10 x 10 เมตร เป็นแนวตั้งฉากกับริมฝั่งลึกเข้าไปจนสุดแนวด้านในของป่าชายเลน ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ป่าชายเลนมีการเพิ่มขึ้นในทุกๆปี เฉลี่ยปีละ 3.5 เฮกแตร์ชนิดพืชป่าชายเลนบริเวณนี้มีแสมทะเล (Avicennia marina) เป็นไม้เด่นเจริญเติบโตอยู่อย่างหนาแน่นเฉลี่ย 4,003 ต้น/เฮกแตร์ คุณสมบัติดินที่มีอิทธิพลต่อความหนาแน่นและการเติบโตของแสมทะเลในพื้นที่โครงการฯ พบว่า ความหนาแน่นของแสมทะเลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์(r =1.000; p <0.01) และความเค็มของดิน (r =1.000; p <0.05) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ความสูงระดับอกของแสมทะเลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเปอร์เซ็นต์ของอนุภาคทราย (r =0.997; p <0.05) เปอร์เซ็นต์ของอนุภาคทรายแป้ง (r =0.998; p <0.05) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับเปอร์เซ็นต์ของอนุภาคดินเหนียว (r =-1.000; p <0.05) ในพื้นที่อ้างอิง พบว่า ความหนาแน่นของแสมทะเลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน(r =0.999; p <0.05) และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้(r =1.000; p <0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณแหลมผักเบี้ยขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพและทางเคมีของดิน การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าชายเลนเป็นผลดีต่อการฟื้นฟูระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งเนื่องจากป่าชายเลนจะบรรเทาความเร็วของกระแสน้ำลงและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดักตะกอนเกิดทับถมบริเวณชายฝั่งเกิดเป็นแผ่นดินงอกขึ้นและช่วยลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
The purposes of this study were to determine an increase of mangrove forest area and quality of soil that affected the increase of mangrove forest area at the front of the King’s Royally Initiated Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project, Laem Phak Bia Sub-district, Ban Laem District, Petchaburi Province. Research area was divided into 2 sites: the mangrove forest site at the front of the King’s Royally Initiated LERD and the reference site. Setting plan size 10×10 metre was perpendicular with river blank at the deepest inside of mangrove forest area. The results werethat mangrove forest increased every year, average 3.5 hectare/year. Dominant species is Avicennia marina, it grows massively and average density are 4,003 trees/hectare. Regarding the effects of soil quality on density and growth of Avicennia marina, the density of Avicennia marina highly significantly and positively correlated with available phosphorus (r = 1.000, p<0.01) and salinity(r =1.000; p <0.05). Diameter at breast height of Avicennia marina had significantly positive correlation with sand (r =0.997; p <0.05) and silt (r =0.998; p <0.05) whereas negatively correlated with clay (r =-1.000; p <0.05). The study in the reference area revealed that the density of Avicennia marina significantly and positively responded to organic matter (r =0.999; p <0.05) and exchangeable potassium (r =1.000; p <0.05). The research has been shown that the increase of mangrove forest area at Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project depended on physiological factors and chemical factors of soil. The increase of mangrove forest area is beneficial to recovery of ecosystem and coastal environment because of reducing stream velocity and increasing trap sedimentation which piles up around coastal area resulting in the increase of land and the decrease of coastal erosion severity.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2015 Naresuan University Journal: Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.