การศึกษา “การใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้ประโยชน์สูงสุด” โรงพยาบาลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

The Study of the Most Effective Way to Use Electric Power of Thapla Hospital Amphur Thapla Uttaradit Province

Authors

  • Wisanu Meka Uttaradit Public Health Officer, Ampur Lablae, Uttaradit Province 53130

Keywords:

พลังงานไฟฟ้า, มาตรการ, ประโยชน์สูงสุด, Electric energy, Measure, Effective Energy Efficiency

Abstract

        การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าปลาต่อการประกาศใช้มาตรการ “การใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้ประโยชน์สูงสุด” และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การใช้พลังงานไฟฟ้าหลังจากการประกาศใช้มาตรการดังกล่าว โดยเปรียบเทียบข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า ปี พ.ศ. 2556 กับ ปี พ.ศ. 2557 สำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ จำนวน 83 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การใช้พลังงานไฟฟ้าโดยหาผลต่างของการใช้ไฟฟ้า ปี พ.ศ. 2556 กับ ปี พ.ศ. 2557 และใช้สถิติ paired t-test กำหนดระดับนัยความสำคัญ เท่ากับ 0.05

        ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าปลาส่วนใหญ่ดำเนินการตามนโยบายของโรงพยาบาลท่าปลาในเรื่อง “การใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้ประโยชน์สูงสุด” มีความคิดเห็นต่อมาตรการ“การใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้ประโยชน์สูงสุด” ภาพรวมในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการประกาศใช้มาตรการ “การใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้ประโยชน์สูงสุด” ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและอัตราค่ากระแสไฟฟ้า ปี พ.ศ. 2556 และ 2557 พบว่า ปี พ.ศ. 2557 ต่ำกว่า ปี พ.ศ. 2556 ผลการทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าและอัตราค่ากระแสไฟฟ้าในปี 2557 แตกต่างจากปี 2556 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  

        ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถใช้กำหนดเป็นนโยบายการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของโรงพยาบาลในจังหวัดอุตรดิตถ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการประหยัดพลังงานไฟฟ้าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลได้ส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญทุกคนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการดำเนินตามมาตรการ จึงจะทำให้“การใช้พลังงานไฟฟ้าได้ประโยชน์สูงสุด” 

        The objectives of this study were to find the opinions and satisfaction of Thapla hospital’s staffs on the announcement of electric power saving measure “The Most Effective way to use Electric Power”, and to find the results of electric power savings after implementing this measure. The results of this study were analyzed by using electric power consuming data in A.D. 2013 compared with electric power consuming data in A.D. 2014. Moreover, the opinions and satisfaction of Thapla hospital’s staffs on the announcement of electric power savings measure “The Most Effective way to use Electric Power" were done by questioning of 83 staffs. The results were analyzed by using paired t-test statistical method (significant level 0.05) and compared electric power consuming data between 2013 and 2014. 

        The results of this study showed that almost all of the staffs in Thapla hospital have complied with the announcement of electric power saving measure, with high level of satisfaction. In parts of electric power consumption compared between 2013 and 2014 the results showed that both electric power consuming data and electricity costs in 2014 was lower than 2013.

         In conclusion, the results of this study can be specified as an effective electric power saving policy for community hospital in Uttaradit province. The advantages of this electric power saving measures  are not only reduce cost of electric power consumption but also cultivate an appropriate behaviors of all staffs to be united in action and spirit to achieve on the announcement of electric power saving measure “The Most Effective way to use Electric Power”. 

Downloads

Published

2015-08-17

Issue

Section

Research Articles