สภาวะการสกัดต่อสมบัติสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบบัวหลวง
Extraction Conditions on Properties of Bioactive Compounds of Lotus Leaves Extract (Nelumbo nucifera Gaertn.)
Keywords:
ใบบัว, ฟีนอลิก, ฟลาโวนอยด์, กาบา, สมบัติการต้านอนุมูลอิสระ, lotus leaves, phenolic, flavonoid, GABA, antioxidant capacityAbstract
ใบบัวหลวงเป็นแหล่งของสารประกอบที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการสกัดต่อสมบัติสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบบัวหลวงพันธุ์แหลมชมพูอบแห้งโดยใช้ลมร้อน โดยศึกษาอิทธิพลของชนิดตัวทาละลาย อัตราส่วนของใบบัวและตัวทาละลาย ต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด สารกาบา และสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบบัวที่ได้ ตัวทาละลายที่ศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ น้า เอทานอล และเมทานอล โดยศึกษาความเข้มข้นของเอทานอล และเมทานอล ที่ 3 ระดับ คือ 60 80 และ 100% (v/v) ศึกษาอัตราส่วนของใบบัวและตัวทาละลาย 4 ระดับ ได้แก่ 1:100 1:150 1:200 และ 1:250 (g/ml) จากการทดลองพบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดในสารสกัดใบบัวที่ได้จากการสกัดด้วยเอทานอล 60% 80% และเมทานอล 80% ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ (P0.05) แต่สารสกัดใบบัวที่ได้จากการสกัดด้วยเอทานอล 80% มีสารกาบา และค่า vitamin C equivalent antioxidant capacity สูงที่สุด จึงเลือกมาศึกษาอัตราส่วนของใบบัวและตัวทาละลาย พบว่าการสกัดที่อัตราส่วน 1:200 g/ml จะได้สารสกัดที่มีค่า vitamin C equivalent antioxidant capacity และปริมาณสารกาบามากที่สุด ดังนั้นชนิดของตัวทาละลายและอัตราส่วนที่เหมาะสมในการสกัดคือ สกัดด้วยเอทานอล 80% ที่อัตราส่วน 1:200 g/ml
Nelumbo nucifera Gaertn. leaf is a source of bioactive compounds. This research aimed to study the extraction conditions on properties of bioactive compounds of East Indian lotus leaves extract. The lotus leaves were dried in hot air oven. Effect of solvents, ratio of lotus leaves and solvent on total phenolic compounds, total flavonoid content, GABA content and antioxidant capacity of the lotus leaves extract were investigated. The 3 solvents, water, ethanol and methanol were used. The concentration of ethanol and methanol were varied at 60, 80 and 100% (v/v). The ratios of lotus leaves and solvent were varied at 1:100, 1:150, 1:200 and 1:250 (g/ml). It was found that the total phenolic compounds of the lotus leaves extract using 60%, 80% ethanol and 80% methanol were not significantly different (P0.05). But the lotus leaves extract using 80% ethanol had highest GABA content and vitamin C equivalent antioxidant capacity. Therefore, the 80% ethanol was used to study the effect of ratio of lotus leaves and solvent further. It was found that the lotus leaves extract using the ratio at 1:200 (g/ml) had highest vitamin C equivalent antioxidant capacity and GABA content. The optimized extraction of lotus leaves was using 80% ethanol at the ratio 1:200 (g/ml).
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2015 Naresuan University Journal: Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.