ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาจากเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 6 แห่งในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

Prevalence and Risk Factors Associated with Diabetic Retinopathy in Type-2 Diabetes Mellitus at Six Tambon Health Promoting Hospitals Affiliated with Naresuan University Hospital

Authors

  • Nattapong Mekhasingharak Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand 65000
  • Sirinan Treeyawadkul Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand 65000
  • Jeerawat Sawatdiwithayayong Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand 65000
  • Ying Supattanawong Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand 65000
  • Chatmongkol Phruancharoen Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand 65000
  • Panotsom Ngowyutagon Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand 65000
  • Oranicha Pimpha Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand 65000
  • Rossukon Khotcharrat Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand 65000

Keywords:

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, หน่วยปฐมภูมิ, มหาวิทยาลัยนเรศวร, diabetic retinopathy, Tambon Health Promoting Hospital (THPH), primary care unit, Naresuan University

Abstract

        ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาเป็นสาเหตุสำคัญของตาบอดในประชากรวัยทำงานทั่วโลก ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะนี้มักไม่สังเกตว่ามีอาการผิดปกติใดๆ จนกระทั่งมีความผิดปกติในตามากแล้ว การตรวจคัดกรองและรักษาอย่างทันเวลาสามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อยู่ในชุมชนใกล้โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภูมิลำเนาในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 6 แห่ง ในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรจำนวนทั้งสิ้น 650 คนเข้าร่วมในการศึกษานี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการสัมภาษณ์และตรวจคัดกรองหาภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ในชุมชนของผู้ป่วยเอง ข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ระดับคอเลสเตอรอล การมีแผลที่เท้า และภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะได้ถูกรวบรวมจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย การวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาทำโดยจักษุแพทย์โดยการขยายรูม่านตาและใช้เครื่อง indirect ophthalmoscope ในการตรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ Pearson Chi-Square และ Fisher exact ผลการศึกษาพบภาวะเบาหวานขึ้นจอตาร้อยละ 7.4 โดยเป็นเบาหวานขึ้นจอตาระยะที่มีหลอดเลือดงอกผิดปกติร้อยละ 0.8 และพบว่าภาวะเบาหวานขึ้นจอตามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีระดับฮีโมโกลบินเอวันซีมากกว่าร้อยละ 8 การมีแผลที่เท้าและการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ โดยพบเบาหวานขึ้นจอตาร้อยละ 11, 22.2 และ 14.4 ของผู้ป่วยที่มีภาวะดังกล่าวตามลำดับ 

        Diabetic retinopathy is the leading cause of new-onset blindness in working-aged adults. Symptoms associated with diabetic retinopathy do not normally present until the condition has progressed to an advanced stage. In order to prevent irreversible vision loss as a result of this disorder, early diagnosis and appropriate treatment are essential. The objective of this cross-sectional study was to investigate the prevalence and risk factors associated with diabetic retinopathy in type-2 diabetes mellitus in communities located near a regional tertiary hospital in central Thailand. A total of 650 type-2 diabetes mellitus patients from 6 tambons (sub-districts) under the regional oversight of Naresuan University Hospital in Phitsanulok Province, Thailand were enrolled in this study during February to March 2015. Patients were interviewed and clinically evaluated at the Tambon Health Promoting Hospital located in their respective local communities. Patient data from medical records, including demographic data, underlying diseases, duration of diabetes, HbA1C levels, cholesterol levels, and diabetes-related complications were retrospectively reviewed. Diagnosis and severity of diabetic retinopathy were determined by ophthalmologists using indirect ophthalmoscope with pupillary dilation. Pearson Chi-square and Fisher exact tests were used for analysis. Overall prevalence of diabetic retinopathy and proliferative diabetic retinopathy was 7.4% and 0.8%, respectively. Prevalence of diabetic retinopathy was significantly higher among patients with HbA1C levels above 8% (11%), foot ulcer (22.2%) and/or proteinuria (14.4%).

Downloads

Published

2016-01-06

Issue

Section

Research Articles