ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
Effectiveness of Safety Training Program in Pesticides Utilization of Farmer in Donchedi District, Suphanburi Province
Keywords:
ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรม, โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัย, การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, effectiveness of training program, safety training program,, pesticides utilizationAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนาในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยเพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของชาวนาระหว่างก่อนและหลังการให้โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มทดลอง และ 2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของชาวนาระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับกลุ่มควบคุม โดยเก็บข้อมูลจากชาวนาของอำเภอดอนเจดีย์จำนวน 35 คนซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง และชาวนาของอำเภอไร่รถจำนวน 35 คนซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โปรแกรมฝึกอบรมนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ อันตรายและผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฉลากและการจัดเก็บสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การกำจัดภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีการสอนแบบการบรรยาย การประชุมกลุ่ม การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ สำหรับแบบทดสอบความรู้ และแบบสอบถามทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงจากผู้เชี่ยวชาญและใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Paired Sample t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ก่อนการให้โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ชาวนาในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเท่ากับ 5.60, 2.13, 2.17 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.95, 0.19, 0.19 ตามลำดับ และหลังการให้โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 7.94, 2.79, 2.76 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.24, 0.08, 0.05 ตามลำดับ และชาวนากลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังการให้โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงกว่าก่อนการให้โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.05) และ 2) ภายหลังการให้โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ชาวนากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเท่ากับ 7.94, 2.79, 2.76 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.24, 0.08, 0.05 ตามลำดับ ขณะที่ชาวนากลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 5.60, 2.16, 2.17ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77, 0.18, 0.15ตามลำดับ และภายหลังการให้โปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ชาวนาในกลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงกว่าชาวนาในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.05) อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับโปรแกรมฝึกอบรม ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ชาวนาในกลุ่มทดลองบางส่วนยังมีความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับการสวมใส่รองเท้าบู๊ทและถุงมือในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นจึงควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้จากโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในเรื่องดังกล่าวด้วย
The main objective of this quasi experimental research was to study effectiveness of safety training program in pesticides utilization of farmer in donchedi district, suphanburi province and the sub objectives were to 1) compare knowledge, attitude and practice of farmer before and after providing safety training program in pesticides utilization in experimental group, and 2) compare knowledge, attitude and practice of farmer experimental group who received safety training program in pesticides utilization and controlled group. The data were collected from 35 farmers in Donchedi District as the experimental group and 35 farmers in Rairot District as the controlled group. Research tools consisted of safety training program in pesticides utilization, knowledge examination form and attitude and practices questionnaire about safety in pesticides utilization. The content of training program consisted of utilization, hazard and impact of pesticides, label and storage of pesticides, disposal of pesticide packaging and preventive methods of pesticides. The training program employed lecture, group discussion, demonstration and practice. The validity of knowledge examination form and attitude and practices questionnaire about safety in pesticides utilization were verified by the experts and were used as the tools for data collection. The data were analyzed through mean, standard deviation, paired sample t-test and independent t-test. The study found that: 1) Before providing safety training program, the mean of knowledge, attitude and practice about safety in pesticides utilization of the farmers in experimental group were 5.60, 2.13, 2.17, respectively, and the standard deviation were 0.95, 0.19, 0.19, respectively, while after providing safety training program, the mean were 7.94, 2.79, 2.76 respectively, and the standard deviation were 1.24, 0.08, 0.05, respectively. The mean of knowledge, attitude and practice concerning safety in pesticides utilization of the farmers in experimental group after providing safety training program were significantly higher than before providing safety training program (p= 0.05), and 2) After providing safety training program, the mean of knowledge, attitude and practice about safety in pesticides utilization of the farmer in experimental group were 7.94, 2.79, 2.76, respectively, and the standard deviation were 1.24, 0.08, 0.05, respectively while the mean of the farmer in controlled group were 5.60, 2.16, 2.17, respectively, and the standard deviation were 0.77, 0.18, 0.15, respectively. After providing safety training program, the mean of knowledge, attitude and practice about safety in pesticides utilization of the farmers in experimental group were significantly higher than those of controlled group (p= 0.05). However after providing safety training program, some farmers in experimental group still had improper knowledge and practice especially about waring boots and gloves in pesticides utilization. Thus, factors affecting learning of safety training program in pesticides utilization should be studies further.
References
กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ม.ป.ป.). การใช้สารเคมีปี 2551-2555. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=146 [1]
กลุ่มสถิติการเกษตร สำนักงานสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2556). รายงานผลเบื้องต้น สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก. [2]
การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพในกลุ่มเกษตรกร (คลินิกสุขภาพเกษตรกร). (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก http://203.157.41.107/estimates_new/upload/2557/560801_limit_57/HL3/HL301-302.doc [3]
นิรินธน์ ประเสริฐสังข์. (2555). สถานการณ์การใช้สารเคมีเกษตรในพื้นที่. สืบค้นจาก http://www.thaipan.org/sites/default/files/conference2555/conference2555_0_08.pdf [4]
ปรีชา เปรมปรี. (2558). สถานการณ์ โรคและภัยสุขภาพในกลุ่มเกษตรกร ในการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประจำปี 2558 “ฝ่าวิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืช: สถานการณ์และแนวทางการจัดการตลอดห่วงโซ่”. กรุงเทพฯ: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. [5]
สอาด มุ่งสิน. (2556). แนวคิดและทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย. สืบค้นจาก http://www.bcnsp.ac.th/2011/admin/att/05-07-2013aorsaard_course.doc [6]
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (ม.ป.ป.). บทที่ 7. สืบค้นจาก http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/pro-5_Chapter7(1).doc [7]
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2551). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2550. สืบค้นจาก http://www.boe.moph.go.th/Annual/ANNUAL2550/Part1/5350_PesticidePoisoning.doc[8]
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. [9]
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นจาก http://www.suphan.go.th/content-10-422.html [10]
วิชชาดา สิมลา, และตั้ม บุญรอด. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(2), 103-113. [11]
จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ , เพลินพิศ จับกลาง, สุวิมล บุญเกิด, และอัญชลี อาบสุวรรณ์. (2557). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านห้วยสามขา ตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(5), 429-434. สืบค้นจาก http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1894 [12]
Translated Thai References
Agricultural Statistics Groups, Social Statistical Bureau, National Statistical Office, Ministry of Information and Communication Technology. (2013). Preliminary Report 2013 Agricultural Census. Bangkok: Bangkok Block. [in Thai] [2]
Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2014). Annual Epidemiological Surveillance Report 2013. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Printing. [in Thai] [9]
Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2008). Annual Epidemiological Surveillance Report 2007. Retrieved from http://www.boe.moph.go.th/Annual/ANNUAL2550/Part1/5350_PesticidePoisoning.Doc [in Thai] [8]
Department of Agriculture, Office of Agriculture Economics, Ministry of Agriculture and Cooperative. (no date). Chemicals Utilization in 2008-2012. Retrieved from http://www.oae.go.th/ewt_newsphp?nid=146 [in Thai] [1]
Health Information System Development Office. (no date). Chapter 7. Retrieved from http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/pro-5_Chapter(1). doc [in Thai] [7]
Mungsin, S. (2013). Concepts and Theories of Health Promotion and Illness Prevention. Retrieved from http://www.bcnsp.ac.th/2011/admin/att/05 -07-2013aorsaard_course.doc [in Thai] [6]
Prasertsung, N. (2012). Chemicals Utilization Situation in area Retrieved from http://www.thaipan.org/sites/default/files/conference2555/conference2555_0_08.pdf [in Thai] [4]
Prempree, P. (2015). The Diseases and Health Hazards Among Farmers in The Conference to Alarm Pesticides Annually 2015 “The Pesticide Crisis: Situation and Management Practices Throughout The Chain”. Bangkok: Bureau of Occupational and Environmental Disease. [in Thai] [5]
Simla, W., & Boonrod, T. (2012). The Factors Related to Pesticide Preventive Behaviors of Agricultural Workers at Laem Tanot Sub-district, Khuankhanun District, Phatthalung Province. Journal of Public Health, 42(2), 103-113. [in Thai] [11]
Suphanburi Provincial Administration Organisation. (no date). Fundamental Data. Retrieved from http://www.suphan.go.th/content-10-422.html [in Thai] [10]
Surveillance, Prevention and Control of Occupational Health Hazards Among Farmers (Farmers Health Clinic). (no date). Retrieved from จาก http://203.157.41.107/estimates_new/upload/2557/560801_limit_57/HL3/HL301-302.doc [in Thai] [3]
Tritipsombut, J., Gabklang, P., Boonkerd, S., & Oapsuwan, A. (2014). The Study of Knowledge, Attitudes and Pesticide Usage Behaviors among the Agricultural Workers at Huay Sam Kha Village, Tub Ruang Sub-district, Phra Thong Kum District, Nakhon Ratchasima Province. Srinagarin Medical Journal, 29(5), 429-434. Retrieved from http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1894 [in Thai] [12]
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2016 Naresuan University Journal: Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.