การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนกับภาคบริการทางการแพทย์เพื่อลดความสูญเปล่า ของระบบกรณีศึกษา แผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลต
Implementation of Lean Concept in Healthcare Service Sector for Reducing Waste System: A Case Study of Radiotherapy Department Tertiary Hospital
Keywords:
แนวคิดลีน, ความสูญเปล่า, โรงพยาบาลตติยภูมิ, Lean Concept, Waste, Tertiary HospitalAbstract
บทความวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้แนวคิดลีนกับภาคบริการทางการแพทย์ เพื่อลดความสูญเปล่าของระบบ กรณีศึกษา แผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลตติยภูมิ เนื่องจากปัญหาการรอเข้ารับบริการทางการแพทย์มีระยะเวลานาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการปฏิบัติงานของภาคบริการทางการแพทย์ในแผนกรังสีรักษา เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบลีนกับภาคบริการทางการแพทย์ในแผนกรังสีรักษา และเพื่อศึกษาการลดความสูญเปล่าทั้งระบบของภาคบริการทางการแพทย์ในแผนกรังสีรักษา วิธีการศึกษาประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเครื่องมือของลีนมาวิเคราะห์ข้อมูล และออกแบบเพื่อแก้ปัญหาการลดความสูญเปล่าทั้งระบบ
ผลการศึกษาพบว่าการให้บริการทางการแพทย์ของแผนกรังสีรักษา มีกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน เมื่อได้ประยุกต์ใช้ระบบลีนเพื่อนำมาวิเคราะห์หาความสูญเปล่า พบว่าความสูญเปล่าเกิดขึ้นจากการรอคอยที่ไม่เกิดคุณค่า และการใช้พื้นที่ให้บริการของแผนกไม่เต็มประสิทธิภาพ หลังจากนั้นได้นำเครื่องมือลีนมาออกแบบการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับระบบการให้บริการทางการแพทย์ พบว่าสามารถลดขั้นตอนและเวลาการให้บริการทางการแพทย์ทั้ง 2 ประเภท คือ 1) ผู้ป่วยเก่า/ผู้ป่วยนัด จาก 3 ขั้นตอน เหลือ 2 ขั้นตอน เดิมใช้เวลา 310 นาที ลดเหลือ 190 นาที 2) ผู้ป่วยใหม่/ไม่ตรงนัด จาก 8 ขั้นตอน เหลือ 6 ขั้นตอน เดิมใช้เวลา 770 นาที ลดเหลือ 530 นาที อีกทั้งยังสามารถให้บริการคนไข้ได้เพิ่มขึ้นจาก 24 คน เป็น 50 คนต่อวัน ส่งผลให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพภาคบริการทางการแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น
This paper proposes Applying Lean Systems in Radiotherapy Department for Reducing Waste Systems Tertiary Hospital. Due to long waiting problem in receiving healthcare service, the objectives were to study the performance of the Radiotherapy Department in healthcare services and implementation of a lean system with reduces the process waste. The study consisted of data collection, lean tools used for data analyze and applying solution designed for reducing waste throughout the system.
The study found that the Radiotherapy Department healthcare services had the complex processes and took long time. By analyzing the processes and identifying wastes, it found that wastes incurred by unnecessary waiting and inefficient uses of department service areas. After applying lean tools designed for resolving the problems and redesigning the healthcare service processes, it was found that the Radiotherapy Department could reduce the processing and times in two categories: 1) For current patients/appointment patients processes, reducing process steps from 3 steps to 1 step and reducing from 310 minutes to 190 minutes, 2) For new patients/missing appointment patients processes, reducing process steps from 8 steps to 6 steps and reducing time from 770 minutes to 530 minutes. It also increased outpatient services from 24 people to 50 people per day, which led to increased efficiency in the Healthcare Service.
References
ขวัญชนก อารีย์วงศ์. (2553). การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการให้บริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยใช้วิธี Lean Production. สืบค้นจาก http://www.bec.nu.ac.th/bec-web/graduate/Article/MBA-53.pdf [1]
ธนิตา ฉิมวงษ์, จิราพร นิลสุ, และนภาพร วาณิชย์กุล.
(2557). การประยุกต์ใช้หลักการของลีนเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลระยอง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), 121-135. [2]
ประดิษฐ์ วงศ์มณีรุ่ง, สมเจตน์ เพิ่มพูนธัญญะ, พรเทพ เหลือทรัพย์สุข, และนภดล อิ่มเอม. (2552). 1-2-3 ก้าวสู่ลีน LEAN IN ACTION. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี. [3]
วิทยา สุหฤทดำรง (2556). LEAN HOSPITALS ปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัยผู้ป่วยและความพึงพอใจของพนักงาน. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์. [4]
วิทยา สุหฤทดำรง และยุพา กลอนกลาง (2550). LEAN LOGISTICS ลอจิสติกส์แบบลีน. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์. [5]
วิทยา สุหฤทดำรง และยุพา กลอนกลาง (2550). แนวคิดแบบลีน : LEAN THINKING. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์. [6]
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (2552). ลีนอย่างไรสร้างกำไรให้องค์กร. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี. [7]
วัชนาภา ชาติมนตรี และบุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร (2556). การใช้แนวคิดลีนในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 25(1), 53-64. [8]
Balle, M. (2007). LEAN AS A LEARNING SYSTEM IN A HOSPITAL WARD. Paris, FRANCE: Emerald Group Publishing Limited.
Graban, M. (2008). LEAN HOSPITALS. New York, USA: CRC Press Taylor & Francis Group.
James, R. E., & William, M. Lindsay., (2005). AN INTRODUCTION TO SIXSIGMA & PROCESS IMPROVEMENT. South-Western, USA: Part of the Thomson Corp.
Translated Thai References
Areewong, K. (2010). The optimization of the system of outpatient pharmacy services. Naresuan
University Hospital using Lean Production. Retrieved from http://www.bec.nu.ac.th/bec-web/graduate /Article/MBA-53.pdf [in Thai] [1]
Chartmontree, W., & Srisatidnarakul, B. (2013). Lean Concept Utilization in Nursing Service Quality
Improvement: A Case Study of a Tertiary Hospital. Journal of Nursing, 25, 53-64. [in Thai] [8]
Chimwong, T., Nilsu, J., & Wanitkun, N. (2014). Applying the LEAN Concept for Quality Improvement in the Diabetic Clinic of Rayong Hospital. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 24, 121-135. [in Thai] [2]
Lakkhanaadisorn, W. (2009). PROFITABLE LEAN MANUFACTURING. Bangkok: TPA PUBLISHUNG. [in Thai] [7]
Suharitdamrong, V. (2013). LEAN HOSPITALS: Improving Quality, Patient Safety, and Employee Satisfaction. Bangkok: E.I. SQUARE PUBLISHUNG. [in Thai] [4]
Suharitdamrong, V. & Klonklang, Y. (2007). LEAN LOGISTICS. Bangkok: E.I. SQUARE PUBLISHUNG. [in Thai] [5]
Suharitdamrong, V. & Klonklang, Y. (2007). LEAN THINKING. Bangkok: E.I. SQUARE PUBLISHUNG. [in Thai] [6]
Wongmaneerung, P., Permpoontanya, S., Lhuethubsuk, P., & Aimaem, N. (2009). LEAN in Action. Bangkok: TPA PUBLISHUNG. [in Thai] [3]
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2016 Naresuan University Journal: Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.