สื่อจำลองภาพเคลื่อนไหวของการตรวจเอกซเรย์เต้านมในท่ามาตรฐาน
Animation Model of Mammographic Examination in Routine Views
Keywords:
สื่อจำลองภาพเคลื่อนไหว, การตรวจเอกซเรย์เต้านม, ในท่ามาตรฐาน, Animation model, Mammographic examination, in Routine ViewsAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสื่อจำลองภาพเคลื่อนไหวของการตรวจเอกซเรย์เต้านม ประเมินความรู้ในขั้นตอนการตรวจเอกซเรย์เต้านม และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อสื่อจำลองภาพเคลื่อนไหว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ สื่อจำลองภาพเคลื่อนไหวของการตรวจเอกซเรย์เต้านม กลุ่มทดลองใช้ จำนวน 30 คน รวมทั้งแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ในขั้นตอนการตรวจ และแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 100 คน ในขั้นตอนการสร้างสื่อเริ่มจาก ก่อนการจัดทำสื่อทำการประเมินความถูกต้องด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ จำนวน 3 คน ภายหลังการสร้างสื่อแล้วเสร็จ ทำการทดสอบกับกลุ่มทดลองใช้ จำนวน 30 คน และประเมินด้านกราฟิกและการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน จากนั้นปรับปรุงแก้ไข และประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อสื่อจำลองภาพเคลื่อนไหวของการตรวจเอกซเรย์เต้านม รวมทั้งทดสอบวัดความรู้ในขั้นตอนการตรวจก่อน-หลังการรับชมสื่อ ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพฯ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิง จำนวน 100 คน อายุเฉลี่ย 55.7±9.1 ปี (ช่วงอายุ 36-81 ปี) ไม่เคยตรวจเอกซเรย์เต้านม จำนวน 26 คน เคยตรวจเอกซเรย์เต้านม 1 ครั้ง จำนวน 21 คน และเคยตรวจเอกซเรย์เต้านมตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป จำนวน 53 คน หลังการรับชมสื่อกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 61.5 (ค่าดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ .615) และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อจำลองภาพเคลื่อนไหวของการตรวจเอกซเรย์เต้านมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.49±0.57 โดยสรุป กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อจำลองภาพเคลื่อนไหวของการตรวจเอกซเรย์เต้านมในระดับมาก โดยที่สื่อจำลองภาพเคลื่อนไหวของการตรวจเอกซเรย์เต้านมสามารถช่วยทำให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงขั้นตอนการตรวจเอกซเรย์เต้านม โดยเฉพาะการจัดท่ามาตรฐาน ทั้งนี้ การให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจเอกซเรย์เต้านม น่าจะเป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างความรู้ และช่วยลดความวิตกกังวลก่อนเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม
The aims of this study were to create an animation model of mammographic examination, evaluate the mammographic procedure and study the satisfaction of the animation model. The animation model and 30 Try Out subjects, including pre-post examinations and satisfaction form were applied for the animation model of 100 randomly sampling female. Before creating this model, the evaluation of accurate context obtained from 3 professionals was considered. Then evaluation form of satisfaction for the animation model was tested by 30 Try Out subjects. Evaluation of satisfaction in the graphic design obtained by 3 experts was performed. Finally, 100 subjects tested the pre-post exams and also evaluated the satisfaction of the animation model at Thammasat University Hospital, Bangkok. The results showed that an average age of 100 women was 55.7±9.1 years (range 36-81 years). Twenty six subjects did not get the mammographic examination, 21 subjects got once, and 53 subjects got more than 2 times. After watching the animation model, subjects have acquired this knowledge up to 61.5% (effectiveness index was .615). In addition, subjects had the satisfaction of the animation model in good level, average of 4.49±0.57. In conclusion, subjects had the satisfaction of the animation model in good level. The animation model of mammographic examination would help subjects to know the mammographic examination procedures, especially in the routine views. Therefore, educational session of mammographic examination should provide knowledge and reduce anxiety before the mammographic examination procedure.
References
Borugian, M. J., Kan, L., Barbara Poole, M. P. A., Xu, C. L., Germain, L. S., & BEng, K. A. G. (2009). The top issues patients mention when family physicians recommend screening mammography. BC Medical Journal, 51(10), 436-439.
Bureau of Non Communicable Disease, Ministry of Public Health. (2016). Statistics of Noncommunicable Disease (July 2016). Retrieved from http://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php.
Kidrakam, P., & Pattiyatane, S. (2002). Effectiveness Index. Educational Measurement Mahasarakham University, 8, 30-36.
Lee, J., Hardesty, L. A., Kunzler, N. M., & Rosenkrantz, A. B. (2016). Direct interactive public education by breast radiologists about screening mammography: impact on anxiety and empowerment. Journal of the American College of Radiology, 13(11), R89-R97.
Stomper, P. C., Kopans, D. B., Sadowsky, N. L., Sonnenfeld, M. R., Swann, C. A., Gelman, R. S., ... Allen, P. D. (1988). Is mammography painful?: A multicenter patient survey. Archives of internal medicine, 148(3), 521-524.
Therapeutic Radiation and Oncology, King Chulalongkorn Memorial Hospital. (2015). Statistics of New Patient Radiotherapeutic Cancer (July 2016). Retrieved from http://www.chulacancer.net/service-statistics-inner.php?id=580.
Van Goethem, M., Mortelmans, D., Bruyninckx, E., Verslegers, I., Biltjes, I., Van Hove, E., & De Schepper, A. (2003). Influence of the radiographer on the pain felt during mammography. European radiology, 13(10), 2384-2389.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright (c) 2017 Naresuan University Journal: Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.