วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci <p>เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และในด้านวิทยาศาสตร์ได้แก่ สาขาวิชา คณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการสารสนเทศ หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> มหาวิทยาลัยธนบุรี (Thonburi University) th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี 2730-3837 วิยุตเชิงเส้นและสังวัตนาการเชิงการจัด https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/3213 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้ได้นำเสนอวิยุตเชิงเส้นและสังวัตนาการเชิงการจัด โดยมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายผลบวกของอนุกรมเลขคณิต-เรขาคณิตที่วางนัยทั่วไป ที่สอดคล้องตามความสัมพันธ์เวียนเกิดเชิงเส้นและสังวัตนาการเชิงการจัด สรุปได้ดังนี้</p> <p>ผลบวกของอนุกรมเลขคณิต-เรขาคณิตที่วางนัยทั่วไป กำหนดโดยสูตร</p> <p><img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?%20S_{n}(z)=\sum_{j=1}^{n}j^{n}z^{j},z\in%20C,\left|z\right|%3C1,n=0,1,2,.." alt="equation"> และ &nbsp; &nbsp; <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?%20S_{0}(z)=\frac{z}{1-z}" alt="equation"></p> <p>ซึ่งสอดคล้องตามความสัมพันธ์เวียนเกิดและสังวัตนาการเชิงการจัด ดังนี้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?%20S_{n+1}(z)=S_{n}(z)+\sum_{k=0}^{n}\left(\begin{matrix}n\\k\end{matrix}\right)S_{k}(z)S_{n-k}(z),n=0,1,2,..." alt="equation">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</p> <p>และ&nbsp; <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?S_{n}\left(z\right)=\frac{z}{1-z}\left[1+\sum_{k=0}^{n-1}\begin{pmatrix}n\\k\end{pmatrix}S_{k}\left(z\right)\right],n=1,2,..." alt="equation"></p> กำจร มุณีแก้ว ซิธิมาโวร์ บุญมา Copyright (c) 2024 กำจร มุณีแก้ว, Zithimawor Bunma https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-26 2024-12-26 8 2 1 11 ON THE DIOPHANTINE EQUATION 9^x+9^y+n^z=w^2 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/3225 <p>In this work, we give some conditions for the non-existence of solutions of the Diophantine equation&nbsp; <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?%209^{x}+9^{y}+n^{z}=w^{2}" alt="equation">, where<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?n" alt="equation"> &nbsp;is a positive integer and <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?x,y,z,w" alt="equation"> are non-negative integers. Moreover, we find all solutions of this equation for some positive integer <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?n" alt="equation">.</p> อภิรัฐ ศิระวรกุล สุธน ตาดี Copyright (c) 2024 อภิรัฐ ศิระวรกุล, สุธน ตาดี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-26 2024-12-26 8 2 12 17 การลดเวลาในกระบวนการเปลี่ยนรุ่นการผลิตชิ้นงานโมเดล A กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/3159 <p>งานวิจัยฉบับนี้วัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาในกระบวนการเปลี่ยนรุ่นการผลิตชิ้นงานโมเดล A โดยโมเดล A คือ ตัวพื้นรถยนต์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรถยนต์ เป็นชิ้นงานที่มีความหลากหลายมากที่สุด มีด้วยกันถึง 9 รุ่น เป็นกระบวนการผลิตที่มีเวลาในการเปลี่ยนรุ่นการผลิตที่ใช้เวลานานและไม่มีอุปกรณ์ช่วยในการเปลี่ยนรุ่นการผลิต โดยในแต่ละรุ่นจะมีลักษณะคล้ายกันโดยจะมีเพียงการเจาะรูที่ต่างกัน ซึ่งในกระบวนการผลิตต้องเปลี่ยนรุ่นการผลิต พนักงานจะเข้าไปเปลี่ยนรุ่นการผลิตในแม่พิมพ์ของเครื่องปั๊มชิ้นงานเครื่องที่ 3 และ เครื่องที่ 4 โดยใช้เวลา 230 วินาที คิดเป็น 3.83 นาที มีระยะทางทั้งหมด 73 เมตรผู้วิจัยจึงทำการปรับปรุงโดย โดยนำทฤษฎี ECRS 7waste มาปรับปรุงกระบวนวิธีที่ 1 โดยการเพิ่มพนักงานและเปลี่ยนเส้นทางการเดินในการเปลี่ยนรุ่นการผลิต และนำโปรแกรม PLC เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการ วิธีที่ 2 โดยการเปลี่ยนรุ่นการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติ</p> <p> ผลดำเนินการหลังการปรับปรุงวิธีที่ 1 จากการเพิ่มพนักงานและเปลี่ยนเส้นทางการเดินในการเปลี่ยนรุ่นการผลิต ใช้เวลาทั้งหมด 200 วินาที มีระยะทางทั้งหมด 53 เมตร เวลาลดลงจากเดิม 30 วินาที คิดเป็นร้อยละ 13.04 และ ระยะทางลดลง 20 เมตร คิดเป็นร้อยละ 27.4 และ วิธีที่ 2 การเปลี่ยนรุ่นการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติ ใช้เวลาทั้งหมด 145 วินาที มีระยะทาง 3 เมตร เวลาลดลงจากเดิม 85 วินาที คิดเป็นร้อยละ 36.96 และ ระยะทางลดลง 70 เมตร คิดเป็นร้อยละ 95.89</p> จุฑาทิพย์ ลีลาธนาพิพัฒน์ ศิลา วงศ์สุนทรพจน์ อภิชาติ ชัยชวลิต Copyright (c) 2024 jutathip leelathanapipat, ศิลา วงศ์สุนทรพจน์, อภิชาติ ชัยชวลิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-26 2024-12-26 8 2 18 28 การใช้พลังงานไฟฟ้าแบบผสมของรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 สำหรับการแข่งขัน BWSC-2023 รุ่น CRUISER CLASS https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/2497 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าแบบผสมของรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 ขนาด 4 ที่นั่ง สำหรับการแข่งขัน Bridgestone World Solar Challenge 2023 รุ่น Cruiser Class โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าร่วมกับแบตเตอรี่และทดสอบการใช้พลังงานในสภาวะการใช้งานจริง ซึ่งตัวถังทำด้วยไฟเบอร์กลาส น้ำหนักรถ 2,010 kg และน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเท่ากับ 2,330 kg ที่ระยะทางแข่งขันที่สามารถชาร์จประจุแบตเตอรี่ได้ 1,000 km ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่านชนิดฮับขนาด 12 kW ที่แรงดันไฟฟ้า 96 V จำนวน 2 ล้อ เพื่อขับเคลื่อนล้อหลัง ส่วนแหล่งจ่ายไฟฟ้าใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ซิลิกอนแบบผลึกเดี่ยวแบบอ่อนตัวได้ที่มีขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าสูงสุด 756 W ที่แรงดันไฟฟ้า 79.8 V เพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่ NMC ขนาด 97 kWh ที่แรงดันไฟฟ้า 96 V ผลการทดสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ร่วมกับเซลล์แสงอาทิตย์โดยเก็บผลการใช้พลังงานในขณะเข้าร่วมการแข่งขัน Bridgestone World Solar Challenge 2023 ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เมือง Darwin ถึงเมือง Katherine เป็นระยะทาง 322 km โดยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์ 44,554.20 Wh พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1,032.44 Wh รวมพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปทั้งหมด 45,586.64 Wh คิดเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 42,299.40 Wh และพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ 3,287.30 Wh คงเหลือพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ 54,700.60 Wh แต่ถ้าหากใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 42,299.40 Wh เพื่อระบบขับเคลื่อนรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถขับเคลื่อนได้เป็นระยะทางประมาณ 280 km</p> กำจัด ใจตรง ปิยะนัฐ ใจตรง Copyright (c) 2024 Kumjat Jaitrong, Piyanat Jaitrong https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-26 2024-12-26 8 2 29 38 ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานและการสึกหรอของผิวเคลือบด้วยวิธีการพ่นเคลือบแบบ HVOF บนใบมีดเกี่ยวข้าว https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/3302 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสึกหรอและสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของบนใบมีดเกี่ยวข้าว ปัจจัยที่ทำการศึกษา ประกอบด้วย น้ำหนักกด และวัสดุเคลือบ โดยทดสอบการสึกหรอด้วยวิธีการพินออนดิส (ASTM G99) ซึ่งในการทดสอบมีน้ำหนักกด 3 ระดับ ได้แก่ 20, 40 และ 60 นิวตัน ส่วนวัสดุเคลือบที่ใช้ ได้แก่ ใบมีดเกี่ยวข้าวแบบไม่เคลือบผิว และใบมีดเกี่ยวข้าวเคลือบด้วย NiSiCrFeB, WC-Co/NiSiCrFeB, WC-Co และ WC-Cr<sub>3</sub>C<sub>2</sub>-Ni ซึ่งเคลือบด้วยการพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อนจากเชื้อเพลิงความเร็วสูง (HVOF) ผลการศึกษาพบว่า ผิวเคลือบมีผลต่อสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานและอัตราการสึกหรอของใบมีดเกี่ยวข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) โดยมีค่า f-value สูงกว่าปัจจัยน้ำหนักกด แสดงให้เห็นว่าผิวเคลือบมีผลมากกว่าน้ำหนักกด อย่างมีนัยสำคัญต่อสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานและอัตราการ<br />สึกหรอของใบมีดเกี่ยวข้าว</p> รณฤทธิ์ ขึงภูเขียว วรวีร์ ปัญญาคำ ดุสิต สิงห์พรหมมาศ นุชริน ทองพูล วรรณวดี สุขแจ่ม สุพจน์ สระทองหลาง Copyright (c) 2024 Ronnarit Khuengphukhiao, วรวีร์ ปัญญาคำ, ดุสิต สิงห์พรหมมาศ, นุชริน ทองพูล, วรรณวดี สุขแจ่ม, สุพจน์ สระทองหลาง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-26 2024-12-26 8 2 39 46 เครื่องฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยรังสียูวีซี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/2960 <p>บทความนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาเครื่องฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยรังสียูวีซีที่เน้นประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียและการใช้งานที่ปลอดภัย โดยใช้แนวคิดการผสานเทคโนโลยีไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Uno R3 กับระบบควบคุมที่ออกแบบมาให้เหมาะสมทั้งในรูปแบบการทำงานอัตโนมัติและควบคุมด้วยมือ เครื่องฆ่าเชื้อดังกล่าวใช้หลอดรังสียูวีซีขนาด 6 วัตต์ จำนวน 4 หลอด พร้อมกลไกความปลอดภัยที่ลิมิตสวิตช์ช่วยป้องกันการสัมผัสรังสีโดยไม่ได้ตั้งใจ ผลการทดลองยืนยันว่าเครื่องสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์มและเอสเชอริเชียโคไลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดจำนวนเชื้อจนไม่หลง เหลือ (0 CFU/ml) ภายในเวลา 60 นาที โดยความเข้มรังสียูวีซีเฉลี่ยอยู่ที่ 3,466.16 µW/cm² การพัฒนานี้มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อในหลากหลายประเภทของวัสดุ พร้อมทั้งลดความซับซ้อนในการใช้งาน และสร้างมาตรฐานใหม่ในเครื่องฆ่าเชื้อยูวีซีที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานทั่วไปและในชุมชน </p> กิตติภณ ฉัตรเงิน ธนบัตร ภักดีแก้ว ธนากร แวงวรรณ รจนา ทองสม บัญชา ศรีวิโรจน์ ปณต ศรีภครัชต์ Copyright (c) 2024 กิตติภณ ฉัตรเงิน , ธนบัตร ภักดีแก้ว , ธนากร แวงวรรณ , รจนา ทองสม, บัญชา ศรีวิโรจน์ , ปณต ศรีภครัชต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-26 2024-12-26 8 2 47 59 การวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการกะเทาะเปลือกกุ้งแห้ง https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/3470 <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการแกะสำเร็จของเปลือกกุ้งแห้งและเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในกระบวนการคัดแยกเปลือกกุ้งแห้งภายใต้การทดสอบด้วยเครื่องกะเทาะเปลือกกุ้งแห้ง โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลแบบ 3 ระดับ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของรากเหง้าปัญหาและคัดกรองปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากการระดมสมองได้กำหนดปัจจัยที่ใช้ศึกษา 3 ปัจจัย แต่ละปัจจัยมี 3 ระดับ คือ ความเร็วรอบใบกวน เท่ากับ 115-120, 145-150 และ 175-180 RPM ค่าความชื้น &lt;19, 19-21, &gt;21 % และรูปทรงใบกวน 3 แบบ ได้แก่ แบบเพลาทรงกระบอก แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบผสมผสาน จากผลการวิจัยพบว่า ถ้าต้องการค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดหรือค่าอัตราการแกะสำเร็จของกุ้งแห้งที่มากที่สุดเท่ากับ y = 292.33 PCS ควรกำหนดค่าพารามิเตอร์หรือปัจจัยและระดับของปัจจัยดังนี้ คือ ความเร็วรอบใบกวนอยู่ในช่วงเท่ากับ 145-150 RPM ค่าความชื้นอยู่ในช่วงเท่ากับ 19-21 % และรูปทรงใบกวนควรใช้แบบที่ 3 คือ แบบผสมผสาน โดยมีค่าช่วงของความเชื่อมั่น 95% CI ความน่าจะเป็นของค่าเฉลี่ยจากอัตราการแกะสำเร็จของกุ้งแห้งจะตกอยู่ในช่วง 280.83 - 303.84 เท่ากับ 95%</p> <p> </p> เอกพล ทับพร อภิชาติ ไชยพร จิรศักดิ์ ส่งบุญแก้ว Copyright (c) 2024 Ekkapol Tubpond, อภิชาติ ไชยพร, จิรศักดิ์ ส่งบุญแก้ว https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-26 2024-12-26 8 2 60 71