https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี 2024-06-29T00:00:00+07:00 ดร.ฐิติพร กรัยวิเชียร journal-scitru@thonburi-u.ac.th Open Journal Systems <p>เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และในด้านวิทยาศาสตร์ได้แก่ สาขาวิชา คณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการสารสนเทศ หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/1569 การศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตโลชั่นทากันยุง 2024-02-27T15:28:33+07:00 กรกฎ เพ็ชร์หัสณะโยธิน korakoj.pe@bsru.ac.th ณัฐวุฒิ รัตนาธรรมวัฒน์ natkmutt3@gmail.com <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตโลชั่นทากันยุง โดยใช้กระบวนการโคแอกกูเลชัน ศึกษาโดยใช้สารละลายไอร์ออน (II) ซัลเฟต (FeSO<sub>4</sub>) และสารละลายอะลูมิเนียมซัลเฟต (สารส้ม) เป็นสารสร้างตะกอน (สารโคแอกกูแลนท์) ใช้พอลิเมอร์ประจุลบ (Anionic Polymer) และพอลิเมอร์ประจุบวก (Cationic Polymer) เป็นสารช่วยสร้างตะกอน (สารโคแอกกูแลนด์แอด) จากผลการทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการตกตะกอน คือ ที่ pH เท่ากับ 11 ปริมาณสารละลายไอร์ออน (II) ซัลเฟต (FeSO<sub>4</sub>) เท่ากับ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร และ ปริมาณพอลิเมอร์ ประจุลบ (Anionic Polymer) เท่ากับ 1.8 มิลลิกรัมต่อลิตร เวลาที่เหมาะสมในการตกตะกอน คือ 40 นาที และประสิทธิภาพในการบำบัด BOD, COD, และ ไขมันและน้ำมัน (O/G) ได้ร้อยละ 40.65, 61.20 และ 60.00 ตามลำดับ</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 korakoj pethassanayothin, ณัฐวุฒิ รัตนาธรรมวัฒน์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/1780 การใช้โดรนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสำรวจธุรกิจเหมืองแร่ในจังหวัดชลบุรี 2024-05-20T15:52:04+07:00 วัฒนา เอกปมิตศิลป์ wattana_it@thonburi-u.ac.th สมบัติ ฑีฆทรัพย์ Somsak@thonburi-u.ac.th สมศักดิ์ ตันตาศนี Somsak@thonburi-u.ac.th ชนม์ธิดา ยศปปัน Chontida@sbu.southeast.ac.th ประสงค์ อุทัย prasong_mn@thonburi-u.ac.th <p>การวิจัยวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งมีต่อประสิทธิภาพการสำรวจของโดรน 2. เพื่อศึกษาการใช้โดรนที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและการสำรวจของธุรกิจเหมืองแร่ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในปฏิบัติงานของธุรกิจเหมืองแร่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ธุรกิจเหมืองแร่ในชลบุรี จำนวน 37 บริษัท กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในธุรกิจเหมืองแร่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งมีต่อประสิทธิภาพการสำรวจของโดรนในธุรกิจเหมืองแร่ ตัวแปรเพศกับด้านการใช้โดรน พบมีความสัมพันธ์ในระดับสถิติที่ 0.05 ตัวแปรอายุกับด้านการเพิ่มประสิทธิการและการสำรวจ พบมีความสัมพันธ์ในระดับสถิติที่ 0.05 ตัวแปรระดับการศึกษากับด้านธุรกิจเหมืองแร่ พบมีความสัมพันธ์ในระดับสถิติที่ 0.05 2. ด้านการใช้โดรนส่งผลต่อเพิ่มประสิทธิภาพและสำรวจธุรกิจเหมืองแร่ พบมีความสัมพันธ์ในระดับสถิติที่ 0.05 อุตสาหกรรมเหมืองแร่ส่วนใหญ่นั้นเริ่มนำเทคโนโลยีการรังวัดสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับหรือ Drone มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีงานรังวัดชนิดต่าง ๆ เช่น เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมสำหรับงานรังวัด และภาพถ่ายทางอากาศใช้ในการตรวจสอบพื้นที่ประกอบการเหมืองแร่ จากการใช้เทคโนโลยีงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ 3. แนวทางในการพัฒนาธุรกิจเหมืองแร่ ซึ่งสามารถเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานในการจัดทำข้อมูลสำหรับการตรวจสอบและกำกับดูแลสถานประกอบการเหมืองแร่ โดยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเป็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ มีความชัดเจน ถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบมีความสำคัญในระดับสถิติที่ 0.05 สมมติฐานเป็นจริงทุกข้อ</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วัฒนา เอกปมิตศิลป์, สมบัติ ฑีฆทรัพย์, สมศักดิ์ ตันตาศนี, ชนม์ธิดา ยศปปัน, ประสงค์ อุทัย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/2818 การจัดการด้านการพัฒนาต้นแบบแชทบอทอัจฉริยะสำหรับการให้คำปรึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรีของส่วนงานฝึกปฏิบัติงานศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาอาชีพนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ 2024-06-08T18:05:54+07:00 พรสิริ ชาติปรีชา pornsiricha@pim.ac.th ชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี chutitanrat.utt@dpu.ac.th <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบแชทบอทอัจฉริยะสำหรับบริหารจัดการด้านให้คำปรึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรีของส่วนงานฝึกปฏิบัติงานศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาอาชีพนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาในส่วนข้อมูลของหน่วยงานของฝึกปฏิบัติงานศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาอาชีพนักศึกษา หรือเรียกว่าหน่วยงาน CCDS โดยจะนำเสนอข้อมูลด้านการบริการและข้อคำถามที่นักศึกษามีคำถาม ได้แก่ แผนการฝึกงาน 4 ปี, ตัวอย่างการเขียนรีพอร์ตฝึกงาน, ข้อมูลการเตรียมตัวฝึกงาน, ข้อมูลการลงร้าน, ข้อมูลการฝึกงานต่างประเทศและข้อมูลติดต่อเจ้าหน้าที และทำการทดสอบและแสดงผลของแชทบอท (Chatbot) ระบบนี้จะให้ข้อมูลสนทนาโต้ตอบอัตโนมัติกับผู้ใช้เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันไลน์ (Line Application)</p> <p> จากผลการทดลองนำโปรแกรม แชทบอท ไปให้ ผู้ใช้ทดลองจำนวน 432 คน ด้านกระบวนการติดตั้งและความเข้าใจในการใช้งานระบบ มีผลประเมินความพึงพอใจคือ 4.31 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ส่วนภาพรวมความพึงพอใจด้านรูปแบบและภาพลักษณ์ของเว็บ มีผลประเมินความพึงพอใจคือ 4.07 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ความพึงพอใจด้านการใช้งานมีผลประเมินความพึงพอใจคือ 4.04 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก นอกจากนี้การทดสอบการทำงานของ แชทบอท ตอบสนองความต้องการได้ถูกต้อง ค่าเฉลี่ยของความถูกต้อง คือ 90.77 % และไม่ถูกต้องคือ 9.23 % </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Pornsiri Chatpreecha, chutitanrat uttamasiriseni https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/2498 การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตของชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อทำการลดต้นทุน 2024-06-13T09:45:43+07:00 บัณฑิต อินทรีย์มีศักดิ์ bundit086@hotmail.com พิพัฒน์ เลิศโกวิทย์ pipatpop56@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดต้นทุนต่างๆในด้านการผลิต หรือ ลดค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงานลง จึงได้มีการหาทางแก้ไขและปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการผลิต โดยขั้นตอนการดำเนินการแก้ไข เริ่มจากขั้นตอนการศึกษา และวิเคราะห์กระบวนการผลิตชิ้นงาน PLATE 20Y-06 ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุงการผลิต โดยใช้เครื่องมือ 7 QC Tools, ECRS และ Why Why Analysis จากนั้นจึงทำการปรับปรุงขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจากวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุงการผลิตการตรวจสอบต้นทุนการผลิต แผนภูมิการผลิต รวมถึงการออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ และประสานงานกับหน่วยงานในบริษัท ในการออกแบบผลิต และทดสอบแม่พิมพ์ และติดตามผล ผลการวิจัยพบว่า การลดต้นทุน ลดเวลาในการผลิต และลดขั้นตอนในการผลิตและขั้นตอนในการดำเนินงาน ของชิ้นงานเหล็กแผ่น (PLATE 20Y-06) ผู้ดำเนินงานได้ทำการศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขด้วยหลักการและเครื่องมือควบคุมคุณภาพ (7 QC Tools), ECRS และ Why Why Analysis ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนได้ จาก 149.68 บาทต่อชิ้น เป็น 107.65 บาทต่อชิ้น หรือลดลง 42.03 บาท ลดเวลาในการผลิต จาก 21.35 นาทีต่อชิ้น เหลือเพียง 14.88 นาทีต่อชิ้น รวมถึงลดขั้นตอนการผลิตจากเดิม 7 ขั้นตอน เหลือเพียง 4 ขั้นตอน</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 บัณฑิต อินทรีย์มีศักดิ์, Pipat Lertkowit https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/2694 การลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปขนมพายชั้น กรณีศึกษาโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ 2024-06-09T13:12:26+07:00 สุคนธ์ทิพย์ เพิ่มศิลป์ sukonthipper@pim.ac.th ประภากร มูลเงิน sukonthipper@pim.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปขนมพายชั้นในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่กรณีศึกษา จากการเก็บข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการขึ้นรูปขนมพายชั้น เป็นระยะเวลา 3 เดือน มียอดผลิตขนมพายชั้นทั้งหมด 15,275,198 ชิ้น เกิดของเสียทั้งหมด 180,262 ชิ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนของเสีย 1.2% เมื่อนำมาแยกประเภทของเสียพบว่าปัญหาที่เกิดสูงสุดคือไส้ขนมพายชั้นทะลักด้านข้าง คิดเป็นสัดส่วนของเสีย 0.346% จึงได้นำปัญหานี้มาทำการวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขโดยใช้ผังก้างปลา และ เทคนิคทำไม – ทำไม พบว่าสาเหตุหลักเกิดจากการใส่ใส้ขนมพายชั้นชิดกับขอบของแผ่นแป้งโดว์มากเกินไป เนื่องจากไม่มีการระบุตำแหน่งในการใส่ไส้ขนมพายชั้น จึงทำการออกแบบและจัดทำอุปกรณ์กำหนดตำแหน่งในการใส่ไส้พาย จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน และจัดอบรมวิธีปฏิบัติงานให้กับพนักงานและหัวหน้างาน ผลจากการดำเนินการปรับปรุง สามารถลดของเสียที่เกิดจากไส้ขนมพายชั้นทะลักด้านข้างจาก 0.346% มูลค่าของเสีย 1,994,138 บาทต่อปี เหลือเพียง 0.067% มูลค่าของเสีย 383,733 บาทต่อปี คิดเป็นของเสียที่ลดลงได้ 1,610,405 บาทต่อปี หรือลดลงได้ 80.6%</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Sukonthip Permsin, ประภากร มูลเงิน https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/1245 การศึกษาอัตราส่วนผสมของวัสดุกระตุ้นที่มีผลต่อค่าความจุของแผ่นธาตุลบในแบตเตอรี่รถไฟฟ้า 2024-06-07T12:58:12+07:00 สมศักดิ์ มีนคร somsak_me@hotmail.com สมจินต์ อักษรธรรม somjin072@gmail.com วรเทพ ตรีวิจิตร worathep@thonburi-u.ac.th เถลิง พลเจริญ ponjaroen@yahoo.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาอัตราส่วนผสมของวัสดุกระตุ้นที่มีผลต่อค่าความจุของแผ่นธาตุลบในแบตเตอรี่รถไฟฟ้า โดยใช้เครื่อง Auto lab PGSTAT30 (Cyclic Voltammetry) เป็นเครื่องทดสอบคุณสมบัติทางเคมีไฟฟ้าจากการศึกษาพบว่า การผสมคาร์บอนแบล็คด้วยความเร็วรอบและระยะเวลาแตกต่างกันส่งผลต่อค่าความจุของวัสดุกระตุ้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุกระตุ้น XE500-02 และ N220500-10 จะให้ค่าความจุสูงกว่าจากการเปรียบเทียบกับวัสดุกระตุ้น HE115 โดยให้ค่าความจุที่สูงกว่าในรอบที่ 300 ขึ้นไป</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สมศักดิ์ มีนคร, สมจินต์ อักษรธรรม, วรเทพ ตรีวิจิตร, thaloeng poljaroen https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/trusci/article/view/2592 DEVELOPMENT OF MANAGEMENT MODEL FOR INNOVATION PLATFORM IN MEDICAL ARTIFICIAL INTELLIGENCE INDUSTRY IN CHINA 2024-06-04T19:43:41+07:00 Tang Yuying cathytang@insigma.com.cn ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ mar6666@hotmail.com สิริกาญจน์ โพธิ์เขียว Luknam756@gmail.com สมบัติ ธีฆทรัพย์ sombat.teekasap@gmail.com <p>This study aims to develop an innovation platform management model to address issues in medical AI Industry in China and promote its future development. The first step is to analyze the existing problems, opportunities and innovative solutions in the medical AI industry in China by literature analysis and in-depth interview with five experts. The second step is to evaluate the consistency of innovation platform management elements for the medical AI industry in China by expert confirmation process with 17 experts. The final step is to create the innovation platform management model and confirm by 5 experts. The findings of this study are as follows: (1) It identified 5 aspects, 11 themes and 35 elements for innovation platform management in medical AI industry in China. Experts agree on the necessity of a multi-faceted approach to foster innovation, emphasizing the importance of data privacy, domain knowledge base development, interdisciplinary talent cultivation, clinical-AI integration, organizational management. (2) The proposed management model presents a comprehensive framework encompassing five aspects: infrastructure management, technology innovation management, application scenarios management, policy and regulation management, and platform organization management. This study emphasizes the importance of stakeholder collaboration and the utilization of the innovation platform to facilitate the industry development.</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Tang Yuying, ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ, สิริกาญจน์ โพธิ์เขียว, สมบัติ ทีฆทรัพย์