วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt <p> <strong>วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี</strong> (<strong>ISSN 2822-0196</strong><strong> (Print), ISSN 2822-020X (Online)</strong>) ได้ถูกจัดทำขึ้นให้เป็นสื่อกลางในการรวบรวมและเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ สำหรับนักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป โดยไม่หวังผลกำไรในการดำเนินการต่างๆ เพื่อใช้ในการเพิ่มพูนองค์ความรู้และใช้เป็นผลงานทางวิชาการสำหรับผู้ที่สนใจในด้านวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี</p> <div><strong> รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา ปัญญา</strong></div> <div><strong> หัวหน้าบรรณาธิการ</strong></div> <div> </div> <div> <div class="box_title"> </div> <div class="side_box"> <div class="row"> <div class="col-md-12 col-sm-12 mb-3"> </div> </div> </div> </div> <div>Copyright © คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร</div> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ<strong>วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี</strong></p> <p>ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> smt.kpru@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา ปัญญา) prateep_p@kpru.ac.th (ประทีป เพ็ญแจ้ง) Fri, 02 Aug 2024 14:59:11 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 คณิตศาสตร์กับความตาย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/542 <p>บทความนี้นำเสนอบทบาทของคณิตศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความตายของมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สถิติกับการตาย การประมาณเวลาตาย การตายจากการถูกฆาตกรรม การตายด้วยโรคติดต่อ การประกันชีวิต และค่าใช้จ่ายในพิธีกรรมศพ</p> อนุพงศ์ สุขเกษม Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/542 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการประมวลผลภาพ สำหรับการตรวจกระดาษคำตอบปรนัยแบบอัตโนมัติ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/631 <p>งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้วิธีการประมวลผลภาพเพื่ออ่านและให้คะแนนแบบอัตโนมัติของกระดาษคำตอบแบบกากบาทที่ใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย เครื่องมือนี้สร้างขึ้นด้วย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การรับเข้าข้อมูลข้อสอบ การปรับขนาดภาพ การแบ่งส่วนภาพ การเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปร่างหรือโครงร่างของภาพ และระบุคำตอบ การทดสอบประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันประเมินด้วย 2 วิธี วิธีที่ 1 เป็นการทดสอบความสามารถของเว็บแอปพลิเคชันเพื่อแยกแยะประเภทของการกากบาทในกระดาษคำตอบแบบเดิมซึ่งนักศึกษาต้องทำการกากบาทลงไปในข้อที่ต้องการเลือก การตอบเป็นไปได้ 4 กรณี ประกอบด้วย กากบาทถูกต้องเพียง 1 คำตอบ กากบาทมากกว่า 1 คำตอบ ไม่มีการกากบาท และมีการลบลิควิด ความถูกต้องของแอปพลิเคชันประเมินโดยใช้ข้อสอบ 30 แผ่นที่ให้นักศึกษาทำการกากบาท สิ่งเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบด้วยสายตาและให้ลงคะแนนล่วงหน้า พบว่า ทุกกรณีที่กากบาทถูกต้องเพียง 1 คำตอบ แอปพลิเคชันประเมินทุกคำตอบที่ถูกและผิดได้อย่างถูกต้อง ข้อสอบทั้ง 30 แผ่น ประกอบด้วย กากบาทมากกว่า 1 คำตอบ จำนวน 5 ข้อ และไม่มีการกากบาทจำนวน 11 ข้อ แอปพลิเคชันประเมินทุกข้อว่าไม่ถูกต้องได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังมีการทดสอบด้วยการลบลิควิดซึ่งมีจำนวน 23 ข้อ แอปพลิเคชันไม่สนใจตัวเลือกที่มีการลบด้วยลิควิดอีกทั้งยังทำงานได้อย่างถูกต้อง การทดลองแสดงให้เห็นว่า แอปพลิเคชันสามารถประเมินและตอบสนองได้อย่างถูกต้องทุกครั้งและไม่สับสนกับเงื่อนไขที่ไม่ได้มาตราฐาน ดังนั้นประสิทธิภาพจึงมีความแม่นยำอยู่ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ แอปพลิเคชันนี้สามารถใช้ในการให้คะแนนกระดาษคำตอบมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง</p> เพ็ณนภา ยอยบุปผา, ชุน-จา สมโภชน์ บุสตามานเต้, ภูมินทร์ ตันอุตม์ Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/631 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาทางกายวิภาคของนางอั้วคางยาว เอื้องหอมเตย และเอื้องลิ้นมังกร (วงศ์กล้วยไม้) https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1044 <p>การศึกษากายวิภาคของเนื้อเยื่อลำต้นใต้ดิน ราก ช่อดอก และใบของนางอั้วคางยาว เอื้องหอมเตย และเอื้องลิ้นมังกร โดยเทคนิคการตัดด้วยมืเปล่าและนำไปส่องใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง พว่า ลำต้นใต้ดินมีการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อภายในเหมือนกันทั้งสามชนิด โดยเอื้องหอมเตยและเอื้องลิ้นมังกรพบการสะสมของเม็ดแป้งและผลึกแคลเซียมออกซาเลต รวมไปถึงกายวิภาคของรากมีการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อเหมือนกันทุกชนิด โดยพบพีโลตอนของเชื้อราในชั้นคอร์เทกซ์ของรากนางอั้วทุกชนิด กายวิภาคของช่อดอกมีการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อเหมือนกันทุกชนิด สำหรับกายภาคของใบมีการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อและมีรูปร่างของปากใบแบบ anomocytic stomata เหมือนกันทุกชนิด แต่มีค่าดัชนีปากใบของนางอั้วคางยาว เอื้องหอมเตย และเอื้องลิ้นมังกร แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติคือ 25.30±1.04 13.82±0.70 และ 11.03±0.27 ตามลำดับ</p> มนตริยาภา คำสิงห์, หนึ่งฤทัย จักรศรี, ธนากร วงษศา Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1044 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความรู้และพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของพนักงานในสถานประกอบการ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1965 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยของพนักงานในสถานประกอบการแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานที่ทำงานในสถานประกอบการ จำนวน 161 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกนเพื่อกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability Sampling) หรือ “การคัดเลือก (Selection)” เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้หลังการอบรม สำหรับการสังเกตพฤติกรรมการคัดแยกขยะของพนักงาน เปรียบเทียบจากการสำรวจปริมาณขยะก่อนการได้รับการอบรมและหลังการได้รับการอบรมให้ความรู้ พร้อมทั้งเปรียบเทียบปริมาณขยะที่ขายได้ก่อนการอบรมและหลังการอบรม ผลการศึกษาพบว่า พนักงานในสถานประกอบการมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะในระดับความรู้สูง และปริมาณขยะหลังการดำเนินการโครงการมีปริมาณขยะที่ลดลงสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับสถานประกอบการได้มากขึ้น บ่งชี้ถึงถึงพฤติกรรมของพนักงานในการคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก</p> ปิยะพร บรรเทา, อิสระ ตั้งสุวรรณ์, พิณทิพย์ แก้วแกมทอง, ธนาวรรณ พิณะเวศน์, ฤทัยรัตน์ น้อยคนดี , พรทวี กองร้อย Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1965 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลของความเร็วและจำนวนครั้งในการตัดบอลสำเร็จที่มีต่อความสามารถในการสกัดบอลของนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/2492 <p>การวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลของความเร็วและจำนวนครั้งในการตัดบอลสำเร็จที่มีต่อความสามารถในการสกัดบอลของนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักกีฬาฟุตบอลเยาวชนชาย อายุระหว่าง 8-10 ปี ข้อมูลเกี่ยวกับความเร็ว จำนวนครั้งในการตัดบอลสำเร็จและความสามารถในการสกัดบอล ข้อมูลถูกรวบรวมด้วยการใช้ฟังก์ชันตรวจจับวัตถุจากวิดิโอบันทึกการแข่งขันในภาษาไพธอนจำนวน 10 เกม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความเร็วเฉลี่ยและจำนวนครั้งที่ตัดบอลสำเร็จเฉลี่ยของทั้งสองทีมมีค่าเท่ากัน แต่กลับมีจำนวนครั้งการสกัดบอลไม่เท่ากัน ประกอบกับค่าสถิติพีมีค่ามากกว่า 0.05 ซึ่งสามารถแปลความได้ว่าความเร็วเฉลี่ยและจำนวนการตัดบอลสำเร็จเฉลี่ยของไม่ส่งผลต่อความสามารถในการสกัดบอล ซึ่งสอดคล้องกับค่าสถิติจากสมการการถดถอยพหุคูณที่ทุกสัมประสิทธิ์มีสถิติพีมากกว่า 0.05</p> Sarayut Pantian Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/2492 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 จำนวนโครมาติคของบางกราฟ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1763 <p>สำหรับกราฟ G ใด ๆ จะเรียกว่ามีการระบายสีจุดบนกราฟ ถ้ากำหนดสีให้แต่ละจุดในกราฟ แล้วจุดที่ประชิดกันจะมีสีต่างกัน และเรียกการระบายสีจุดบนกราฟว่าเป็นกราฟ k สี มากไปกว่านั้นถ้า k <em> </em>เป็นจำนวนที่น้อยที่สุดที่ทำให้ G เป็นกราฟ k สี แล้วเราจะเรียกกราฟ ว่ามี เป็น <strong>จำนวนโครมาติค </strong>และแทนด้วยสัญลักษณ์ χ(G) = k</p> <p> ในงานวิจัยนี้เราต้องการศึกษา จำนวนโครมาติคของไซเคิลบุคกราฟ แฟนกราฟ ปริซึมกราฟ ไลน์กราฟของไซเคิลบุคกราฟ กราฟลูกอ๊อด และกราฟอมยิ้ม</p> <p> </p> ศิวรี สุดสนิท, จิติศักดิ์ เสียงดัง, ธนกฤต ศรีวิชา, ทะนงศักดิ์ จัดที่ Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1763 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1783 <p>งานวิจัยเรื่องการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการข้อมูลฟาร์มโคเนื้อ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถจัดการข้อมูลเกี่ยวกับฟาร์มโคเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเว็บแอปพลิเคชันมีเนื้อหาเกี่ยวกับสายพันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยงเพื่อนำมาใช้ในการจัดการฟาร์มโคเนื้อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการฟาร์มด้านต่างๆ เช่น การผสมพันธุ์ การให้อาหาร การรักษา เป็นต้น ผู้วิจัยดำเนินงานโดยใช้กระบวนการพัฒนาระบบตามแนวคิดของวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มีการออกแบบและพัฒนาระบบเชิงวัตถุด้วยยูเอ็มแอลในรูปแบบเว็บ<br />แอปพลิเคชันโดยใช้ภาษาพีเอชพีและจาวาสคริปต์ เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมอฟอร์ยู สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญของโคเนื้อได้อย่างครบถ้วนและเป็นระเบียบ เช่น ข้อมูลการเกิด น้ำหนัก สุขภาพ และประวัติการรักษา สามารถเข้าถึงข้อมูลและแสดงผลผ่านส่วนต่อประสานผู้ใช้ สามารถใช้งานได้สะดวกและง่ายต่อการทำงาน ช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การค้นหารายงาน การบันทึกสถิติการเจริญเติบโตของโคเนื้อ ลดข้อผิดพลาดในการจัดการข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการฟาร์มโคเนื้อได้</p> ศราวุธ อวดกล้า; ธนากร เจริญรุกข์; ศรัญญา ตรีทศ; เจษฎาพร ปาคำวัง Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1783 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/895 <p>งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาสื่อวีดีโอโมชันกราฟิกเรื่อง โควิด-19 แบบเลือกได้ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไทย สื่อนี้พัฒนาโดยใช้โปรแกรมการตัดต่อเสียงเอฟเฟค ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว หลังจากนั้นศึกษาหาค่าประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 ที่เป็นในรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวบ้านหมู่บ้านแม่ระเมิง จำนวน 30 คน โดยใช้เครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในรูปแบบประเมินความพึงพอใจ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (𝑥̅= 4.47, S.D.= 0.58) งานวิจัยนี้ส่งผลทำให้โรงพยาบาลและอนามัยในชุมชนกะเหรี่ยงตามเขตชายแดนมีความรู้ความเข้าใจของการระบาดของเชื้อไรวัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สามารถสร้างความตระหนักรู้เพื่อลดโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ และเพื่อไม่ให้ตื่นตระหนกจนเกินไป</p> กีรศักดิ์ พะยะ, กีรติ คีรีทองเทศ, ทีฆายุ แก้ววงค์ Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/895 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลากับการลดลงของอุณหภูมิร่างกายและปัจจัยที่มีผลต่อ ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติหลังจากการวางยาสลบและทำศัลยกรรมในแมว ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1807 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระยะสั้นเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลากับการลดลงของอุณหภูมิร่างกายและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติในแมว หลังจากการวางยาสลบและทำศัลยกรรม ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 46 ตัว โดยวัดอุณหภูมิร่างกายของแมวทางทวารหนักด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล ในนาทีที่ 0, 60, 120 และ 180 หลังจากการวางยาสลบ และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำโดยการเก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลและบันทึกประวัติสัตว์ป่วย ผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติหลังจากการวางยาสลบและทำศัลยกรรมในแมว เท่ากับ 97.8% (45/46) โดยพบว่าเมื่อการวางยาสลบและทำศัลยกรรมผ่านไป 60 นาที อุณหภูมิร่างกายของแมวลดต่ำมากที่สุดเฉลี่ย 94.854±2.53 ºF ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติอย่างมีนัยสำคัญในแมวทั้งระดับอ่อน กลาง และรุนแรง คือ การได้รับออกซิเจน (χ<sup>2</sup> = 7.095, p-value = 0.029) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นและเป็นประโยชน์สำหรับสัตวแพทย์และเจ้าของแมวในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ ระหว่างการวางยาสลบและทำศัลยกรรมในแมว</p> พิชชานนท์ ใจทา, อาริตา นุกาศ, สุภาภรณ์ อุดมทรัพย์, สิทธิวสันต์ ดลวงศ์จันทอง, สิทธิชน รัตนจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1807 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700