https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/issue/feed วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี 2024-01-12T09:37:31+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา ปัญญา smt.kpru@gmail.com Open Journal Systems <p> <strong>วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี</strong> (<strong>ISSN 2822-0196</strong><strong> (Print), ISSN 2822-020X (Online)</strong>) ได้ถูกจัดทำขึ้นให้เป็นสื่อกลางในการรวบรวมและเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ สำหรับนักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป โดยไม่หวังผลกำไรในการดำเนินการต่างๆ เพื่อใช้ในการเพิ่มพูนองค์ความรู้และใช้เป็นผลงานทางวิชาการสำหรับผู้ที่สนใจในด้านวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี</p> <div><strong> รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา ปัญญา</strong></div> <div><strong> หัวหน้าบรรณาธิการ</strong></div> <div> </div> <div> <div class="box_title"> </div> <div class="side_box"> <div class="row"> <div class="col-md-12 col-sm-12 mb-3"> </div> </div> </div> </div> <div>Copyright © คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร</div> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/154 เทคนิคการถ่ายภาพสำหรับงานด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 2023-10-31T11:08:46+07:00 ธนากร วงษศา thanakorn_wo@kpru.ac.th <p>ภาพถ่ายทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ที่ต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับผลิตภาพถ่ายที่สามารถแสดงความแตกต่างของกลุ่มทดลองในงานวิจัยได้ชัดเจน ซึ่งต้องอาศัยทักษะ ความเข้าใจ อุปกรณ์ และเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพที่ชัดเจน บทความวิชาการนี้ ได้รวบรวมเทคนิคการถ่ายภาพบางประการที่เหมาะสมสำหรับงานด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่ความเหมาะสมสำหรับการผลิตภาพถ่ายในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2024-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/641 การหาปริมาณคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟอาราบิก้าด้วยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง 2023-12-27T09:38:09+07:00 เสาวภา ชูมณี saowapa@pcru.ac.th รุจิรา คุ้มทรัพย์ Ruchira@pcru.ac.th <p>คาเฟอีนเป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางมักพบในเมล็ดกาแฟ สำหรับงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หาปริมาณคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้า (<em>Caffea Arabica</em> L.) ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงตรวจวัดด้วยไดโอดอาเรย์ที่ความยาวคลื่น 274 nm ทำการสกัดคาเฟอีนจากเมล็ดกาแฟด้วยอัลตราซาวด์ช่วยในการสกัดใช้ตัวทำละลายเมทานอลร่วมกับน้ำ สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการแยกใช้คอลัมน์ชนิด C8 ร่วมกับการใช้เฟสเคลื่อนที่แบบไอโซเครติกประกอบด้วยตัวทำละลายเมทานอลต่อน้ำในอัตราส่วน 30:70 โดยปริมาตร ใช้อัตราการไหล 1 mL/min ปริมาตรการฉีด 5 µl การประเมินความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ พบว่า มีความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 0.50 – 10.00 µg/mL (ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ, R<sup>2</sup> เท่ากับ 0.9999) ค่าขีดจำกัดในการตรวจพบและขีดจำกัดในการวัดเชิงปริมาณ เท่ากับ 0.13 และ 0.43 µg/mL ตามลำดับค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์อยู่ในช่วง 1.02-5.21% และค่าร้อยละการกลับคืนอยู่ในช่วง 96.00-98.50% วิธีวิเคราะห์นี้ ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการหาปริมาณคาเฟอีนในตัวอย่างเมล็ดกาแฟคั่วพันธุ์อาราบิก้าที่ปลูกพื้นที่ต่างกัน และพบปริมาณคาเฟอีนในตัวอย่างมีค่าอยู่ในช่วงความเข้มข้น 1.10-1.49 % โดยน้ำหนัก</p> 2024-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/654 ความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อกรมป่าไม้ 2023-12-13T14:10:29+07:00 ปิยะตรา บุดดี -@mail.com กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง nsukung@gmail.com สิตานันท์ จันทร์สมบูรณ์ -@mail.com <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของหน่วยงานภายในกรมป่าไม้ ปี พ.ศ. 2562 โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 621 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ช่องว่าง ผลการศึกษาพบว่า ในด้านการอนุญาต และการรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเจ้าหน้าที่ที่มีความเป็นมิตร สุภาพ มีความกระตือรือร้น ซื่อสัตย์ และมีความเสมอภาค ส่วนในด้านเครือข่ายป่าชุมชน เครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า เครือข่ายควบคุมไฟป่า และเครือข่ายปลูกป่าเอกชน ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเจ้าหน้าที่ที่มีความเป็นมิตร สุภาพ มีความกระตือรือร้น และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ รวมทั้งผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์ที่รวดเร็ว และสม่ำเสมอ</p> 2024-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/883 การศึกษาปริมาณธาตุและค่าความเป็นกรด-ด่างของดินในพื้นที่เพาะปลูกข้าวในหมู่บ้านท้ายลาด ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 2024-01-04T14:58:15+07:00 พัชรินทร์ โตสอาด -@mail.com พัชรา โตสอาด -@mail.com ปัทมาวรรณ์ วงษ์สง่า -@mail.com สรายุทธ์ พานเทียน sarayut.p@lawasri.tru.ac.th <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณธาตุในดินโดยการตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารหลักด้วยชุดตรวจสอบดินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริมาณธาตุอาหารเสริมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนต์ ทั้งยังศึกษาความเป็นกรด-ด่างด้วยเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (913 pH meter) ตัวอย่างดินจากแปลงนาข้าวจำนวน 3 แปลงที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังบ่อยจากในพื้นที่เพาะปลูกข้าวในหมู่บ้านท้ายลาด ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6.92-7.20 ปริมาณธาตุอาหารหลักไนโตรเจนต่ำ-ปานกลาง ฟอสฟอรัสต่ำ-ปานกลาง โพแทสเซียมปานกลาง-สูง ขณะที่ปริมาณธาตุอาหารเสริมอย่างแคลเซียม เหล็ก ซิลิกอน และไทเทเนียม มีร้อยละปริมาณความเข้มข้นของธาตุที่เป็นองค์ประกอบในสารประกอบเทียบกับสารประกอบทั้งหมดในดินเป็น 4.15-7.09, 42.74-46.17, 36.17-38.61 และ 3.31-3.44 ตามลำดับ เมื่อศึกษาคุณภาพดินแล้วอยู่ในระดับปานกลาง ควรเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสและลดความเป็นกรด-ด่างในดินในการปลูกข้าวครั้งต่อไป</p> 2024-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/781 การศึกษาการชนกันของวัตถุในของเหลวด้วยโปรแกรมแทรคเกอร์สำหรับการสอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2024-01-04T14:40:55+07:00 จันจิรา มีภิปราย -@mail.com พิชชาภา ทองเสวตร -@mail.com วิศัลย์ศยา นาละคร -@mail.com สรายุทธ์ พานเทียน sarayut.p@lawasri.tru.ac.th <p>การศึกษาการชนกันของวัตถุในของเหลวด้วยโปรแกรมแทรคเกอร์สำหรับการสอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเคลื่อนที่และสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุในของเหลวในแต่ละช่วงเวลาก่อนและหลังชนกันด้วยโปรแกรมแทรคเกอร์ อ้างอิงกับระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียน 2 มิติ และเพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์วิดีโอแทรคเกอร์ช่วยสอนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การชนกันของวัตถุในของเหลว โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์วิดีโอแทรคเกอร์ช่วยสอน โดยของเหลวที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ น้ำเปล่า น้ำเชื่อม และน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีค่าความหนืดที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เท่ากับ หาค่าไม่ได้, 2453.37 และ 84.53 มิลลิปาสคาล-วินาที ตามลำดับ วัตถุที่นำมาใช้เป็นโลหะทรงกลมมีขนาดรัศมี 3.17 x 10<sup>-3</sup> เมตร และมวล 1.04 x 10<sup>-3</sup> กิโลกรัม ผลการวิจัย พบว่า ความเร็วและความเร่งของการเคลื่อนที่ก่อนและหลังชนของลูกเหล็กในน้ำเชื่อม และน้ำมันปาล์มแปรผันตรงกับค่าความหนืดและเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมและกฎการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนการศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ทางการ ศึกษาตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยคะแนนระหว่างเรียน (การประเมินการทดลองและแบบฝึกหัดระหว่างเรียน) และหลังเรียน (ผลการเรียนรู้) มีค่าเป็น 85.67 และ 81.98 ตามลำดับ และความเข้าใจและการนำไปใช้ ด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นสูง โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> 2024-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/665 สมการไดโอเฟนไทน์ 21^x+4^y=z^2 2023-12-27T09:25:01+07:00 ธัญวรัชญ์ บุตรสาร thanwarat.but@crru.ac.th นิติมา พรหมมารัตน์ Nitima.Cha@crru.ac.th ณัฐมน กันไชย 61420016@crru.ac.th <p>ในงานวิจัยนี้จะศึกษาการมีผลเฉลยของสมการไดโอเฟนไทน์ในรูปแบบ 21<sup>x</sup>+4<sup>y</sup>=z<sup>2</sup> &nbsp;พิจารณาการมีผลเฉลยของสมการไดโอเฟนไทน์ดังกล่าว โดยที่ x, y และ z เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ</p> <p>&nbsp;</p> 2024-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/625 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2023-06-15T09:10:08+07:00 ศริทธิ์ พร้อมเทพ sarit.pr@up.ac.th รุจโรจน์ แก้วอุไร -@mail.com ภาสกร เรืองรอง -@mail.com สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ -@mail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) รับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยแหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ขั้นที่ 2 รับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินรับรองรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานหุ่นนยนต์ฯประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 5) การวัดประเมินผล โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 4 ขั้นตอนได้แก่ นำเสนอประเด็นปัญหาโครงงานหุ่นยนต์ วางแผนการพัฒนาโครงงานหุ่นยนต์ ลงมือปฏิบัติจากสถานการณ์จริง ประเมินผลและทบทวน ผลการประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\overline{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{X}" />=4.64; S.D.=0.40)</p> 2024-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/smt/article/view/1116 การสร้างต้นแบบระบบการดูแลต้นอโลคาเซีย ดราก้อนสเกล ผ่านไลน์โนติฟาย 2023-12-27T09:49:46+07:00 นัจรีวรรณ อูปคำ -@mail.com ฆัมภิชา ตันติสันติสม khumphicha_t@kpru.ac.th จินดาพร อ่อนเกตุ jindaporn_o@kpru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบระบบการดูแลต้นอโลคาเซีย ดราก้อนสเกล ผ่านไลน์โนติฟาย และทดสอบการทำงานของต้นแบบ โดยต้นแบบที่สร้างขึ้นจะเชื่อมต่อบอร์ด Node MCU กับอุปกรณ์เซนเซอร์วัดความชื้นในดินที่ปักลงในดิน 3-5 ซม. เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศที่วางไว้ใกล้ต้นไม้ และเซนเซอร์วัดความสว่างความเข้มแสงตั้งไว้บริเวณข้างกระถางต้นไม้ จากนั้นเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานต่าง ๆ โดย</p> <p>1) เขียนโปรแกรมควบคุมเซนเซอร์ส่งค่าความเข้มแสงโดยทำการเปิด-ปิดไฟ บริเวณที่วางกระถางต้นไม้ ซึ่งเซนเซอร์สามารถส่งค่าความเข้มแสงมายังไลน์โนติฟายได้</p> <p>2) เขียนโปรแกรมควบคุมเซนเซอร์ส่งค่าความชื้นในดินโดยการรดน้ำลงในกระถางที่มีเซนเซอร์ปักอยู่ในดิน <br />ซึ่งเซนเซอร์สามารถส่งค่าความชื้นในดินมายังไลน์โนติฟายได้</p> <p>3) เขียนโปรแกรมควบคุมเซนเซอร์ส่งค่าความชื้นในอากาศ <br />โดยฉีดสเปรย์น้ำไปยังบีกเกอร์และนำบีกเกอร์วางทับบนเซนเซอร์ ซึ่งเซนเซอร์สามารถส่งค่าความชื้นในอากาศมายังไลน์โนติฟายได้ จากนั้นทำการทดลองโดยเขียนโปรแกรมควบคุมการส่งข้อมูลจากเซนเซอร์ทั้ง 3 ตัวของต้นแบบไปยังไลน์โนติฟายพร้อมกันทุก 1 นาที เซนเซอร์ทั้ง 3 ตัวสามารถส่งค่าไปยังไลน์โนติฟายได้ และทำการทดลองโดยเขียนโปรแกรมควบคุมการส่งข้อมูลจากเซนเซอร์ทั้ง 3 ตัวของต้นแบบไปยังไลน์โนติฟายเวลา 8.00 น. 12.00 น. และ 16.00 น. เพื่อรายงานผลประจำวัน ซึ่งเซนเซอร์สามารถส่งข้อมูลตามเวลาที่กำหนดได้ ดังนั้นต้นแบบที่สร้างขึ้นทำงานได้ถูกต้องตามโปรแกรมที่เขียนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลต้นอโลคาเซีย ดราก้อนสเกลได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลต้นไม้ที่ได้รับการแจ้งเตือนจากไลน์โนติฟายจะสามารถดูแลต้นอโลคาเซีย ดราก้อนสเกลให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี