สิ่งแวดล้อมไทย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej <p style="font-weight: 400;">สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้</p> <ul> <li>การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</li> <li>การจัดการเมือง</li> <li>การจัดการของเสียและขยะ</li> <li>การป้องกันและควบคุมมลพิษ</li> <li>การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม</li> <li>นโยบายสิ่งแวดล้อม</li> <li>สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ</li> </ul> <p style="font-weight: 400;"> </p> <p style="font-weight: 400;">เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป</p> <p> </p> <p> </p> th-TH <p style="font-weight: 400;">บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/">Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License</a> บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ</p> ej@chula.ac.th (กองบรรณาธิการ) ej@chula.ac.th (กองบรรณาธิการ) Thu, 27 Jun 2024 19:13:28 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืนด้วยแนวทาง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนสวนลุมพินี เขตปทุมวัน https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/1240 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเครื่องฟอกอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้ในการลดความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในห้องที่มีแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากด้านนอกอาคารเมื่อใช้เครื่องฟอกภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอันได้แก่ ระดับการรั่วไหลของอากาศเข้าออกอาคาร และ ระดับของฝุ่นละอองด้านนอกอาคาร วิธีการศึกษาใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สมการสมดุลมวลแบบถังปฏิกิริยาการไหลกวนผสมอย่างสมบูรณ์ เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นฝุ่นละอองภายในห้องพื้นที่ 12 ตารางเมตร ในช่วงเวลาตั้งแต่ 0 ถึง 2 ชั่วโมงตามฉากทัศน์ที่สร้างขึ้นบนสมมติฐานว่าภายในห้องไม่มีแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองใด แหล่งกำเนิดมาจากภายนอกอาคารเพียงอย่างเดียว และเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในแบบจำลองมีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ห้องที่ใช้ ผลการพยากรณ์ด้วยแบบจำลองแสดงให้เห็นว่า อัตราการรั่วไหลของอากาศเข้าออกห้องที่เพิ่มขึ้นและความเข้มข้นฝุ่นละอองภายนอกอาคารที่สูงขึ้น จะลดทอนความสามารถของเครื่องฟอกอากาศในการควบคุมฝุ่นละอองภายในห้องให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้</p> Nuta Supakata Copyright (c) 2024 วารสารสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/1240 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้เครื่องฟอกอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้สำหรับลดความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในห้อง https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/1260 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเครื่องฟอกอากาศแบบเคลื่อนย้ายได้ในการลดความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในห้องที่มีแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากด้านนอกอาคารเมื่อใช้เครื่องฟอกภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอันได้แก่ ระดับการรั่วไหลของอากาศเข้าออกอาคาร และ ระดับของฝุ่นละอองด้านนอกอาคาร วิธีการศึกษาใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สมการสมดุลมวลแบบถังปฏิกิริยาการไหลกวนผสมอย่างสมบูรณ์ เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นฝุ่นละอองภายในห้องพื้นที่ 12 ตารางเมตร ในช่วงเวลาตั้งแต่ 0 ถึง 2 ชั่วโมงตามฉากทัศน์ที่สร้างขึ้นบนสมมติฐานว่าภายในห้องไม่มีแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองใด แหล่งกำเนิดมาจากภายนอกอาคารเพียงอย่างเดียว และเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในแบบจำลองมีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ห้องที่ใช้ ผลการพยากรณ์ด้วยแบบจำลองแสดงให้เห็นว่า อัตราการรั่วไหลของอากาศเข้าออกห้องที่เพิ่มขึ้นและความเข้มข้นฝุ่นละอองภายนอกอาคารที่สูงขึ้น จะลดทอนความสามารถของเครื่องฟอกอากาศในการควบคุมฝุ่นละอองภายในห้องให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้</p> Maneerat Ongwandee Copyright (c) 2024 วารสารสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/1260 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 เมื่อนกน้อยในกรงทองส่งข่าวถึงผลกระทบของขยะทะเลจากการเกาะติด พันรัด และกักขัง https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/1305 <p>ปัจจุบันมีขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งและล่องลอยอยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก แค่ในปี พ.ศ. 2564 มีขยะถูกทิ้งผ่านแม่น้ำลงสู่อ่าวไทยมากถึง 95 ล้านชิ้น ซึ่งมีการประมาณการไว้ว่าในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) จะมีน้ำหนักขยะในมหาสมุทรมากกว่าน้ำหนักสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเสียอีก สถานการณ์ที่มีขยะมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผลกระทบจากขยะมีความชัดเจนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว บทความนี้กล่าวถึงข่าวสารที่ได้รับจากทะเล ถึงผลกระทบจากขยะพลาสติกในมหาสมุทร ที่ไม่ได้เกิดจากการเผลอกินเข้าไปเท่านั้น แต่เป็นผลกระทบในรูปแบบของการเกาะติด พันรัด และกักขัง ด้วยสมบัติของพลาสติกที่สามารถลอยน้ำได้ มีความคงทนสูง และมีมากมายมหาศาลจนเป็นเสมือนส่วนเกินที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ ขยะพลาสติกกลายเป็นที่อยู่ใหม่และเป็นพาหนะที่นำพาสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ติดไปกับมันไปยังพื้นที่อันห่างไกล พาเอาสิ่งมีชีวิตจากระบบนิเวศน้ำจืดไปตายที่ระบบนิเวศน้ำเค็ม พาเอาไข่ ตัวอ่อน และสัตว์ต่าง ๆ ที่เกาะติดมาแห้งตายที่ชายหาด พาเอาสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นไปเป็นชนิดพันธุ์รุกรานในพื้นที่อื่น ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ขยะพลาสติกยังเป็นตัวการสำคัญในการติดพันกักขังสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศทางทะเล ไม่ว่าจะเป็น เต่าทะเล นกทะเล นากทะเล แมวน้ำ วัวทะเล สิงโตทะเล วาฬ โลมา ปลาฉลาม รวมไปถึงการกักขังพันรัดสัตว์ในแนวปะการังเช่น กลุ่มปลา งูทะเล ปู หมึก และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกหลายชนิด ส่งผลต่อการเติบโตที่ผิดปกติและนำไปสู่ความตาย รวมไปถึงการทำลายแนวปะการังจากการติดพันโดยอุปกรณ์การประมง ระบบนิเวศที่ห่างไกลผู้คนกลับถูกขยะพัดพาไปทับถมเกิดความเสียหายเนื่องจากสิ่งมีชีวิตในที่นั้นไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปริมาณการตายของสิ่งมีชีวิตจากขยะพลาสติกที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร บทความนี้ได้รวบรวมการศึกษาต่าง ๆ ที่บ่งชี้ถึงผลกระทบที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากผู้ส่งสารตัวน้อยในขยะขวดน้ำดื่มใบหนึ่ง</p> ศีลาวุธ ดำรงศิริ, ยศวดี ฮะวังจู Copyright (c) 2024 วารสารสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/1305 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพการดำเนินงาน SECA โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/2932 <p>งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการหาประสิทธิภาพของกิจกรรมสถานบริการสาธารณสุขลดโลกร้อนรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยหลักการพลังงานอัจฉริยะหรือ SECA ของโรงพยาบาลท่าคันโท โดยใช้เครื่องมือในการคำนวณคือ Data Envelopment Analysis (DEA) โดยกิจกรรมที่ให้ค่าคะแนนประสิทธิภาพสูงสุดคือ Telemedicine และการติดตั้งหลอดไฟยาว LED ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีปริมาณการดำเนินงานตามกิจกรรมดังกล่าวให้มากขึ้น งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานดังนั้นหน่วยงานอื่นๆ ที่ใกล้เคียงสามารถนำรูปแบบการวิจัยไปปรับใช้ในการศึกษารวมถึงการดำเนินงานได้</p> Yotaek Chaiyarit Copyright (c) 2024 วารสารสิ่งแวดล้อม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/2932 Wed, 03 Jul 2024 00:00:00 +0700