https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/issue/feed
สิ่งแวดล้อมไทย
2024-12-27T13:52:31+07:00
กองบรรณาธิการ
thaienvi@chula.ac.th
Open Journal Systems
<p style="font-weight: 400;">สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้</p> <ul> <li>การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</li> <li>การจัดการเมือง</li> <li>การจัดการของเสียและขยะ</li> <li>การป้องกันและควบคุมมลพิษ</li> <li>การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม</li> <li>นโยบายสิ่งแวดล้อม</li> <li>สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ</li> </ul> <p style="font-weight: 400;"> </p> <p style="font-weight: 400;">เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป</p> <p> </p> <p> </p>
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/3420
การจัดการของเสียในโรงเรียนสู่จังหวัดสะอาด
2024-11-28T14:38:11+07:00
mongkolchai assawadithalerd
mongkolchai.a@gmail.com
จุฬาลักษณ์ ชาญกูล
Chulalak@pnru.ac.th
ภัทรมาศ เทียมเงิน
phattharamat.t@rmutsb.ac.th
ปิติพร มโนคุ้น
pitiporn.m@rmutsb.ac.th
<p>ด้วยการมุ่งสู่การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างวินัยการจัดการขยะอย่างยั่งยืน โรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาเยาวชนสู่ครอบครัวและสังคมในการจัดการขยะสู่การลดขยะให้เหลือศูนย์ และต่อยอดไปในระดับจังหวัด โดยโรงเรียนมีนโยบายการจัดทำโรงเรียนปลอดขยะและขยายผล<br />ในทุกโรงเรียนของจังหวัด ซึ่งสอดรับกับมาตรการ “จังหวัดสะอาด” ที่ให้โรงเรียนดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายในด้านการจัดการขยะต้นทาง หากโรงเรียนดำเนินการเองจะดำเนินงานได้อย่างมีข้อจำกัด ทำให้ต้องเกิดกระบวนการความร่วมมือ พัฒนา โดยอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังจากสามฝ่ายแบบบูรณาการ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และภาคเอกชน (ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า โรงงานอุตสาหกรรม เอกชนทั้งนอกและในพื้นที่) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝ่ายการศึกษา อาจมีบทบาทมากขึ้นในการร่วมเก็บข้อมูล และขยายผลดำเนินการในทุกโรงเรียนเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลระดับจังหวัด ทั้งในด้านการลดการใช้ทรัพยากร เศรษฐกิจหมุนเวียน การผลิตเป็นพลังงาน (ถ้ามี) การคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจก และการสร้างเครือข่ายเอกชนที่รับของเสียจากโรงเรียนในพื้นที่ที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมไทย
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/3436
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกครั้งเดียวทิ้งของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ในกิจกรรมถนนคนเดินโดยการใช้เกมจับฉลาก
2024-12-05T01:11:57+07:00
พรพิมล สุราช
pornpimon19947@gmail.com
ธนัชพร หิรัญกุล
thanutchaporn.hir@gmail.com
Nattapong Tuntiwiwattanapun
nattapong.t@chula.ac.th
<p style="font-weight: 400;">กิจกรรม Green Lucky ที่จัดขึ้น ณ ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน เป็นการใช้เกมจับฉลาก เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) ของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โดยตั๋วจับฉลากของ Green Lucky สามารถส่งเสริมทางเลือกให้กับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น ย่อยสลายได้ หรือสามารถขายได้) ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาที่สูงกว่าพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) กิจกรรมนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคผ่านบัตรส่วนลดและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากขยะ (Upcycling Product) ซึ่งเป็นของรางวัลที่ได้จากกิจกรรมการจับฉลาก Green Lucky ทำให้เกิดความต้องการตั๋วจับฉลาก Green Lucky จากผู้บริโภค (Demand Driving) ส่งผลให้ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มมีแรงจูงใจในการเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีแนวทางการลดการใช้ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) เพื่อให้มีสิทธิรับโควตาตั๋วจับฉลาก Green Lucky โดยกิจกรรม Green Lucky สามารถลดปริมาณขยะไปยังหลุมฝังกลบได้ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการดำเนินกิจกรรม นอกจากนั้น พฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มหลังสิ้นสุดกิจกรรมไปแล้ว 1 เดือน ยังคงเหมือนกับช่วงระหว่างการดำเนินกิจกรรม Green Lucky ซึ่งแตกต่างจากกิจกรรมอื่น ๆ ที่ให้งบสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ แต่ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของร้านอาหารและเครื่องดื่มได้ แม้ว่างบประมาณในการจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky จะมีต้นทุนสูงกว่างบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การพัฒนากลไกการให้ของรางวัล เช่น ราคาของตั๋วส่วนลด และสัดส่วนของตั๋วส่วนลดมูลค่าต่าง ๆ เป็นต้น อาจช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky อนาคตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมไทย
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/3162
การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน
2024-08-20T08:36:12+07:00
นภาพร อยู่ยืน
wilailuk.n@chula.ac.th
อกนิษฐ์ รัตนโมลี
wilailuk.n@chula.ac.th
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
wilailuk.n@chula.ac.th
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
wilailuk.n@chula.ac.th
มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ
wilailuk.n@chula.ac.th
ถิราภา ภราดรธรรม
wilailuk.n@chula.ac.th
ทิพาพิชญาณัสม์ คู่วัจนกุล
wilailuk.n@chula.ac.th
สุทิศา สมิทธิเวชรงค์
wilailuk.n@chula.ac.th
<p>กรมควบคุมมลพิษได้รายงานข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยทั่วประเทศ โดยระบุว่าในปี 2566 มีขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ 12,748 ตัน/วัน ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ประโยชน์จำนวน 3,940 ตัน/วัน เช่น นำไปหมักทำปุ๋ยหรือรีไซเคิล คิดเป็นประมาณร้อยละ 31 ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมและจุดนัดพบ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยว ในรูปแบบต่างๆ และเนื่องจากเป็นสถานที่รวบรวมผู้คนและนักท่องเที่ยวและศูนย์รวมร้านค้าจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งที่สำคัญอีกหนึ่งแหล่งที่ก่อให้เกิดขยะจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้นบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงผลของการศึกษาปริมาณของขยะทั่วไปและขยะรีไซเคิล กรณีศึกษาศูนย์การค้าซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ โดยผลการศึกษาจะเสนอแนะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะของศูนย์การค้า มุ่งสู่การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ต่อไป จากผลการศึกษาศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน มีปริมาณขยะต่อเดือนอยู่ที่ 170,000 กิโลกรัม หรือ 170 ตัน ซึ่งมีอัตราการรีไซเคิลเพียงร้อยละ 7.48 และเกิดขยะทั่วไปเฉลี่ย 4,851.43 กิโลกรัมต่อวัน จึงได้มีการวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุและข้อจำกัด พบว่าหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานในร้านค้าเช่าในพื้นที่ศูนย์การค้าได้ เช่นการกำหนดให้คัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้งที่จุดพักขยะ การเก็บค่าขยะตามปริมาณ/จำนวนถุงและยากต่อการพัฒนาแนวทางการจัดการขยะในพื้นที่ศูนย์การค้า</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมไทย
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/3355
การประเมินคุณภาพน้ำดื่มจากตู้กดน้ำดื่มประเภทต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษา
2024-11-12T08:49:50+07:00
ญาณสินี สุมา
Pradabduang.k@fph.tu.ac.th
กฤติกา ณ ลำปาง
Pradabduang.k@fph.tu.ac.th
ศิริวรรณ บุดดี
Pradabduang.k@fph.tu.ac.th
สุภาวิณี ศรีคำ
Pradabduang.k@fph.tu.ac.th
ประดับดวง เกียรติศักดิ์ศิริ
pradabduang.k@fph.tu.ac.th
<p>การบริโภคน้ำดื่มจากตู้กดน้ำดื่มที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากรในสถาบันการศึกษา ดังนั้นการศึกษานี้จึงทำการประเมินคุณภาพน้ำดื่มจากตู้กดน้ำดื่มภายในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง โดยเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากจุดบริการต่าง ๆ รวม 29 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ค่าความขุ่น ความเป็นกรด-ด่าง ความกระด้างทั้งหมด โคลิฟอร์มแบคทีเรีย และอี. โคไล และเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างน้ำดื่มทั้งหมดมีค่าความขุ่นและความเป็นกรด-ด่างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีตัวอย่างน้ำดื่มร้อยละ 10 ที่พบค่าความกระด้างทั้งหมดเกินเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อทำการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจำนวน 18 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางจุลชีววิทยา พบว่าตัวอย่างน้ำดื่มร้อยละ 11 มีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และร้อยละ 22 พบการปนเปื้อนเชื้ออี. โคไล จากการประเมินสุขลักษณะของตู้กดน้ำดื่ม พบว่าตู้กดน้ำดื่มทั้งหมดยังไม่ถูกสุขลักษณะในหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องสถานที่ตั้ง การควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภค การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงควรมีแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่ม เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ดื่มน้ำที่สะอาดและปลอดภัย</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมไทย
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ej/article/view/3380
ความรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพอากาศภายในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
2024-11-26T19:01:29+07:00
Maneerat Ongwandee
maneerat.ong@nmu.ac.th
กมลชัย ยงประพัฒน์
kamonchai@nmu.ac.th
<p>การสำรวจความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ที่เกี่ยวข้องของครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (ศพด.) ในสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีงบประมาณ 2567 ทำการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย จำนวน 231 คน ในระหว่างกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2567 ผลสำรวจข้อมูลครูผู้ดูแลเด็กพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีประสบการณ์ทำงานประมาณ 14 ปี ระดับการศึกษาครูในโรงเรียนร้อยละ 90 มีคุณวุฒิปริญญาตรีและสูงกว่า ในขณะที่ครู ศพด. ร้อยละ 68.4 มีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารประมวลจากคะแนนเฉลี่ยที่ตอบได้ถูกต้อง ครูโรงเรียนได้คะแนนร้อยละ 64.9 ครู ศพด. ได้คะแนนร้อยละ 67.6 จัดอยู่ในระดับ ‘ปานกลาง’ ตามวิธีอิงเกณฑ์ของบลูม (Bloom) โดยครูส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการระบายอากาศและผลกระทบจากห้องปิดทึบ ส่วนระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของครู ศพด. ประมวลด้วยมาตรวัดลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ พบว่ามีความรอบรู้ระดับ ‘ต่ำ’ (ร้อยละ 57.7) แสดงออกถึงความ ‘ยาก’ ของครู ศพด. ในการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ ในการทำความเข้าใจและตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำไปใช้ดำเนินการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารหรือในห้องเด็ก รวมถึงความยากในการสื่อสารคุณภาพอากาศภายในอาคารให้กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองเด็ก เป็นต้น</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมไทย