วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ </strong><strong>: </strong></p> <p>วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong><strong> </strong><strong>: </strong></p> <p>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 3 ท่าน โดยทั้งผู้นิพนธ์ (Author) และผู้ประเมิน (Reviewer) ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong><strong> </strong><strong>: </strong>บทความวิชาการ, บทความวิจัย</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong> <strong>: </strong>ไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก</strong><strong> </strong><strong>: </strong><span style="font-size: 0.875rem;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับ ต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม</span></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</strong> : ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</p> th-TH <p>บทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ได้ตอบรับการตีพิมพ์ถือเป็นลัขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์</p> ajsas@uru.ac.th (Associate Professor Dr. Issara Inchan) ajsas@uru.ac.th (Piyada Thepsathon) Mon, 20 Jan 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติก พีอีที เป็นส่วนผสมในคอนกรีต https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3461 <p>พลาสติกเป็นวัสดุที่มีประโยชน์ในด้านอุตาหากรรมก่อสร้างที่มีใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากคุณสมบัติของพลาสติกมีความคงทนต่อกรดและด่าง มีความแข็งแรง สามารถขึ้นรูปทรงได้หลากหลายตามความต้องการ และที่สำคัญเป็นวัสดุที่สามารถทดแทนวัสดุธรรมชาติได้ ในทางตรงกันข้ามถึงแม้พลาสติกจะมีประโยชน์มากมาย แต่หากบริหารจัดการไม่ดีแล้วก็จะผลเสียในระยะยาวได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาในการย่อยสลายยาวนานมากว่า 100 ปี แต่ถ้าเกิดการย่อยสลายไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายสิ่งมีชีวิตส่งผลให้อายุไขสั้นลง อย่างไรก็ตามการกำจัดขยะพลาสติกสามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตน้อยที่สุดคือการนำเอาขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งในการรีไซเคิลขยะพลาสติกที่ไม่มีมูลค่าในเชิงพานิชให้ได้ปริมาณที่มาก หนึ่งในนั้นคือการนำขยะพลาสติกมาแทนที่วัสดุก่อสร้าง ซึ่งในปัจจุบันการก่อสร้างมีการขยายงานมากขึ้น หากนำขยะพลาสติกมาใช้เป็นวัสดุทดแทนในงานก่อสร้างจะช่วยลดขยะพลาสติกลงไปมากและรวดเร็ว ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงใช้ขยะพลาสติกที่มีปริมาณมากอย่างเช่นขยะพลาสติกประเภท PET ที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด 19 จากการทำงานที่บ้าน แล้วต้องสั่งอาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกมาทานทุกวันจึงทำให้ประมาณขยะพลาสติกเพิ่มสูงขึ้น 300 % ของปริมาณขยะตามปกติ ด้วยเหตุนี้จึงนำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นขยะพลาสติก PET มาทดแทนวัสดุก่อสร้างในคอนกรีต โดยบดย่อยให้มีขนาดเล็กลงและแทนที่ทรายซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้าง ในการดำเนินงานวิจัยนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ ขั้นตอนที่ 1 จะใช้อัตราส่วนการแทนที่ขยะพลาสติก 0% , 10% , 20% และ 30% โดยปริมาตร และทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดในรูปแบบมอร์ต้า จากนั้นนำช่วงอัตราส่วนที่เหมาะสมไปใช้ออกแบบในขั้นตอนต่อไป ขั้นตอนที่ 2 นำอัตราส่วนที่เหมาะสมในขั้นตอนแรกมาใช้เป็นอัตราส่วนการออกแบบและทดสอบค่ากำลังรับแรงอัดในรูปแบบของคอนกรีตลูกบาศก์ ผลการทดสอบที่ได้ ค่ากำลังรับแรงอัดของอัตราส่วนคอนกรีตที่เหมาะสมในรูปแบบมอร์ต้าคือ 10% ซึ่งมีค่ากำลังรับแรงอัดลงลงเพียง 8.7% และทดสอบในขั้นตอนที่ 2 โดยใช้อัตราส่วนการแทนที่ของพลาสติกเท่ากับ 0% และ 10% โดยปริมาตร และใช้การออกแบบให้ได้กำลังรับแรงอัดที่ต่ำที่สุดของคอนกรีตคือ 240 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตร ซึ่งผลสรุปได้ว่าเมื่อนำขยะเข้าไปแทนที่อัตราส่วน 10% จะทำให้กำลังรับแรงอัดลดลงเพียง 10.06% ดังนั้นในการนำขยะไปใช้ในการออกแบบแทนที่วัสดุทรายจะใช้การออกแบบที่อัตราส่วน 10% โดยปริมาตร</p> คุณธรรม สันติธรรม, เวชสวรรค์ หล้ากาศ, ภควดี โอสถาพร, ณุตะพงษ์ ฮีราโน Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3461 Mon, 27 Jan 2025 00:00:00 +0700 Enhancement of Phenolic Extraction and Antioxidant Activity from Field Corn Cobs Using Ultrasound-Assisted Extraction for Sustainable Valorization https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3629 <p>Field corn cobs, a major agricultural byproduct, are rich in phenolic compounds with antioxidant potential. The aim of this study was to optimize phenolic extraction from field corn cobs using ethanol and ultrasound-assisted ethanol extraction (UAE). Compared to conventional extraction, UAE improved efficiency while reducing time. The optimal condition for phenolic extraction was UAE with 50% ethanol, 37 kHz frequency, 50°C, and 60 minutes. The field corn cob extract showed the highest total phenolic content at 24.38 mg GAE/g extract, and the inhibitory concentration (IC<sub>50</sub>) of DPPH was 2.48 mg/mL. Even though the IC<sub>50</sub> value of field corn cob extract is lower than that of ascorbic acid (29.16 µg/mL). This research highlights the sustainable use of corn cobs as a natural antioxidant source for industrial applications.</p> Jiraporn Ketwaraporn, Nuntana Boonsanong, Thidakaew Kaewbanpot Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3629 Fri, 21 Mar 2025 00:00:00 +0700