https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/issue/feed วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2024-12-26T12:44:09+07:00 Associate Professor Dr. Issara Inchan ajsas@uru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ </strong><strong>: </strong></p> <p>วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong><strong> </strong><strong>: </strong></p> <p>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 3 ท่าน โดยทั้งผู้นิพนธ์ (Author) และผู้ประเมิน (Reviewer) ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong><strong> </strong><strong>: </strong>บทความวิชาการ, บทความวิจัย</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong> <strong>: </strong>ไทย, ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก</strong><strong> </strong><strong>: </strong><span style="font-size: 0.875rem;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับ ต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม</span></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</strong> : ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3464 การพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง 2024-12-26T12:44:09+07:00 วิฑูร สนธิปักษ์ withoon@nsru.ac.th ชม ปานตา chom.p@nsru.ac.th ภาสกร วรอาจ phassakorn.w@nsru.ac.th ถิรภัทร มีสำราญ thiraphat.m@nsru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง 3 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression: LR) เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network: ANN) และเทคนิคการสุ่มป่าไม้ (Random Forest: RF) ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยปัจจัย 9 ตัวแปร ซึ่งเก็บรวบรวมจากสถานีตรวจคุณภาพอากาศในพื้นที่โครงการชลประทานนครสวรรค์ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เทคนิคการสุ่มป่าไม้ (RF) มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพยากรณ์ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) เท่ากับ 18.96 ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยกำลังสอง (RMSE) เท่ากับ 4.35 และสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (<em>R<sup>2</sup></em>) เท่ากับ 0.83 การใช้ตัวแบบพยากรณ์นี้ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถวางแผนเชิงรุกเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3331 การรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2024-10-31T13:43:56+07:00 วชากร นพนรินทร์ wachakornkpru@gmail.com นเรศ ขำเจริญ Nareskh69@gmail.com ราตรี โพธิ์ระวัช ratri_p@gmail.com เกตุวรี สิมวิวัฒน์ Karwaree_S@gmail.com กรกนก สิมวิวัฒน์ Kornkanok_S@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรยามาเน่ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.90 มีอายุเฉลี่ย 20.32±1.24 ปี &nbsp;&nbsp;โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุ 19 ปี มากที่สุด ร้อยละ 35.10 ศึกษาอยู่คณะครุศาสตร์ ร้อยละ 31.60 อยู่ระดับชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 27.50 มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล คือ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ร้อยละ 89.40 มีความรู้เกี่ยวกับบริการด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัย คือ ประกันอุบัติเหตุ มากที่สุด ร้อยละ 36.10 และมีความรู้เกี่ยวสถานที่ใช้บริการสุขภาพของ คือ กองพัฒนาการศึกษา (SAC) ร้อยละ 80.40 และการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษา มหาลัยราชภัฏกำแพงเพชร อยู่ในระดับมาก (x = 3.77, S.D. = 1.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการที่ทุกคนที่มีสัญชาติไทยจะได้รับสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.82, S.D. = 0.85) รองลงมา คือ บัตรประชาชนเลข 13 หลักสามารถใช้ในการขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ โดยอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.63, S.D. = 1.40) และสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและการรักษาภาวะซึมเศร้า เป็นข้อที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดโดยอยู่ในระดับปานกลาง (x = 2.95, S.D. = 2.13) ตามลำดับ</p> 2024-12-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3277 การใช้สารให้ความคงตัวเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้าข้าวกล้องงอกผสมใบเตย 2024-10-04T13:22:53+07:00 บุณยกฤต รัตนพันธุ์ boonyakrit.kpru@gmail.com วชิระ สิงห์คง boonyakrit.kpru@gmail.com ชูเกียรติ เนื้อไม้ boonyakrit.kpru@gmail.com พิมพ์ชนก พริกบุญจันทร์ boonyakrit.kpru@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสารให้ความคงตัวที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำข้าวกล้องงอกผสมใบเตย โดยศึกษาชนิดของสารให้ความคงตัว 2 ชนิด ได้แก่ คาร์ราจีแนนและคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส แปรปริมาณสารให้ความคงตัวชนิดละ 3 ระดับ ได้แก่ 0.03 0.05 และ 0.07 เปอร์เซ็นต์ พบว่า การใช้ คาร์ราจีแนน 0.05 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำข้าวกล้องงอกผสมใบเตย ที่มีค่าพีเอช เท่ากับ 5.99 ± 0.01 ค่าความหนืด 42.81 ± 0.58 cP ค่าการแยกชั้น 0.46 ±0.03 เครื่องดื่มที่ได้มีสีเขียวเข้มออกเหลือง โดยค่าสี L* a* b* ที่วัดได้คือ 35.11 ± 0.98 0.84 ±0.16 และ 12.26 ±0.23 ตามลำดับ และได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากผู้ทดสอบในทุกคุณลักษณะที่ทดสอบ ได้แก่ สี กลิ่น รสชาติ ความหนืด และความชอบโดยรวม เมื่อศึกษาอายุการเก็บรักษา พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำข้าวกล้องงอกผสมใบเตยสามารถเก็บได้ประมาณ 7 วัน ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส โดยผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำข้าวกล้องงอกผสมใบเตย มีคุณภาพทางเคมี จุลินทรีย์ และประสาทสัมผัสเป็นที่ยอมรับของผู้ทดสอบ</p> 2024-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/ajsas/article/view/3453 การพัฒนาแผ่นแหนมเนืองจากแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่และแป้งข้าวเหนียวลืมผัว 2024-12-12T11:05:12+07:00 หยาดฝน ทนงการกิจ narissara_wic@cmru.ac.th กาญจนา นาคประสม narissara_wic@cmru.ac.th ปริญ คงกระพันธ์ narissara_wic@cmru.ac.th นริศรา วิชิต narissara_wic@cmru.ac.th <p>ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวเหนียวลืมผัวในการผลิตแผ่นแหนมเนืองของวิสาหกิจชุมชนยางกะไดใต้ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้การวางแผนการทดลองแบบผสมทำให้มีสัดส่วนของแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวลืมผัวในการศึกษาครั้งนี้ทั้งหมด 9 สูตร นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาสมบัติทางเคมีซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เถ้า เส้นใย ความชื้น แอนโธไซยานินและอะไมโลส สมบัติทางกายภาพซึ่งได้แก่ ค่าความอุ้มน้ำ แรงดึงและสี และการประเมินทางด้านประสาทสัมผัสของแผ่นแหนมเนืองที่ผลิตจากข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวลืมผัว โดยผลการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มสัดส่วนของแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการผลิตแผ่นแหนมเนืองจะส่งผลให้มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต ปริมาณอะไมโลส ค่าการอุ้มน้ำและค่าแรงดึงเพิ่มมากขึ้นแต่มีปริมาณโปรตีนลดลง ส่วนปริมาณเถ้า เส้นใย ความชื้น แอนโธไซยานินและค่าสีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทุกสูตรการทำแผ่นแหนมเนือง นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากคะแนนผลการประเมินทางประสาทสัมผัสพบว่า แผ่นแหนมเนืองที่มีคะแนนความชอบมากที่สุดมีสัดส่วนของข้าวไรซ์เบอร์รี่:ข้าวเหนียวลืมผัว:แป้งมัน เท่ากับ 83:16:1</p> 2024-07-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์