วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU
<p><strong>วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์</strong><br />ISSN 3027-7957 (Online)<br /><br /><strong>สาขาขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์:</strong><br /> วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้สำคัญในศาสตร์สาขาวิชาด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ สหวิทยาการ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและการออกแบบ รวมถึงงานวิจัยที่มีการ บูรณาการศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง<br /><br /><strong>ครอบคลุมสาขาที่เกี่ยวข้อง :<br /></strong> สาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรม และนวัตกรรม ได้แก่ เทคโนโลยีอุตสาหการ เทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีสำรวจและภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมบริหาร งานก่อสร้าง เทคโนโลยีก่อสร้าง โยธา วิศวกรรมโลจิสติกส์ วิศวกรรมการจัดการพลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์กับชุมชนและท้องถิ่น<br /><br /><strong>ประเภทบทความที่เปิดรับ: </strong>ตีพิมพ์ผลงาน 2 ประเภท ได้แก่<strong><br /></strong> บทความวิจัย (Research Article)<br /> บทความวิชาการ (Academic Article)<br /><br /><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารมีการตรวจสอบและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-reviews) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ โดยผูัทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blinded Peer review) ผ่านระบบ ThaiJO</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉ</strong>บับที่ 1 ช่วงเดือน มกราคม – มิถุนายน <br />ฉบับที่ 2 ช่วงเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong><br /> ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม<br /><br /><strong>บรรณาธิการวารสาร</strong><br />รองศาสตราจารย์ ดร.กันต์ อินทุวงศ์ <br />คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์<br />เลขที่ 27 ถนนอินจมี ตำบลท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์<br />โทรศัพท์สายตรง: 081-5952497<br />Email: jit_uru@uru.ac.th</p> <p><br /><br /></p> <p> </p> <p> </p>
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
th-TH
วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
3027-7957
-
การพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการจัดการพลังงานสะอาดที่เหมาะสมสำหรับชุมชน กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/1098
<p>งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดสำหรับชุมชนและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับศักยภาพในพื้นที่แบบพึ่งพาตนเอง โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของชุมชนตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นกรณีศึกษา จากการสำรวจพื้นที่เป้าหมายพบว่า อุปกรณ์ทางการเกษตรที่มีความต้องการในการใช้งานสูงได้แก่ เครื่องสูบน้ำและเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ออกแบบระบบไฟฟ้าที่ใช้แหล่งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการสูบน้ำและการสีข้าวสำหรับครัวเรือน ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้สนใจเข้าอบรมไม่ได้มาจากอาชีพเกษตรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นคนที่มีความต้องการศึกษาเรียนรู้การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีพลังงานสะอาดสำหรับการเกษตร เพื่อจะนำไปใช้ลดต้นทุนด้านพลังงานของการสูบน้ำในพื้นที่และการลดค่าไฟฟ้าของเครื่องสีข้าวกล้องของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของตนเอง มีความพึงพอใจในเรื่องการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมากที่สุด โดยมีผลความพึงพอใจเฉลี่ย 4.55 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และมีความพึงพอใจในเรื่องระยะเวลาในการอบรมน้อยที่สุด โดยมีผลความพึงพอใจเฉลี่ย 4.13 แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และยังมีความต้องการที่จะนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือทางการเกษตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานในทำการเกษตรให้มากขึ้น</p>
วีระพล คงนุ่น
รัฐพล ดุลยะลา ดุลยะลา
ธนัตถา กรพิทักษ์
สุรพงษ์ หรรษนันท์
พุทธดี อุบลศุข
พิชัย ใจกล้า
ยสินทินี เอมหยวก
มานิตย์ จันมี
Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
1
12
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรวิสาหกิจชุมชน บ้านเกาะโสภี ตำบลหนองนางนวล อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/3413
<p> การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ปัญหา แนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การจัดเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า บ้านเกาะโสภี ตำบลหนองนางนวล อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่ 1,213 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะกับการทำนา ในแต่ละครัวเรือนของสมาชิกมีการปลูกพื้นสมุนไพรต่าง ๆ ที่สามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีจำนวน 20 ชนิด ปัญหาที่พบ ได้แก่ 1) การขาดความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น 2) ยังขาดการสนับสนุนเงินทุน จากหน่วยงานภายนอก ซึ่งอาจส่งผลต่อความยั่งยืนของกลุ่มด้วยอีกทางหนึ่ง 3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังขาดเครื่องมือ วัสดุ/อุปกรณ์ วัตถุดิบที่จะช่วยสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ 4) ไม่มีตลาดในการรองรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น และช่องทางการตลาดค่อนข้างจำกัด</p> <p> คณะผู้วิจัย ผู้นำ และสมาชิกกลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจบ้านเกาะโสภี ซึ่งทำให้สมาชิกภายในกลุ่มวิสาหกิจมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น และทําให้สังคมของชุมชนเปลี่ยนแปลงใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้เพิ่มรายได้จากอาชีพเสริม ซึ่งทําให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจในครัวเรือนแต่ละครัวเรือนสามารถนำสมุนไพรภายในครัวเรือนมาต่อยอดและตระหนักถึงการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน และเมื่อเกิดความยั่งยืนในชุมชนยังมีการถ่ายทอดออกไปยังชุมชนอื่น ๆ</p>
ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ
สุรชัย บุญเจริญ
มนตรี ใจเยี่ยม
สนธยา แพ่งศรีสาร
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
13
24
-
ประสิทธิภาพการตัดผิวเหล็กอุตสาหกรรมด้วยเครื่องกัดซีเอ็นซีขนาดเล็ก
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/1986
<p>การวิจัยนี้เพื่อหาประสิทธิภาพของการกัดเหล็กอุตสาหกรรมเกรด SS41 บนเครื่องกัด Milling mini CNC มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียล และเพื่อเปรียบเทียบผลการทดลองประสิทธิภาพของดอกกัดชนิด A และดอกกัดชนิด B ที่มีการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลองของระดับปัจจัย 3 ปัจจัย คือ ความเร็วรอบดอกกัด ชุดความเร็วรอบของแกน X, Y และ Z ระยะป้อนลึกการกัดชิ้นงาน และมีการออกแบบเชิงแฟกทอเรียลแบบ 2<sup>3 </sup> วิเคราะห์ผลด้วยวิธี ANOVA แบบ 2 ทาง และหาค่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างทรีทเมนต์ A และทรีทเมนต์ B โดยตั้งสมมติฐาน 2 สมมติฐาน จากการวิจัย พบว่า สมมติฐานที่ 1 ดอกกัดชนิด A กับดอกกัดชนิด B ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยค่า F เปิดตารางค่าวิกฤต เท่ากับ 5.59 จากการคำนวณ 3.72 ซึ่งแสดงขอบเขตยอมรับ <em> </em> และสมมติฐานที่ 2 ความเร็วรอบดอกกัด ชุดความเร็วรอบของแกน X, Y, Z และระยะป้อนลึกของการกัดชิ้นงาน ได้ค่า F เปิดตารางค่าวิกฤตเท่ากับ 3.79 จากการคำนวณ 39,244.550 ซึ่งบอกได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยค่า f จากการคำนวนอยู่ในขอบเขตปฏิเสธ <em> </em>ยอมรับ <em> </em>และจากผลการตรวจสอบความหยาบผิวนำมาหาค่าคำตอบความเหมาะสมโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป พบว่า การปรับตั้งความเร็วรอบที่ใช้ในการกัดดีที่สุดของดอกกัดชนิด A และดอกกัดชนิด B คือ 1,600 รอบ/นาที เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดในการกัดชิ้นงานเหล็ก SS41</p>
อดุลย์ พุกอินทร์
สิทธินันท์ ทองศิริ
ปริญญา ดีรัศมี
ทัศนัย บุญมา
บดินทร์ อยู่ยืน
ปธานิน อยู่เป็นสุข
รพีพล แซ่ฉิน
Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
25
39
-
การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/3414
<p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบริบท รูปแบบห่วงโซ่อุปทานศูนย์การเรียนรู้ใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ การจัดเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า บริบทของกลุ่มศูนย์เรียนรู้สมุนไพรโดยกลุ่มศูนย์เรียนรู้สมุนไพร 4 แห่งเป็นฐานในการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ และและสร้างภาคีเครือข่าย โดยสร้างความรู้และถ่ายทอดความรู้จากการปลูกผลิตและแปรรูป โดยมีแนวทางการพัฒนาที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน รูปแบบห่วงโซ่อุปทาน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เป็นการจัดการทั้งระบบของห่วงโซ่อุปทาน โดยความเชื่อมโยง ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การแปรรูป และการตลาด เกี่ยวกับสมุนไพรเพื่อสุขภาพในพื้นชุมชน และการสร้างภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้โดยการถ่ายทอดความรู้จากการเรียนรู้ การบริหารจัดการศูนย์การเรียนสมุนไพร โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9</p>
สุรชัย บุญเจริญ
ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ
มนตรี ใจเยี่ยม
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
40
48