https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/issue/feed
วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
2023-12-29T00:00:00+07:00
Assoc. Prof. Dr. Gunt Intuwong
jit_uru@uru.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์</strong><br />ISSN 3027-7957 (Online)<br /><br /><strong>สาขาขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์:</strong><br /> วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้สำคัญในศาสตร์สาขาวิชาด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ สหวิทยาการ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและการออกแบบ รวมถึงงานวิจัยที่มีการ บูรณาการศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง<br /><br /><strong>ครอบคลุมสาขาที่เกี่ยวข้อง :<br /></strong> สาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิศวกรรม และนวัตกรรม ได้แก่ เทคโนโลยีอุตสาหการ เทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีสำรวจและภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมบริหาร งานก่อสร้าง เทคโนโลยีก่อสร้าง โยธา วิศวกรรมโลจิสติกส์ วิศวกรรมการจัดการพลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์กับชุมชนและท้องถิ่น<br /><br /><strong>ประเภทบทความที่เปิดรับ: </strong>ตีพิมพ์ผลงาน 2 ประเภท ได้แก่<strong><br /></strong> บทความวิจัย (Research Article)<br /> บทความวิชาการ (Academic Article)<br /><br /><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารมีการตรวจสอบและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-reviews) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ โดยผูัทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blinded Peer review) ผ่านระบบ ThaiJO</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉ</strong>บับที่ 1 ช่วงเดือน มกราคม – มิถุนายน <br />ฉบับที่ 2 ช่วงเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong><br /> ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม<br /><br /><strong>บรรณาธิการวารสาร</strong><br />รองศาสตราจารย์ ดร.กันต์ อินทุวงศ์ <br />คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์<br />เลขที่ 27 ถนนอินจมี ตำบลท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์<br />โทรศัพท์สายตรง: 081-5952497<br />Email: jit_uru@uru.ac.th</p> <p><br /><br /></p> <p> </p> <p> </p>
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/1030
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับแมวสายพันธุ์เปอร์เซีย
2023-12-19T09:27:19+07:00
ภาณุภัทร ช่วงโชติ
supermao16948@gmail.com
กฤติ ปาละบุญมา
packagingkritt@hotmail.com
อังกาบ บุญสูง
tamthai_wisdom@hotmail.com
สิงหา ปรารมภ์
singha@uru.ac.th
<p>การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับแมวสายพันธุ์เปอร์เซีย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับแมวสายพันธุ์เปอร์เซีย 2) เพื่อประเมินระดับของความพึงพอใจของใช้แมวสายพันธุ์เปอร์เซีย โดยนำหลักการด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยคือ สมาชิก Facebook กลุ่มคนรักแมว ม.พะเยา V.2 มีจำนวนผู้ที่เลี้ยงแมวสายพันธุ์เปอร์เซีย ในรอบ 1 เดือน จำนวน 60 คน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้วิธีการเลือกแบบบังเอิญ ผลการวิเคราะห์จากสำรวจความต้องการของใช้สำหรับแมวสายพันธุ์เปอร์เซีย โดยศึกษาข้อมูลจากแบบจากสำรวจความต้องการใน กลุ่ม Facebook กลุ่มคนรักแมว ม.พะเยา V2 มีความต้องการของใช้สำหรับมาทั้งหมด 5 อย่าง ได้แก่ คอนโด, ที่ลับเล็บ, วิลล่าแมว, ที่วางชามอาหาร และที่ดักทราย การวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1) การออกแบบคอนโดแมว พบว่า แนวคิดที่ 3 มีความเป็นไปได้ในการผลิต สอดคล้องกับแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์มากกว่ารูปแบบอื่น 2) ผลของการศึกษาระดับความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศชาย มากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุช่วงระหว่าง 26-35 ปี เป็นนักศึกษามากที่สุด และประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวมากที่สุด ในส่วนของรายการความแข็งแรงต่อการใช้งาน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.05, S.D. = 0.92) มากที่สุด รายการรองลงมาคือ ความเหมาะสมของวัสดุ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 3.98, S.D. = 0.94) น้อยที่สุดคือ รายการความปลอดภัยในการใช้งาน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 3.83, S.D. = 0.88) ตามลำดับ</p>
2023-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/1045
การพัฒนาระบบกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริดแบบไม่จ่ายย้อนกลับ
2023-12-06T13:46:30+07:00
สมเจตน์ บุญชื่น
somjate.bun@live.uru.ac.th
สุภัตรา ปินจันทร์
Supattra.pin@live.uru.ac.th
เกรียงศักดิ์ ไกรกิจราษฎร์
kreangsuk.kr@up.ac.th
สารัลย์ กระจง
Saran_ek@hotmail.com
ธนภูมิ เฟื่องเพียร
fuangpian_t@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริดแบบไม่จ่ายย้อนกลับ โดยใช้ข้อมูลการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการติดตั้งและใช้งานจริงเป็นข้อมูลต้นแบบจากโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ขนาด 330 วัตต์ เป็นตัวผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าเข้ากริดไทอินเวอร์เตอร์ขนาด 600 วัตต์ โดยมีบอร์ดอาดูโน่ (Arduino Uno R3) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของโซลิดสเตตรีเลย์ ในการทดลองจะทำการเก็บข้อมูลพลังงานไฟฟ้าจาก 3 แหล่ง คือ ระบบจำหน่ายจากการไฟฟ้า, การเก็บค่าจากกริดไทอินเวอร์เตอร์, และโหลดที่ใช้งานจริง เพื่อการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน ผลการทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบพบว่า การทำงานของระบบกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบออนกริดแบบไม่จ่ายย้อนกลับสามารถควบคุมการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้</p>
2023-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/1029
เครื่องย่างไร้ควันอัตโนมัติ
2023-12-25T14:11:29+07:00
ทวีศักดิ์ วรจักร์
thaweesakkeng@uru.ac.th
นิธิ เอี่ยมมะเฟือง
apluslovemblaq@gmail.com
สีหลักษณ์ เสือเกิด
seehaluk@gmail.com
<p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องย่างไร้ควันอัตโนมัติแบบควบคุมด้วยระบบ Internet of Things (IoT) เครื่องย่างไร้ควันอัตโนมัติสามารถสั่งเปิด-ปิด อัตโนมัติผ่านแอพพลิเคชั่น Blynk.สามารถรายงานสถานะการทำงานควบคุมด้วยระบบทำงานโดยเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ และมอเตอร์ควบคุมความเร็ว ผลควบคุมปรับค่าอุณหภูมิและความเร็วของมอเตอร์ จะส่งสัญญาณไปหา MCU ESP 32 ประมวลผลและแสดงค่าผ่านแอพพลิเคชั่น Blynk และหาประสิทธิภาพและความพึงพอใจ<br> การทดสอบประสิทธิภาพเพื่อหาความแม่นยำ การทดลองหาประสิทธิภาพ โดยการใช้งานเครื่องย่างไร้ควันอัตโนมัติ ปรับค่าอุณหภูมิที่ต้องการ.และทดลองกับวัตถุดิบแบ่งออกเป็น 3 ชนิด.ทดลอง 4 ครั้ง.จะได้ความแม่นยำในการย่างของวัตถุดิบแต่ละชนิดเท่ากับ.100%.ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจผู้ใช้งานเท่ากับ 4.50 มีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.28 มีความสอดคล้องกันมาก</p>
2023-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/1015
การพัฒนาเครื่องวัดสภาพอากาศพื้นฐานอัตโนมัติ เพื่อรองรับการตัดสินใจเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ
2023-09-05T13:33:22+07:00
อมรชัย ประกอบยา
amornchai.pra@gistda.or.th
สิงหา มีหัวโทน
singha@gistda.or.th
ธนพงษ์ สมควร
Thanapong@gmail.com
ณัฐนจี ศรีสมัย
natnaree1406@gmail.com
วราภรณ์ แสวงหา
warapron@gmail.com
วราเมธ ป้องทอง
waramet6666@gmail.com
<p>การติดตามสภาพภูมิอากาศเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สภาพภูมิอากาศเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญต่อการจัดการพื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงการคาดการณ์ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลลักษณะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงมีประโยชน์มากสำหรับการเตรียมรับมือผลกระทบของความแห้งแล้ง ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนโดยรวม การศึกษาพัฒนาเครื่องวัดสภาพอากาศพื้นฐานอัตโนมัติเพื่อรองรับการตัดสินใจเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศนี้ มุ่งเน้นเพื่อสร้างต้นแบบอุปกรณ์เครื่องวัดสภาพอากาศอย่างง่ายต้นทุนต่ำแบบอัตโนมัติ และพัฒนาเชื่อมต่อร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มือถือ และสมาร์ทโฟน (Internet of Thing) ข้อมูลภูมิอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม ทิศทางลม และปริมาณน้ำฝน ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนําไปใช้ประโยชน์สําหรับวิเคราะห์ความเสี่ยงภัย และคาดการณ์ของปัญหาเชิงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องมือระบบเฝ้าระวังสภาพอากาศ และออกแบบสถานีตรวจวัดอากาศแบบอัตโนมัติที่อาศัยโมดูลสัญญาณมือถือ ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปหลากหลายชนิด ทั้งนี้บางชิ้นส่วนมีราคาสูง และนำเข้าจากต่างประเทศ การพัฒนาเครื่องวัดสภาพอากาศพื้นฐานอัตโนมัตินี้สามารถส่งสัญญาณไปเป็นข้อมูลตัวเลข ใช้แหล่งพลังงานจากไฟฟ้าหรือเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วยเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ ความเร็วลม ทิศทางลมและปริมาณน้ำฝน โดยส่งข้อมูลผ่านระบบประมวลผลและควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ แล้วบันทึกและจัดเก็บให้อยู่ในรูปฐานข้อมูล เชื่อมโยงอุปกรณ์ และออกแบบหน้าจอแสดงผลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน ได้แก่ การออกแบบหน้าจอสรุปผลข้อมูลรวม (Dashboard) การประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลสภาพอากาศเบื้องต้น และสามารถจัดเก็บ ข้อมูลย้อนหลัง เพื่อนำไปวิเคราะห์ร่วมกับแบบจำลองสภาพภูมิอากาศแบบอื่น เพื่อใช้เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจให้ดีขึ้น</p>
2024-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTI_URU/article/view/1027
การออกแบบและทดสอบเครื่องฉีดพ่นสารเคลือบนาโนสะท้อนน้ำสำหรับผ้าทอพื้นเมือง
2023-09-15T16:13:02+07:00
ศุทธินี กล่อมแสร์
klomsae.uru@gmail.com
เรือนขวัญ หรุ่นเริงใจ หรุ่นเริงใจ
rueankhwan.uru@gmail.com
กีรติกร นาคประเสริฐ
Ohmlove12139@gmail.com
ศรัณยู อินคำ
Sarunyuincam@gmail.com
อัครพล ทับทิมหิน
akarapon11ass@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องฉีดพ่นสารเคลือบนาโนสะท้อนน้ำสำหรับผ้าทอพื้นเมือง และเพื่อทดสอบหาระดับแรงดันน้ำ ความสูงของหัวฉีด และความเร็วรอบในการลำเลียงที่เหมาะสม โดยการออกแบบเครื่องฉีดพ่นสารเคลือบนาโนสะท้อนน้ำประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นชุดโครงสร้าง ส่วนที่สองเป็นชุดฉีดพ่นสารนาโนประกอบด้วยปั้มน้ำที่ทำหน้าที่ดูดสารนาโนจากถังเก็บส่งไปยังหัวฉีดแบบใบพัด ส่วนที่สามเป็นระบบส่งกำลังที่มีมอเตอร์ทำหน้าที่ส่งกำลังผ่านสายพานไปยังมู่เลย์ทดแบบอัตราทดหลายชั้น ส่วนที่สี่เป็นชุดลำเลียงผ้าทอพื้นเมืองเข้าสู่กระบวนการฉีดและรีดสารนาโน ผลการทดสอบเพื่อหาระดับที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย โดยทำการทดลองแบบแฟกทอเรียลที่มีการทดลอง 3 ซ้ำ จำนวนทั้งสิ้น 36 การทดลอง พบว่า ทุกการทดลองมีหยดน้ำอยู่ครบ 9 ตำแหน่ง และมีมุมสัมผัสอยู่ในช่วง 125 - 129 องศา อยู่ในเกณฑ์ที่มีคุณสมบัติความไม่ชอบน้ำ ทำให้ผ้าเกิดการสะท้อนน้ำ และเมื่อใช้ Response Optimizer ในการวิเคราะห์ พบว่า แรงดันน้ำที่ 2 บาร์ ความสูงหัวฉีด 30 เซนติเมตร และความเร็วรอบในการลำเลียง 50 รอบต่อนาที เป็นระดับในการปรับตั้งเครื่องที่เหมาะสมที่สุด โดยมีเวลาเฉลี่ย 11.9067 วินาที</p>
2024-03-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์