https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/issue/feed
วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า
2024-12-28T19:55:39+07:00
ผศ.ดร. ฤทธิชัย เภาเนียม
Jtep.journal@mail.rmutk.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong><br />วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า (Journal of Technology and Engineering Progress : JTEP) เป็นวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (ICTA) ซึ่งมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม โดยเผยแพร่เป็นราย 6 เดือน ซึ่งตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับละ 8 - 12 บทความ) และ มีการดำเนินงาน จัดพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ได้แก่ บทความวิจัย (Research paper) บทความวิชาการ (Academic paper) และบทความปริทัศน์ (Review article)<br /><strong>ISSN</strong> 3027-6500 (Online) <br /><strong>Start year:</strong> 2566<br /><strong>Language:</strong> ไทย<br /><strong>Publication charge:</strong> ไม่มีค่าใช้จ่าย <br /><strong>Free access:</strong> ทันที<br /><strong>Issues per year :</strong> 2 ฉบับ (ทุก 6 เดือนต่อฉบับ)</p>
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3312
ความแม่นยำของขนาดและการหดตัวของอะคริโลไนไตรล์บิวทาไดอีนสไตรีนในกระบวนการพิมพ์ 3 มิติ
2024-12-08T20:42:43+07:00
วิชัย พุ่มจันทร์
tavee.mad@rmutr.ac.th
อุไรวรรณ พงสา
tavee.mad@rmutr.ac.th
อรจิตร แจ่มแสง
tavee.mad@rmutr.ac.th
ภูเมศวร์ แสงระยับ
tavee.mad@rmutr.ac.th
ประสาน แสงเขียว
tavee.mad@rmutr.ac.th
พงศกร หลีตระกูล
tavee.mad@rmutr.ac.th
พิสิทธิ์ เมืองน้อย
tavee.mad@rmutr.ac.th
ภาสุรีย์ ล้ำสกุล
tavee.mad@rmutr.ac.th
ทวี หมัดส๊ะ
tavee.mad@rmutr.ac.th
<p>ปัจจุบัน การพิมพ์ 3 มิติ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในเทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็ว การสร้างชิ้นส่วนที่มีความแม่นยำของขนาดมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการผลิตชิ้นส่วนขนาดใหญ่หรือชิ้นส่วนประกอบที่ต้องการขนาดพอดีกัน ดังนั้นบทความวิจัยนี้จึงนำเสนอเกี่ยวกับผลกระทบของเปอร์เซ็นต์การเติมเนื้อวัสดุต่อความแม่นยำของขนาดและการหดตัวของชิ้นงานที่พิมพ์จากวัสดุอะคริโลไนไตรล์บิวทาไดอีนสไตรีน (ABS) การตรวจวัดขนาด 3 มิติ ใช้เครื่องสแกนตรวจวัดชิ้นงาน 3 มิติ และซอฟแวร์ GOM Inspect ในงานวิจัยนี้ใช้วัสดุ ABS รูปแบบเส้น เป็นวัสดุในการพิมพ์ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.75 มิลลิเมตร หัวฉีดขนาด 0.4 มิลลิเมตร ชิ้นงานทดสอบทรงกระบอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร สูง 25 มิลลิเมตร ใช้รูปแบบการเติมเนื้อวัสดุแบบลูกบาศก์ อุณหภูมิในการพิมพ์ 230 องศาเซลเซียส และความเร็วในการเติมเนื้อวัสดุ 30 มิลลิเมตรต่อวินาที เปอร์เซ็นต์การเติมเนื้อวัสดุ 5 ระดับ คือ 20%, 40%, 60%, 80% และ 100% จากผลการศึกษาพบว่าสามารถพิมพ์ชิ้นงานได้รูปทรงตามต้องการ มีค่าพิกัดความกลมและพิกัดความเป็นทรงกระบอกใกล้เคียงกัน ชิ้นงานที่ได้ในทุกตัวแปรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าขนาดที่กำหนด ที่เปอร์เซ็นต์ของการเติมเนื้อวัสดุต่ำ เกิดการหดตัวสูงและมีค่าความหนาแน่นน้อย ทำให้ความแม่นยำของขนาดน้อย เมื่อเปอร์เซ็นต์การเติมเนื้อวัสดุเพิ่มขึ้น เกิดการหดตัวน้อยลงและมีค่าความหนาแน่นสูงขึ้น ทำให้ความแม่นยำของขนาดเพิ่มสูงขึ้น</p>
2024-12-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3219
การประยุกต์ใช้ Teachable Machine สำหรับระบบคัดแยกขวดน้ำอัตโนมัติ
2024-11-30T12:14:43+07:00
บพิตร ไชยนอก
bopitch@npru.ac.th
ฤชานนท์ ศรีราวงค์
bopitch@npru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้พัฒนาระบบคัดแยกประเภทขวดน้ำอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพและการเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อแก้ปัญหาการใช้แรงงานคนในการคัดแยกขยะ ใช้เทคนิค Teachable machine ในการจำแนกประเภทของขวดน้ำ ได้แก่ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กล่องกระดาษ และกระป๋องอะลูมิเนียม รองรับขวดขนาดไม่เกิน 1.5 ลิตร เก็บข้อมูลการคัดแยกและแสดงสถิติบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ผลการทดลองพบว่าสามารถคัดแยกประเภทขวดน้ำสามารถจำแนกประเภทของขวดน้ำได้อย่างแม่นยำ โดยมีอัตราความถูกต้องเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 95% ระบบสามารถประมวลผลภาพและจำแนกประเภทขวดน้ำได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 วินาทีต่อขวด ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง</p>
2024-12-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3444
การปรับปรุงกระบวนการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุนในสายการผลิตชิ้นส่วนแผ่นยึดโครงตัวถังรถกระบะ
2024-12-19T11:38:13+07:00
อมรศักดิ์ มาใหญ่
amornsak.ma@rmuti.ac.th
สมบัติ น้อยมิ่ง
amornsak.ma@rmuti.ac.th
สนธยา แพ่งศรีสาร
komain.m@nsru.ac.th
โกเมน หมายมั่น
komain.m@nsru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุนในสายการผลิตชิ้นส่วนแผ่นยึดโครงตัวถังรถกระบะ ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาคการศึกษาและภาคเอกชน ในรูปแบบของกรณีศึกษา โดยทำการประยุกต์ใช้หลักการศึกษางานร่วมกับการศึกษาเวลา การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อลดเวลาสูญเปล่าด้วยเทคนิค ECRS หลังจากนั้นทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของกระบวนการผลิตก่อนและหลังการปรับปรุง ผลการดำเนินการปรับปรุงสายการผลิต พบว่า เวลาการผลิตแผ่นยึดโครงตัวถังรถกระบะก่อนการปรับปรุงมีเวลาในการผลิต (Takt Time) 414 วินาทีต่อชิ้น กำลังการผลิตโดยประมาณ 68 ชิ้นต่อวัน ภายหลังการประยุกต์ใช้หลักการลดเวลาสูญเปล่าด้วยเทคนิค ECRS และสร้างอุปกรณ์การเจียรไนแบบกึ่งอัตโนมัติสามารถปรับปรุงเวลาการผลิตให้ลดลงได้ โดยมีเวลามาตรฐานในการผลิตลดลงที่ 358 วินาทีต่อชิ้น คิดเป็น 13.52 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราเวลาที่ลดลงและส่งผลให้อัตรากำลังการผลิตในรอบ 1 วันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 80 ชิ้นต่อวัน มากไปกว่านั้นเมื่อทำการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ พบว่า ต้นทุนในการสร้างอุปกรณ์ช่วยจับยึดในสถานีงานเจียรไนจำนวน 58,860 บาท หากชิ้นส่วนแผ่นยึดโครงตัวถังรถกระบะ มีกำไรชิ้นละ 500 บาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นวันละ 7 ชิ้น ก็จะพบว่าเพียง 16 วัน หรือไม่เกิน 1 เดือนก็จะคุ้มทุนและยังเพิ่มผลผลิตเพื่อสร้างกำไรได้อีกต่อไป</p>
2024-12-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3227
ระบบแจ้งเตือนความชื้นภายในดินด้วยเซนเซอร์วัดความชื้นผ่านไลน์โนติฟาย
2024-11-30T12:14:12+07:00
สุพรรษา พันธุ์ถนอม
232gg24@gmail.com
นันทพร มนัสโยธิน
songkran.cha@kbu.ac.th
รุ่งฤดี พงศ์ยี่หล้า
songkran.cha@kbu.ac.th
พีรณัฐ ทาประเสริฐ
songkran.cha@kbu.ac.th
ชาคริต มลิวัลย์
songkran.cha@kbu.ac.th
สงกรานต์ จรรจลานิมิตร
songkran.cha@kbu.ac.th
<p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างระบบแจ้งเตือนความชื้นภายในดินด้วยเซนเซอร์วัดความชื้นผ่านไลน์โนติฟาย 2)เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ในการแจ้งเตือนความชื้นภายในดินด้วยเซนเซอร์วัดความชื้นผ่านไลน์โนติฟาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรทั่วไปที่ทำการปลูกผัก จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ ระบบแจ้งเตือนความชื้นภายในดินและแบบประเมินความพึงพอใจ โดยใช้ไมโครคอนโทรเลอร์ในการประมวลผลความชื้นในดิน เซนเซอร์วัดความชื้นภายในดินและระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ใช้ในการแจ้งเตือนผ่านไลน์โนติฟาย งานวิจัยนี้จึงนำเสนอการสร้างเครื่องมือวัดความชื้นภายในดินที่มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเครื่องวัดความชื้นภายในดินที่มีการจัดจำหน่ายตามท้องตลาดที่ราคาค่อนข้างสูง ผลจากการทดลองระบบดังกล่าวผู้ใช้สามารถตรวจวัดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถนำไปประมวลผลได้และควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้ในการรดน้ำพืชได้อย่างแม่นยำและเหมาะสม ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบแจ้งเตือนความชื้นภายในดินด้วยเซนเซอร์วัดความชื้นผ่านไลน์โนติฟายโดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.58, S.D. = 0.69)</p>
2024-12-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3433
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความลึกในการแกะสลักด้วยเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับวัสดุอะคริลิก (กรณีศึกษา)
2024-12-09T16:40:10+07:00
เจษฎา แก้ววิชิตร
jesada.ka@rmutsb.ac.th
มลีรัตน์ แซ่อ๋อง
jesada.ka@rmutsb.ac.th
สัญญา คำจริง
sanya.k@rmutsb.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในกระบวนการแกะสลักผิววัสดุอะคริลิก พารามิเตอร์ที่ใช้ในการศึกษา กระบวนการแกะสลักด้วยเครื่องตัดแกะสลักเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ประกอบไปด้วย ความเร็วตัด (Cutting Speed) 3,600-6,000 มิลลิเมตร/นาที พลังงานเลเซอร์ (Power Laser) 60-120 วัตต์ ระยะห่างระหว่างหัวตัดเลเซอร์กับผิวชิ้นงาน (Gap) 4.2-5.0 มิลลิเมตร ทำการวัดขนาดร่องการแกะสลัก ผลการทดลองประเมินจากค่าเฉลี่ยความลึกของร่องแกะสลักต่ำสุด และสูงสุดตลอดจนวิเคราะห์คุณภาพความหยาบผิวบริเวณร่องการแกะสลักกับส่วนของผิวชิ้นงาน ผลการทดลองพบว่าชิ้นงานทดสอบวัสดุชนิดอะคริลิกมีค่าเฉลี่ยค่าความหยาบผิวเฉลี่ย (Ra) บริเวณร่องการแกะสลักเท่ากับ 1.965 ไมโครเมตร และบริเวณผิวชิ้นงานทดสอบเท่ากับ 1.403 ไมโครเมตร จากการปรับค่าความเร็วตัด 6,000 มิลลิเมตร/นาที ค่าพลังงานเลเซอร์ 120 วัตต์ ระยะห่างระหว่างหัวตัดเลเซอร์กับผิวชิ้นงาน 4.8 มิลลิเมตร</p>
2024-12-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3440
การเปรียบเทียบผิวรอยกัดของวัสดุเหล็กแม่พิมพ์ AISI-P20 ด้วยเครื่องกัดอัตโนมัติแบบ 3 และ 5 แกน
2024-12-08T18:12:52+07:00
ฐานทัพ นนท์ตุลา
piyapong.k@mail.rmutk.ac.th
ปิยะพงษ์ ค้ำคูณ
piyapong.k@mail.rmutk.ac.th
สุทธิลักษณ์ พิลา
piyapong.k@mail.rmutk.ac.th
สมพร ปิยะพันธ์
piyapong.k@mail.rmutk.ac.th
โอรีส มณีสาย
piyapong.k@mail.rmutk.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพผิวรอยกัดส่วนโค้งของวัสดุเหล็กแม่พิมพ์ AISI-P20 ด้วยเครื่องกัดอัตโนมัติแบบ 3 และ 5 แกน โดยทำการออกแบบชิ้นงานตัวอย่างต้นแบบเป็นลักษณะรูปคลื่นผิวนูนโค้งที่มีรูปแบบผิวโค้งนูน และเว้าที่มีรัศมีที่แตกต่างกัน และใช้ชุดคำสั่งด้วยโปรแกรม Siemens NX12 (CAD-CAM software) สำหรับวัสดุตัดเฉือนหรือแปรรูปด้วยกระบวนการกัด คือ ดอกกัดมุมฉาก (Flex End Mills) ทังสเตนคาร์ไบด์แบบ 4 ฟัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร และดอกกัดรัศมีโค้ง (Ball End Mills) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร ที่ความเร็วรอบ ความเร็วเคลื่อนที่และเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่กำหนด ประเมินผลค่าความหยาบผิวของชิ้นงานทดสอบ และเปรียบเทียบเวลาที่ใช้สำหรับดำเนินการด้วยกระบวนการกัดอัตโนมัติแบบ 3 และ 5 แกน ผลการทดลองพบว่าวัสดุเหล็กแม่พิมพ์ P20 กัดอัตโนมัติแบบ 3 แกน มีค่าความหยาบผิวเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ตำแหน่งรัศมีโค้งที่ 2 มีค่าเท่ากับ 2.039 ไมโครเมตร และกัดอัตโนมัติแบบ 5 แกน มีค่าความหยาบผิวเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ตำแหน่งรัศมีโค้งที่ 2 มีค่าเท่ากับ 1.861 ไมโครเมตร จากการแสดงของโปรแกรม Siemens NX12 และเวลาปฏิบัติงานจริง พบว่าการกัดแปรรูปแบบ 3 และ 5 แกน ใช้เวลาจำลองจากชุดคำสั่งของโปรแกรมใกล้เคียงกัน แต่เมื่อดำเนินการปฏิบัติงานจริง การกัดแปรรูปแบบ 3 แกน ใช้เวลาน้อยกว่าการกัดแปรรูปแบบ 5 แกน เท่ากับ 12.98 นาที</p>
2024-12-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3226
เครื่องต้นแบบการวัดระดับน้ำในบ่อปลาด้วยอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์
2024-11-30T12:15:37+07:00
ภูษิตา พึ่งและ
u640105401771@ms.kbu.ac.th
พันธิตรา อัญญโพธิ์
songkran.cha@kbu.ac.th
คณาธิป รื่นเริง
songkran.cha@kbu.ac.th
มุคลิศ ซารีฟ
songkran.cha@kbu.ac.th
อนุชมา ธูปแก้ว
songkran.cha@kbu.ac.th
สงกรานต์ จรรจลานิมิตร
songkran.cha@kbu.ac.th
<p>เครื่องต้นแบบการวัดระดับน้ำในบ่อปลาด้วยอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์เกิดจากความคิดที่จะนำความสามารถของอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ ในการตรวจจับความเคลื่อนไหว มาพัฒนาเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก เพื่อป้องกันปัญหาน้ำล้นบ่อปลาในบ้าน และจะนำความสามารถของอาดูโน่ (Arduino) มาเป็นตัวกลางในการอัปโหลดคำสั่งการแจ้งเตือน โดยปัญหาที่พบขณะสำรวจ เช่น การที่คนในบ้านไม่ทราบล่วงหน้า การลืมปิดน้ำหลังจากเปิดใช้งานในบ่อปลา หรือการไม่ทราบระดับน้ำที่เหมาะสมในบ่อปลา เป็นต้น โดยอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์จะทำการตรวจจับความเคลื่อนไหวของระดับน้ำ และแจ้งเตือนผ่าน Line Notify ให้ทราบเมื่อระดับน้ำใกล้ถึงระดับที่กำหนด การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างเครื่องวัดระดับน้ำในบ่อปลาด้วยอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันปัญหาน้ำล้นบ่อปลาในบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนทั่วไปที่ใช้ระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันปัญหาน้ำล้นบ่อปลาภายในบ้าน จำนวน 20 คน แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ เครื่องต้นแบบการวัดระดับน้ำในบ่อปลาด้วยอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจเครื่องต้นแบบการวัดระดับน้ำในบ่อปลาด้วยอัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้น ประสิทธิภาพการแจ้งเตือนของระบบผ่านแอปพลิเคชัน Line ได้ถูกต้องทุกครั้ง (100%) และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับมาก โดย <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.47 และ S.D.=0.61</p>
2024-12-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JTEP/article/view/3429
การตรวจสอบขนาดของรองเท้าเพื่อสุขภาพโดยการประยุกต์ใช้วิศวกรรมย้อนรอย (กรณีศึกษา)
2024-12-09T23:02:29+07:00
ธงชัย เพ็งจันทร์ดี
thongchai.p@en.rmutt.ac.th
บุญส่ง จงกลณี
thongchai.p@en.rmutt.ac.th
เอกพล ทับพร
pew_ek@hotmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขั้นตอนการดำเนินงานด้านวิศวกรรมย้อนรอยโดยการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สแกนเนอร์ 3 มิติ สำหรับรองเท้าเพื่อสุขภาพ และประเมินผลจากการวัดค่าความคลาดเคลื่อนโดยใช้ไม้บรรทัด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Image J และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Geomagic Design X โดยวัดขนาดความยาว กลางฝ่าเท้า และปลายเท้า ในจุดเดิมซ้ำๆ ทั้งหมดสามครั้งเพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยในแต่ละค่าจากผลการวัดขนาดปรากฏว่าการวัดนาดโดยไม้บรรทัดให้ค่าเฉลี่ยของพื้นรองเท้าขนาดความยาว 27.46 เซนติเมตร กลางฝ่าเท้า 8.45 เซนติเมตร ปลายเท้า 6 เซนติเมตรขนาดค่าเฉลี่ยของอินโซลขนาดความยาว 28.66 เซนติเมตร กลางฝ่าเท้า 9.9 เซนติเมตร ปลายเท้า 6.66 เซนติเมตร การวัดนาดโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Image J ให้ค่าเฉลี่ยของพื้นรองเท้าขนาดความยาว 29.48 เซนติเมตร กลางฝ่าเท้า 9.41เซนติเมตร ปลายเท้า 6.4 เซนติเมตรขนาดค่าเฉลี่ยของอินโซลขนาดความยาว 29.47 เซนติเมตร กลางฝ่าเท้า 9.79เซนติเมตร ปลายเท้า6.83 เซนติเมตร และการวัดนาดโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Geomagic Design X ให้ค่าเฉลี่ยของพื้นรองเท้าขนาดความยาว 27.56 เซนติเมตร กลางฝ่าเท้า 8.19 เซนติเมตร ปลายเท้า 6.26เซนติเมตร ขนาดค่าเฉลี่ยของอินโซลขนาดความยาว 28.49 เซนติเมตร กลางฝ่าเท้า 9.78 เซนติเมตร ปลายเท้า 6.73เซนติเมตรจากผลการวัดวัดขนาดค่าเฉลี่ยจะเห็นได้ว่าขนาดของอินโซลจะมีขนาดใหญ่กว่าพื้นรองเท้าเสมอเพราะว่าอินโซลจะมีส่วนโค้งขึ้นไปที่อยู่ติดกับรองเท้า</p>
2024-12-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีและวิศวกรรมก้าวหน้า