วารสารโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC <p> วารสารโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เป็นวารสารวิชาการของคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัยและบทความปริทัศน์ แก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษา เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา การสอน การวิจัย โดยขอบเขตของวารสารที่เปิดรับบทความ 6 สาขาที่เกี่ยวของกับโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนดังต่อไปนี้</p> <ol> <li>การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน</li> <li>การขนส่งและการเดินทาง</li> <li>ความยั่งยืน</li> <li>วิทยาการจัดการ</li> <li>การค้าระหว่างประเทศ</li> <li>เทคโนโลยีและสารสนเทศ</li> </ol> <p><strong>ประเภทของผลงานที่รับตีพิมพ์ในวารสาร</strong></p> <ol> <li><strong>บทความวิจัย (Research Article)</strong> เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบและมีความมุ่งหมายชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีลักษณะเป็นเอกสารที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่นมีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ ตีความและสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้</li> <li><strong>บทความวิชาการ (Academic Article) </strong>เป็นบทความในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจ</li> <li><strong>บทความปริทัศน์ (Review Article) </strong>เป็นงานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the Art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป</li> </ol> <p><strong>กำหนดเผยแพร่</strong> : ปีละ 3 ฉบับ</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน</li> <li>ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม</li> <li>ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</li> </ul> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ : </strong>ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ :</strong> วารสารโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนไม่มีค่าใช้จ่ายในกระบวนการตีพิมพ์ทั้งหมด และ ทุกบทความในวารสารนี้ตีพิมพ์ในลักษณะแบบเปิดและไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับผู้อ่านทุกท่าน</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร :</strong> คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร</p> <p><strong>ผู้ให้การสนับสนุน</strong> : คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร</p> <p>ISSN 2985-0088 (Print)<br />ISSN 2985-0096 (Online)</p> th-TH nattapolpa@nu.ac.th (ดร.ณัฐพล ไพศาลวิโรจน์รักษ์ ) sunisasan@nu.ac.th (นางสาวสุนิษา แสนศรี) Mon, 02 Dec 2024 11:06:02 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาระบบการจัดการโซ่อุปทานการแปรรูปผักพลูคาวในตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3338 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาห่วงโซ่อุปทานการแปรรูปผักพลูคาว 2) วิเคราะห์กิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานและสภาพแวดล้อมการแปรรูปผักพลูคาว 3) เสนอแนะแนวทางในการดำเนินงาน การแปรรูปผักพลูคาวให้กับผู้ประกอบการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ประกอบการและเกษตรกร แปรรูปและเพาะปลูกผักพลูคาวในตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 15 ราย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงมีนาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามผสม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาโซ่อุปทาน กิจกรรมโลจิสติกส์ และสภาพแวดล้อมทั่วไป ผลการวิจัย พบว่า 1. โซ่อุปทานการดำเนินงานของผู้ประกอบการ มีกระบวนการดำเนินงานทั้งหมด 9 ขั้นตอน 2. ผลการวิเคราะห์กิจกรรมตลอดโซ่อุปทานของผู้ประกอบการ พบว่า มีกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์ติกส์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด 10 กิจกรรม คือ 1) การบริการลูกค้า 2) การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า 3) การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า 4) การบริหารสินค้าคงคลัง 5) กิจกรรมการขนส่ง 6) การบริหารคลังสินค้า 7) การจัดซื้อจัดหา 8) การเคลื่อนย้ายวัสดุ 9) บรรจุภัณฑ์ 10) การติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ ในแต่ละกิจกรรมมีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส รวมถึงอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงานทั้งหมด 3) เสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบการจัดการโซ่อุปทานด้านองค์ความรู้และการนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการแปรรูป โดยหลังจากการวิเคราะห์การปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ พบว่า ผลการดำเนินการก่อนปรับปรุงมีค่าเฉลี่ย ระดับคะแนนที่ 2.08 และหลังปรับปรุงมีค่าระดับคะแนนที่ 3.75 เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.98 ทำให้กระบวนการดำเนินงานมีประสิทธิภาพและศักยภาพที่เพิ่มมากขึ้น</p> นฐ พชรธนนนท์, พิทธินันท์ สมไชยวงค์, มนฑิตา หาศรีวงค์, ภูวดล อิยะ Copyright (c) 2024 คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3338 Mon, 02 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่งผลไม้ ภายในจังหวัดจันทบุรี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3279 <p>การวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่งผลไม้ภายในจังหวัดจันทบุรีมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการกระจายตัวของแหล่งผลิตและแหล่งซื้อขายไม้ผลในจังหวัดจันทบุรี เพื่อคำนวณหาต้นทุนการขนส่งผลไม้และเพื่อเสนอแนะเส้นทางขนส่งผลไม้ภายจังหวัดจันทบุรี การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจัยคือเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนและมังคุดในจังหวัดจันทบุรี ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 393 ราย เพื่อเก็บข้อมูลการผลิตและการขนส่งผลผลิตไปขายที่ตลาดกลางท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ปลูกผลไม้แบบสวนผสม แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอขลุง ท่าใหม่ มะขามและเขาคิชฌกูฏ ตลาดกลางท้องถิ่นที่มีการซื้อขายทุเรียนและมังคุดมากที่สุดคือตลาดเนินสูงและตลาดหนองคล้า ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ และตลาดกลางอื่นๆ ในอำเภอเมือง ขลุง มะขามและนายายอาม เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้รถกระบะตอนเดียวในการขนส่งผลผลิตเนื่องจากสามารถบรรทุกผลผลิตต่อเที่ยวได้ปริมาณมากที่สุด สัดส่วนของต้นทุนการขนส่งที่สูงที่สุดคือค่าเสื่อมราคาของรถยนต์และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อมูลต้นทุนการขนส่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกเส้นทางการขนส่งไปยังตลาดกลาง และผลการวิจัยได้เสนอเส้นทางการขนส่งที่เหมาะสมโดยพิจารณาเส้นทางที่มีต้นทุนค่าขนส่งต่ำที่สุด และเสนอเส้นทางที่เป็นเส้นทางสายรอง ที่มีต้นทุนการขนส่งไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่งเกษตรกรยังพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วยในการเลือกเส้นทางหรือตลาดกลาง ที่จะขนผลไม้ไปขาย เช่น จำนวนคนกลางที่รับซื้อ ราคาตลาดในช่วงซื้อขาย ความสัมพันธ์ของผู้ซื้อผู้ขาย การเจรจาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น</p> มาลัย โพธิพันธ์, ศรีวารี สุจริตชัย , พูลศิริ ประคองภักดิ์ Copyright (c) 2024 คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3279 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 วิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานกระบวนการการเลี้ยงไก่เนื้อ โดยใช้ตัวแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทานในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3325 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการการเลี้ยงไก่เนื้อในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2) วิเคราะห์โซ่อุปทานกระบวนการการเลี้ยงไก่เนื้อโดยใช้ตัวแบบอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทาน 3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกระบวนการการเลี้ยงไก่เนื้อในโซ่อุปทานในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัยเพื่อมุ่งเน้นประโยชน์โดยรวมแก่เกษตรกร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่ขึ้นทะเบียนกับสหกรณ์การเกษตรอำเภอพาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการการเลี้ยงไก่ของเกษตรกรในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างโรงเรือนไก่ จัดซื้อจัดหา จัดเตรียมโรงเรือนไก่เนื้อ และการจัดการไก่เนื้อ 2) ผลการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน SCOR Model ระดับ 1 มีการระบุขอบเขตและเนื้อหาของห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุมการดำเนินงานแต่ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันรวมถึงโครงสร้างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการที่ยังไม่สอดคล้องกัน ในส่วนของ SCOR Model ระดับ 2 พิจารณาจากการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ยังพบปัญหาในการดำเนินงานในส่วนของการบันทึกข้อมูลและการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า จึงทำให้เกษตรกรต้องผลิตไก่เนื้อแบบทำตามคำสั่งซื้อ เพื่อป้องกันคำสั่งซื้อที่ไม่แน่นอน ทั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงไก่เนื้อโดยการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนการเลี้ยง รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุ่มระหว่างเกษตร ผู้ซื้อ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่เนื้อให้ได้ตามมาตรฐานและคุณภาพที่ต้องการ</p> พิทธินันท์ สมไชยวงค์, เสาวลักษณ์ อินทร์เย็น, โนรีน่า ปาละมะ, กนิษฐา วงค์ต่อม Copyright (c) 2024 คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3325 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์ยอดขายและการวางแผนการผลิตน้ำกรดและน้ำกลั่นของผู้ประกอบการ ในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3328 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลยอดขายของผู้ประกอบการในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2) พยากรณ์และเลือกใช้เทคนิคการพยากรณ์ยอดขายน้ำกรดและน้ำกลั่น 3) เสนอแนะแนวทางการวางแผนการผลิตของผู้ประกอบการในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยที่มุ่งเน้นประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายสินค้า น้ำกรด น้ำกลั่น แบตเตอรี่รถ ในตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาข้อมูลยอดขาย 3 ปีย้อนหลังของผู้ประกอบการมีจำนวนยอดขายที่มีความแตกต่างกันตามแต่ละช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ผู้วิจัยจึงได้นำข้อมูลมาทำการพยากรณ์ 3 วิธี คือ 1) วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย 2) วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก 3) วิธีปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียล และทำการเลือกเทคนิคการพยากรณ์ พบว่า การพยากรณ์วิธีปรับเรียบเอกโพเนนเชียล มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดโดยค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์น้ำกรดมีค่าร้อยละ 44 ผลการวิเคราะห์หาจุดสั่งซื้อที่ประหยัดอยู่ที่ 19,341 ขวด และการสั่งซื้อที่ 10 ครั้งต่อปี ปริมาณวัสดุคงคลังเท่ากับ 1,800 ขวด ทำให้ลดต้นทุนการสั่งซื้อ วัตถุดิบได้ 4,712.50 บาท น้ำกลั่นมีค่าร้อยละ 30 ผลการวิเคราะห์จุดสั่งซื้อประหยัดอยู่ที่ 1,800 ขวด และการสั่งซื้อที่ 7 ครั้งต่อปี ปริมาณวัสดุคงคลังเท่ากับ 1,620 ขวดและสามารถลดต้นทุนการสั่งซื้อวัตถุดิบได้ 6,597.5 บาทและลดต้นทุนรวมของวัตถุดิบเท่ากับ 147.67 บาทต่อปี ผู้ประกอบสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการผลิตน้ำกรดและน้ำกลั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้</p> ธนาวัฒน์ ขันติวงค์, นิเวศน์ ศรีวิชัย, พิมผกา ไชยวงค์, นภัสสร วงศ์ษา Copyright (c) 2024 คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3328 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปริมาณจราจรบริเวณทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรช่วงเวลาเร่งด่วน https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3374 <p>ปัญหาจราจรติดขัดบริเวณประตูเข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวร ในช่วงเวลาเร่งด่วนเป็นปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยังต้องการแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมบริเวณที่เกิดการจราจรติดขัด การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปริมาณยานพาหนะที่เข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวรในช่วงเวลาเร่งด่วน วิเคราะห์ระดับการให้บริการ (Level of Service: LOS) ของถนนบริเวณทางเข้า-ออกของมหาวิทยาลัยนเรศวร และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวรบริเวณประตูที่มีปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนโดยทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพและปริมาณจราจรบริเวณทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยฯ ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า (7:00–11:00 น.) โดยนำผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลลักษณะทางกายภาพและปริมาณจราจรมาประกอบการวิเคราะห์ระดับการให้บริการของถนนบริเวณทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งระดับการให้บริการของถนนจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ และระบุบริเวณที่มีปัญหาการจราจรติดขัดได้ ผลการศึกษา พบว่า ประตูที่ปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้ามากที่สุด คือ ประตู 4 และประตู 5 ซึ่งมีระดับการให้บริการอยู่ที่ระดับ F ซึ่งเป็นระดับการให้บริการของถนนที่มีสภาพการจราจรติดขัด แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าของถนนในบริเวณประตู 4 และประตู 5 โดยได้เสนอการปรับเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าสาธารณะของมหาวิทยาลัย โดยเพิ่มจุดรับ-ส่งบริเวณนอกมหาวิทยาลัยฯ ที่มีพื้นที่สำหรับจอดรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ของผู้สัญจรที่สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าสาธารณะของมหาวิทยาลัยฯ ได้อย่างสะดวกสบายจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าบริเวณบริเวณประตู 4 และประตู 5 ได้</p> ชนม์นิภา มหาวัน, ธมลวรรณ กุนดี, วรัญญา โสมา, นิภา เหล็กสูงเนิน Copyright (c) 2024 คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JLDSC/article/view/3374 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700