https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JGRDI/issue/feed วารสารบัณฑิตวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม 2024-01-15T16:52:19+07:00 ผศ. ดร. ประสงค์ เกษราธิคุณ prasong@tsu.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารบัณฑิตวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม เป็นวารสารที่รวบรวมและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งครอบคลุมศาสตร์ทางเกษตรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Agricultural and Biological Science) เคมี (Chemistry) ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ (Physics and Astronomy) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือสหสาขาวิชา (Multidisciplinary) ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JGRDI/article/view/1097 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิก เรื่อง วิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงภายในอาคาร 2023-12-01T13:39:52+07:00 อารีรัตน์ แก้วประดิษฐ์ ja_aree@hotmail.com ปกรณ์ จำปาเทศ ja_aree@hotmail.com <p>อัคคีภัย เป็นภัยที่ประเทศไทยเผชิญมาเป็นเวลานาน ทั้งเหตุที่เกิดตามธรรมชาติหรือในเมืองใหญ่อันเกิดด้วยฝีมือมนุษย์ เนื่องจากความประมาท และการปล่อยปละละเลย ไม่รอบคอบ ทำให้เกิดความเสียหาย ในด้านต่าง ๆ ทั้งตัวอาคารและทรัพย์สิน อาทิเช่น อัคคีภัยอันเกิดจากความตั้งใจ เช่น การลอบวางเพลิง หรือการก่อวินาศกรรม และสาเหตุของอัคคีภัยอันเกิดจากความประมาท ขาดความระมัดระวังในการควบคุมเชื้อเพลิง ขาดความระมัดระวังในการใช้ไฟและความร้อน ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ผู้คนมักตกใจและพยายามหนีเอาชีวิตรอด โดยไม่คำนึงถึงปัญหาและต้นตอของสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ตั้งแต่เริ่ม ทำให้เกิดเพลิงไหม้ลุกลามขยายใหญ่เป็นวงกว้าง รวมถึงผู้คนที่ประสบเหตุนั้นไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงอย่างดีพอ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิก เรื่องวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงภายในอาคาร และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับชม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรม Adobe Illustrator โปรแกรม Adobe After Effects และแบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมายคือ บุคคลทั่วไปที่สนใจ จำนวน 100 คน ผลการวิจัยพบว่า สื่อมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิก เรื่องวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงภายในอาคาร มีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน โดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 3.95 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.21 ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อจำนวน 3 ท่าน โดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 4.45 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.56 และผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.38 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.63 ซึ่งพบว่าผู้รับชมมีความพึงพอใจมากที่สุด ในด้านภาพประกอบมีความสวยงาม คมชัด</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JGRDI/article/view/1140 รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ 2024-01-15T16:52:19+07:00 สกลวรรธน์ นะนวน skoll.bin@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โดยดำเนินการแบบปฏิบัติการมีส่วนร่วมกับแกนนำภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยใช้วงจร PAOR และเครื่องมือ 5 ชิ้น ในการขับเคลื่อนกลไก ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกผลกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนามและข้อมูลทุติยภูมิของชุมชน ระยะเวลาในการศึกษา กรกฎาคม 2562 – เมษายน 2563 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกข้อมูลและสรุปแต่ละประเด็นย่อยจากผลกระบวนการและเทคนิคการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนตามกรอบการวิจัยปฏิบัติการและเรียบเรียงเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุในตำบลเหนือคลอง คือ ผู้ขับขี่ไม่เคารพกฎจราจร ไม่ลดความเร็วในเขตชุมชน แซงบริเวณทางโค้ง ผู้ขับขี่ดื่มของมึนเมา และเด็กวัยรุ่นคึกคะนองขับรถเร็ว โดยรถจักรยานยนต์เป็นประเภทรถที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด และถ้าผู้ขับขี่บนท้องถนนปฏิบัติตามกฎจราจรทุกคนจะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้มาก ส่วนการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชนต้องปรับปรุง 1) คนต้องมีความรู้ด้านกฎจราจรและเคารพกฎกติกาสังคมในการใช้รถใช้ถนน ผู้ขับขี่ทุกคนต้องมีสติและศักยภาพของร่างกายที่พร้อมเสมอ 2) สภาพแวดล้อมของถนนไม่ชำรุดเสียหาย มีไฟส่องสว่างเพียงพอ มีป้ายบอกทางและป้ายเตือนจุดเสี่ยง และ 3) มีระบบที่เกี่ยวข้องที่สมบูรณ์และพร้อมใช้ เช่น กฎหมายระเบียบทางจราจร และการใช้คำสั่ง ศปถ. ในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน ทำให้ได้แนวทางการบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงการดำเนินการกับภาคีเครือข่ายในชุมชน มีการแต่งตั้งคณะทำงานการขับเคลื่อนถนนปลอดภัยในตำบล มีการร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหา ร่วมกันแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง จุดอันตราย ควบคุมพฤติกรรมเสี่ยง (เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว และขับรถไม่สวมหมวกนิรภัย) มีมาตราองค์กร สื่อสารประชาสัมพันธ์ ก่อให้เกิดสถานศึกษาปลอดภัย ชุมชนปลอดภัย และนำสถานการณ์ที่ได้มาติดตามประเมินผล เพื่อหารือปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการจัดการความปลอดภัยทางถนน</p> 2024-03-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ